วิทยาศาสตร์ฯ มธ. เปิดตัวหลักสูตร “ป.ตรี วิทยาการคอมพิวเตอร์ มธ. ศูนย์ลำปาง” พัฒนาชุมชนดิจิทัล นำลำปางสู่จังหวัดที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

อังคาร ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๐:๕๙
• วิทยาศาสตร์ฯ มธ. เปิดตัวแอปพลิเคชั่น "สมาร์ทโลคอลไกด์" ต้นแบบนวัตกรรมเพื่อชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ เพิ่มรายได้ผู้ประกอบการในชุมชน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มุ่งขยายโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลสู่ภูมิภาค ตั้งเป้าเป็น "ศูนย์รวมองค์ความรู้และแหล่งผลิตบุคลากรด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคเหนือ" เติมเต็มระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ (Ecosystem) ในฐานะแหล่งรวมองค์ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่นเพื่อการมุ่งหน้าสู่จังหวัดที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation City) พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวต้นแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน "สมาร์ทโลคอลไกด์" (Smart Local Guide) แอปพลิเคชั่นที่จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมถึงโปรโมทผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564- 4440-59 ต่อ 2010 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากแนวทางและวัตถุประสงค์การจัดตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ที่มุ่งขยายโอกาสการเข้าถึงวิชาการ และการพัฒนาความเท่าเทียมสู่ภูมิภาค ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ที่มีแนวคิดในการขับเคลื่อนประเทศไทยผ่านการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในระดับนานาชาติ ผนวกกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2557 - 2561) ที่เน้นการใช้กลยุทธ์การเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดสู่สากลด้วยดิจิทัล การกระจายความรู้จากศูนย์กลางสู่ชุมชนท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค จึงเป็นประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเร่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

รศ.ดร.สมชาย กล่าวต่อว่า จากประเด็นดังกล่าวทำให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการปรับปรุงและเปิดตัวหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เพื่อสอดรับกับแผนพัฒนาจังหวัดลำปาง 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2565) ที่มีทิศทางการพัฒนาลำปางบนพื้นฐานของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการใช้องค์ความรู้แบบผสมผสานความรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผนวกเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการเปิดตัวหลักสูตรดังกล่าว จะเป็นการมุ่งหน้าสู่การเป็น "ศูนย์รวมองค์ความรู้และแหล่งผลิตบุคลากรด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคเหนือ" ที่ทำหน้าที่เติมเต็มระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ (Ecosystem) ในฐานะแหล่งรวมองค์ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมความเป็น ชุมชนดิจิทัล ให้กับจังหวัดลำปางและพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมๆ กับการเป็นแหล่งผลิตบุคลากรคนรุ่นใหม่ประจำภาคเหนือ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่นเพื่อการมุ่งหน้าสู่จังหวัดที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation City)

นายธนโชติ เฉวียงหงษ์ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของผลงานแอปพลิเคชั่น "สมาร์ทโลคอลไกด์" กล่าวว่า แอปพลิเคชั่น "สมาร์ทโลคอลไกด์" เป็นแอปพลิเคชั่นที่จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมถึงโปรโมทผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยหัวใจหลักของการออกแบบแอปพลิเคชั่น คือ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น สำหรับขั้นตอนการใช้งาน เพียงเลือกโปรแกรมท่องเที่ยวที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่มเริ่มต้น (Start) ซึ่งจะปรากฎเป็นภาพแผนที่ที่ปักหมุดสถานที่สำคัญของจังหวัดในภาพรวม พร้อมทั้งระบุระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง และแสดงเส้นทางในการดินทางแต่ละจุดได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนแสดงข้อมูลเชิงลึกของสถานที่สำคัญ และอินไซด์ทิปส์ (Insight Tips) คำแนะนำแบบอินไซท์จากคนท้องถิ่น เพียงเลือกโหมดสแกนคิวอาร์โค้ด ขณะเดียวกัน แอปพลิเคชั่นดังกล่าว ยังมีระบบออดิโอไกด์ (Audio Guide) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลเสียงแก่ผู้ที่ไม่สะดวกในการอ่านข้อความอีกด้วย

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นทีมผู้พัฒนาได้นำร่องใส่ข้อมูลสถานที่ต่างๆ ของจังหวัดลำปางในแอปพลิเคชั่น อาทิ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม วัดเก่าแก่คู่เมืองลำปาง อินทราเซรามิก ศูนย์จำหน่ายเซรามิกฝีมือชาวบ้านที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดลำปาง สะพานรัษฎาภิเศก หนึ่งในแลนด์มาร์คประจำจังหวัดลำปางที่นักท่องเที่ยวต้องเช็คอิน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แอปพลิเคชั่นดังกล่าว ยังถูกออกแบบให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างคิวอาร์โค้ดได้ด้วยตนเอง และหากได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐหรือผู้ว่าราชการจังหวัดในการจัดทำ ป้ายสำหรับสแกนคิวอาร์โค้ด ติดตั้งบริเวณหน้าสถานที่สำคัญหรือร้านจำหน่ายสินค้าของชุมชน ก็จะยิ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการเพิ่มรายละเอียดแหล่งสินค้า และร้านอาหารที่เป็นโลคอลมากขึ้น และเปิดเป็น "โอเพ่นแพลตฟอร์ม" (Open Platform) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถอัพข้อมูลได้เอง พร้อมทั้งโปรโมทแก่นักท่องเที่ยวให้สามารถเข้าถึงและรู้จักร้านค้าของตนได้มากยิ่งขึ้น นายธนโชติ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564- 4440-59 ต่อ 2010 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ