ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ พร้อมระดมสรรพกำลังเร่งคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

ศุกร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๘:๒๙
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี สงขลา พัทลุง ตรัง ชุมพร นราธิวาส นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี รวม 71 อำเภอ 445 ตำบล 4,531 หมู่บ้าน 3,397 หมู่บ้าน 341,726 ครัวเรือน 1,071,203 คน อพยพ 313 ครัวเรือน 782 คน ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกด้านอย่างต่อเนื่อง พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ น้ำท่วมขัง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้จากอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ชุมพร นราธิวาส นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และกระบี่ รวม 121 อำเภอ 806 ตำบล 5,612 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 493,539 ครัวเรือน 1,595,485 คน เสียชีวิต 22ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ สตูล และยะลา ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 8 จังหวัด รวม 71 อำเภอ 445 ตำบล 3,397 หมู่บ้าน 341,726 ครัวเรือน 1,071,203 คน อพยพ 313 ครัวเรือน 782 คน ประกอบด้วย ลุ่มน้ำปัตตานี 1 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองจิก และอำเภอเมืองปัตตานี รวม 20 ตำบล 93 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,494 ครัวเรือน 88,415 คน ผู้เสียชีวิต 5 ราย ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2 จังหวัด ได้แก่ สงขลา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสทิงพระ อำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอบางกล่ำ และอำเภอระโนด รวม 46 ตำบล 328 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 44,547 ครัวเรือน 125,398 คน เสียชีวิต 7 ราย พัทลุง น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอศรีบรรพต อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอกงหรา อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าพะยอม อำเภอป่าบอน อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอตะโหมด รวม 65 ตำบล 651 หมู่บ้าน 19 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 135,282 ครัวเรือน 405,560 คน เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 1 จังหวัด ได้แก่ ตรัง น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอนาโยง อำเภอวังวิเศษ และอำเภอกันตัง รวม 30 ตำบล 182 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,757 ครัวเรือน 25,129 คน เสียชีวิต 4 ราย ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละแม อำเภอเมืองชุมพร อำเภอทุ่งตะโก อำเภอปะทิว อำเภอพะโต๊ะ อำเภอสวี และอำเภอหลังสวน รวม 54 ตำบล 250 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,471 ครัวเรือน 15,152 คน นราธิวาส น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอจะแนะ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอสุคิริน อำเภอระแงะ อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอตากใบ อำเภอศรีสาคร อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก – ลก และอำเภอแว้ง รวม 75 ตำบล 549 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 50,393 ครัวเรือน 172,691 คน นครศรีธรรมราช น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด อำเภอบางขัน อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอทุ่งสง อำเภอปากพนัง อำเภอสิชล อำเภอนาบอน อำเภอฉวาง อำเภอนบพิตำ อำเภอหัวไทร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอพรหมคีรี อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอช้างกลาง อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอท่าศาลา และอำเภอถ้ำพรรณรา รวม 157 ตำบล 1,311 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 123,107 ครัวเรือน 391,066 คน เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำตาปี 1 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี น้ำไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน อำเภอไชยา อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอดอนสัก รวม 52 ตำบล 297 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,165 ครัวเรือน 24,767 คน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแผนเผชิญเหตุ รวมถึงให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตระดมทรัพยากรและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย ทั้งเต็นท์ที่พัก รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถบรรทุก รถสุขาเคลื่อนที่ เรือท้องแบน และเครื่องสูบน้ำ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital