กพร.ลุยงาน ประกันการทดสอบมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่น สู่ระดับสากล

พฤหัส ๐๗ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๐๐
กพร.ลุยงาน การขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพสำหรับระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สร้างความเชื่อมั่น เป็นที่ยอมรับกลุ่มอาเซียนและระดับสากล

นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เผยว่า จากการจัดทำแผนแม่บทกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2555-2559 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระยะ 5 ปี ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กพร.ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพแรงงานและสถานประกอบกิจการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านหนึ่งนั้น ต้องขับเคลื่อนด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อีกทั้งต้องได้รับการยอมรับในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย

ปีที่ผ่านมา กพร. จึงได้จัดทำโครงการ "การขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพสำหรับระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน" เพื่อพัฒนาระบบทดสอบฯ ให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ทั้งในด้านความสามารถและคุณภาพของผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สร้างความน่าเชื่อถือของผู้ทดสอบและระบบการทดสอบฝีมือ ซึ่งจะส่งผลให้หนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานของ กพร. เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล โดยการประกันคุณภาพระบบทดสอบนั้น กพร.ได้ร่วมกับที่ปรึกษา สถาบันรับรองมาตรฐาน ISO จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารคุณภาพในระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล

นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่า หน่วยทดสอบทั่วประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จะต้องดำเนินการทดสอบตามคู่มือคุณภาพ คู่มือการปฏิบัติงาน พร้อมแบบฟอร์มต่างๆ สำหรับนำไปใช้ในการปฏิบัติงานทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งกพร.จะได้ชี้แจงให้กับศูนย์ทดสอบฯ หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องนำไปใช้งานให้เป็นแนวทางเดียวกันต่อไป

นอกจากนี้ กพร.ได้นำระบบ IT มาใช้ในการทดสอบมาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถานประกอบกิจการที่รับผู้ผ่านการทดสอบฯ เข้าทำงาน รวมถึงเพิ่มความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย โดยการทดสอบภาคทฤษฎี ผ่านระบบ E-Testing ซึ่งสอดรับกับนโยบายของพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งด้านการส่งเสริมให้หน่วยงานมีมาตรฐานในการทำงานสู่ระดับสากล มีระบบฐานข้อมูล และนำดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป

การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กพร.ไม่ได้ดำเนินการเพียงในประเทศเท่านั้น บางสาขาอย่างเช่น ผู้ประกอบอาหารไทย ได้รับความนิยมจากกำลังแรงงานไทยไปประกอบอาชีพในต่างประเทศ ล่าสุด สำนักงานแรงงานไทยเป ได้รายงานผลการทดสอบมาตรฐานผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 ในไต้หวัน ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 27-29 พ.ย.2560 มีผู้ผ่านทดสอบ 29 คน การทดสอบมาตรฐานฯ เป็นการวัดระดับฝีมือ สามารถเป็นเครื่องการันตีความสามารถ ซึ่งมีผลเรื่องของอัตราค่าจ้าง ความเชื่อมั่นในตนเอง ความเชื่อมั่นของผู้ว่าจ้างด้วย ทำให้จุดประกายแก่น้องๆ เชฟไทยในไต้หวัน หันมาใส่ใจที่จะพัฒนาฝีมือด้านอาหารมากขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการในต่างประเทศต้องการเชฟไทย ที่ จบ ป.ตรี ด้านอาหารหรือมีประสบการณ์ด้านอาหารไม่น้อยกว่า 5 ปี รับเงินเดือนกว่า 40,000 บาท อธิบดี กพร.กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา