กระทรวงเกษตรฯ ชี้โครงการ “โคบาลบูรพา” มีความก้าวหน้าตามลำดับ ทุกขั้นตอนดำเนินการอย่างรัดกุมจะช่วยสร้างอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนแก่เกษตรกรได้จริง

จันทร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๖:๒๑
นายสรวิศ ธานีโต โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า "โคบาลบูรพา" โครงการส่งเสริมการเกษตรรูปแบบแปลงใหญ่ เป็นอีกหนึ่งในโครงการที่ตอบโจทย์นโยบายการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญของรัฐบาล นำโดย พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร อย่างโครงการ "โคบาลบูรพา" ที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงโค-แพะ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ที่เน้นประสานความร่วมมือกับเกษตรกรและรวมกันเป็นกลุ่มเกษตรกรสร้างความเข้มแข็งร่วมสร้างอาชีพใหม่ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ด้านนายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยถึงความคืบหน้าของโครงการโคบาลบูรพา ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีโครงการส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงโค-แพะ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว นั้น ขณะนี้คณะกรรมการได้คัดกรองเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 6,100 คน ตามเป้าหมายแล้ว และมีการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงโคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการส่งมอบพันธุ์สัตว์ ให้เกษตรกรแล้ว 163 ราย จำนวนโค 1,075 ตัว เป็นเกษตรกรในพื้นที่อำเภออรัญประเทศ 126 ราย จำนวนโค 630 ตัว เกษตรกรในพื้นที่อำเภอวัฒนานคร 37 ราย จำนวนโค 185 ตัว และจะมีการส่งมอบโคให้เกษตรกรในพื้นที่วัฒนานครในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 นี้ อีก 260 ตัว ด้านการปลูกพืชอาหารสัตว์มีเกษตรกรจำนวน 2,000 ราย ได้ปลูกพืชอาหารสัตว์ จำนวน 10,000 ไร่ และสร้างโรงเรือนแล้ว 2,000 หลัง ส่วนที่เหลืออยู่ในระหว่างการเร่งรัดดำเนินการ

ในด้านการจัดหาพันธุ์สัตว์ ดำเนินการโดยวิธีการประกวดราคา แล้ว 2 ครั้ง เป็นโคจำนวน รวม 30,000 ตัว ในขั้นตอนการเตรียมพันธุ์สัตว์ให้เกษตรกร โคที่เข้าร่วมโครงการฯ ทุกตัว จะผ่านการจัดทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ ถ่ายพยาธิ เจาะเลือด ตรวจโรค ฉีดวัคซีน พ่นยาฆ่าเชื้อ และกักโรคต้นทาง ณ สถานที่ที่กรมปศุสัตว์กำหนด อย่างน้อย 21 วัน โดยดำเนินการตามหลักวิชาการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด และจากนั้นจึงเคลื่อนย้ายสัตว์ไปยังคอกพักสัตว์ปลายทาง ในพื้นที่ที่กรมปศุสัตว์กำหนด เพื่อการกักสัตว์อาการ มีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และมีคณะกรรมการตรวจสอบ ตรวจรับ ตามรายละเอียดคุณลักษณะ ทั้งนี้ การส่งมอบพันธุ์สัตว์ให้เกษตรกรในพื้นที่นั้น เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และผู้ประกอบการที่รับผิดชอบ จะขนส่งโคให้เกษตรกรถึงโรงเรือน รายละ 5 ตัว

สำหรับคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรร่วมโครงการฯ คือ เกษตรกรจะต้องมีที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการมาตั้งแต่ปี 2557-2560 และมีพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ 5 ไร่ต่อราย หลังผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและอบรมเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรจะได้รับเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ใช้ก่อสร้างโรงเรือนรายละ 58,000 บาท และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ต้องทำสัญญากู้ยืมโคเนื้อเพศเมียลูกผสมพื้นเมืองรายละ 5 ตัว เพื่อนำไปเลี้ยงจนได้ลูกและส่งคืนลูกโคเพศเมียอายุ 12 เดือน ให้โครงการ 5 ตัว เพื่อนำไปให้เกษตรกรรายใหม่ยืมไปเลี้ยงต่อ เกษตรกรที่ทำสัญญากู้ยืมโคจึงได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าของโครุ่นแรกเต็มรูปแบบ ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะก็เช่นกัน เกษตรกรที่ร่วมโครงการแต่ละรายจะได้รับฝูงแพะเพศเมีย 30 ตัว เพศผู้ 2 ตัว และต้องส่งลูกแพะเพศเมียอายุ 6 เดือน จำนวน 32 ตัว คืนให้โครงการ จึงได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าของฝูงแพะที่ได้ยืมไปอย่างถาวร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4