กระทรวงวิทย์ฯ นำ วทน. ส่งเสริม OTOP และ SME จ.จันทบุรี เชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล

จันทร์ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๒:๑๖
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 6 หน่วยงานในกำกับ นำโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดกิจกรรมโอทอปสัญจรและสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ""การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ"" เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมี ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และบรรยายพิเศษเรื่อง ""เรื่อง ทิศทางและแนวนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"" ซึ่งกล่าวรายงานการจัดงานโดย นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และนายพงศ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวต้อนรับ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้ประกอบการโอทอป วิสาหกิจชุมชน SMEs จากภาคตะวันออก จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี ชลบุรี และฉะเชิงเทรา รวมทั้งผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่หน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ สาธารณสุขจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ประมาณ 600 คน

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การสร้างความสามารถของผู้ประกอบการในการแข่งขันด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทั้ง 6 หน่วยงาน ที่ได้ร่วมกันผลักดันงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เหมาะสมให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ และนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs เพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจในระดับภูมิภาค และมีศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาด ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศ 4.0 ในอนาคต

กิจกรรมโอทอปสัญจรครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดจัดทั้งหมด 14 ครั้ง ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการ การดำเนินงานในเรื่องโอทอป ของหน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในเรื่องการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต ระบบมาตรฐาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การออกแบบเครื่องจักรในการผลิต ตามวัตถุประสงค์และแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอปรวมไปถึงการต่อยอดในด้านการเงิน ทุนสนับสนุน และการตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด สร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่า และเข้าสู่การแข่งขันในตลาดระดับต่างๆ ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับจังหวัดจันทบุรีและกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออก มีวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ ซึ่งสามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่า ทั้งด้านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การยืดอายุผลิตภัณฑ์ การยืนยันคุณค่าและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยี ทั้งในด้านอาหาร เครื่องดื่ม ด้านสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของใช้ ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี และพร้อมเชื่อมโยงกับการดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรและปัจจัยการผลิตของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายแบบครบวงจร ที่มีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ และการจัดกิจกรรมโอทอปสัญจรและสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้จะประกอบด้วยการบรรยายและเสวนา จากวิทยากรของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา โอทอป และการรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีนิทรรศการจัดแสดงผลงานการนำ วทน. ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอป เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน SMEs สามารถเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา พัฒนาการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ ซึ่งแผนการดำเนินงานในปี 2561 มีเป้าหมาย 6,340 ราย สามารถเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในระดับสากลและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs ในภาคการผลิต ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มีความเข้มแข็ง เติบโต และมีนวัตกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบโอทอป และ SMEs รวมทั้งเศรษฐกิจฐานรากของไทยก้าวสู่ความมั่งคั่ง และมั่นคงอย่างยั่งยืน มีรายได้ เกิดการสร้างงาน และเกิดนวัตกรรมจนเป็นที่รู้จักในตลาดทุกระดับได้

นางอุมาพร สุขม่วง รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดกรอบดำเนินงานโครงการที่สำคัญหลายโครงการ ซึ่งการจัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI for OTOP Upgrade) ประจำปี พ.ศ. 2561 เป็นโครงการหนึ่งภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายและวิสาหกิจชุมชน มุ่งให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) มาใช้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งเน้นการบูรณาการร่วมกับจังหวัด เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินการยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ในการพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด การบริหารจัดการสินค้า และการควบคุมคุณภาพ OTOP ทุกกลุ่ม

นายพงศ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า การที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมโอทอปสัญจร และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีในการบูรณาการ การดำเนินงานร่วมกันกับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสินค้า ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงให้การนำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเป็นองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจ และการพัฒนาผลผลิตของชุมชน ให้มีคุณค่าและคุณภาพที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด และตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการของประเทศโดยเฉพาะการสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตด้านการเกษตร ทั้งการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและการแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่นำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับตัวอย่างความสำเร็จการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการของกระทรวงวิทยศาสตร์ฯ ได้แก่ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลไม้ภาคตะวันออก โครงการพัฒนาเครื่องดื่มมัลเบอรี่เพื่อสุขภาพ โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทุเรียนแท่ง โครงการพัฒนาเครื่องดื่มจากสารสกัดรังนก โครงการพัฒนากระบวนการฟรีซดรายด์รังนก มีการพัฒนานวัตกรรม และการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา