ปภ.ประสานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 14 จังหวัดภาคใต้เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 6 – 9 พ.ย. 60

จันทร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๖:๓๕
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 14 จังหวัดภาคใต้ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 6 – 9 พฤศจิกายน 2560 จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ทวีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชัน อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็วเครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัยจากภาวะฝนตกหนัก หากสถานการณ์รุนแรงให้รายงานกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณภาคใต้ตอนล่างได้เคลื่อนลงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง และทวีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชัน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 และเคลื่อนลงทะเลอันดามันในระยะต่อไป ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และลมกระโชกแรง ประกอบกับมีฝนตกสะสมในพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยในช่วงวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2560 จะส่งผลกระทบใน 9 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานีรวมทั้งเกาะสมุย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จากนั้นช่วงวันที่7 – 9 พฤศจิกายน 2560 จะส่งผลกระทบใน 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และภาคใต้ 14 จังหวัด รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา

และเขต 18 ภูเก็ต เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยจากภาวะฝนตกหนักในช่วงวันที่ 6 – 9พฤศจิกายน 2560 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำและแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย อีกทั้งเสริมแนวคันกั้นน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมโดยเฉพาะในพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง และพื้นที่เศรษฐกิจกรณีสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงให้พิจารณาอพยพประชาชนไปยังสถานที่ปลอดภัยหรือจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว พร้อมดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และแผนปฏิบัติการฯ แผนเผชิญเหตุของอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางการจัดการสาธารณภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน หากสถานการณ์รุนแรงเกินศักยภาพให้รายงานกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็วและทันท่วงที

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4