กระทรวงเกษตรฯ จับมือญี่ปุ่นสร้างแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะนำร่องในมันสำปะหลัง และข้าว นำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะหนุนกระบวนการผลิต รองรับนโยบาย Thailand 4.0 พร้อมจัด “สาธิตการใช้งานแทรกเตอร์ไร้คนขับ เพื่อทำการเกษตรอัจฉริยะ 8 ธ.ค. นี้”

ศุกร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๔๕
กระทรวงเกษตรฯ จับมือญี่ปุ่นสร้างแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะนำร่องในมันสำปะหลัง และข้าว นำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะหนุนกระบวนการผลิต รองรับนโยบาย Thailand 4.0 พร้อมจัด "สาธิตการใช้งานแทรกเตอร์ไร้คนขับ เพื่อทำการเกษตรอัจฉริยะ 8 ธ.ค. นี้" ณ แปลงเรียนรู้การเกษตรอัจฉริยะการผลิตมันสำปะหลัง จ.นครราชสีมา

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันแนวโน้มทิศทางการทำเกษตรกรรมของโลกกำลังปรับเปลี่ยนไปจากการเกษตรดั้งเดิมเพื่อพัฒนาสู่การเกษตรสมัยใหม่ และการเกษตรอัจฉริยะที่สูงขึ้น ประกอบกับภาคการเกษตรของประเทศไทยในอนาคตกำลังเผชิญสภาวะการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร เนื่องจากเกษตรกรเข้าสู่ภาวะสูงอายุ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบการเกษตรของประเทศไทยอย่างมาก ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแลด้านเกษตรกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาการเกษตรในปัจจุบัน สู่การเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Agriculture ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตทางการเกษตร สอดคล้องกับการพัฒนาที่มุ่งสู่เกษตร 4.0 และสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อทำให้อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ดี และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น จึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษาการทำการเกษตรอัจฉริยะเพื่อเป็นการตอบรับกับทิศทางการพัฒนาด้านเกษตรที่เปลี่ยนไป

ทั้งนี้ ในช่วงกลางเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางเพื่อหารือกรอบความร่วมมือการบริหารจัดการด้านการเกษตรเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรม Geo-informatics (GI) ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ณ เกาะฮอกไกโด และได้ศึกษาดูงานภาคเกษตรกรรมในประเทศญี่ปุ่น และระบบเกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ได้แก่ การวิจัยรถแทรกเตอร์ไร้คนขับ (unmanned tractor) ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบ GNSS หรือ GPS และการใช้ข้อมูล Big Data เพื่อวางแผนด้านเกษตรกรรม ณ Hokkaido University โดยได้หารือเรื่องความร่วมมือด้านเกษตรกรรมอัจฉริยะกับ Professor Noboru Noguchi นักวิจัยชาวญี่ปุ่นผู้คิดค้นแทรกเตอร์ไร้คนขับคนแรกของโลก ถึงความเป็นไปได้ที่ Hokkaido University จะให้การสนับสนุนแทรกเตอร์ไร้คนขับ เพื่อทดลองใช้ในการทำเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย และแนวทางความร่วมมือด้านการนำนวัตกรรมภูมิสารสนเทศมาใช้ในการทำการเกษตร โดย ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนประสานกับ Hokkaido University อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งกระทรวงเกษตรฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรฯ ร่วมดำเนินการ โดยมีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะที่เหมาะสมมาใช้ในกิจกรรมผลิตพืช ซึ่งจะนำร่องในมันสำปะหลัง และข้าว เป็นลำดับแรก เพื่อให้เป็นแปลงสาธิตการทำเกษตรอัจฉริยะเพื่อเผยแพร่ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร ตลอดจนผู้ประกอบการ นักวิจัย ประชาชนที่สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์

??ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) เป็นแนวคิดการบริหารจัดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ใช้ทรัพยากร (คน เวลา และปัจจัยการผลิต) ในการผลิตเท่าที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะให้ผลผลิตที่สูงสุด และมีความยั่งยืน อาศัยการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่แบบอัจฉริยะอย่างครบวงจร โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตรแบบแม่นยำ เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geo-informatics และการเก็บข้อมูลระยะไกล หรือ Remote sensing รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ และสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือ Internet of Things (IOT) เช่น ในระบบตรวจจับต่างๆ หรือ Sensors มีรูปแบบการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตระหว่างอุปกรณ์ และระบบที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเชิงพื้นที่แบบอัจฉริยะอย่างครบวงจรจะถูกนำมาประมวลผลและจัดทำเป็น Data platformเพื่อสร้างระบบช่วยการตัดสินใจ (Decision Support System) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงที่สุด และวิเคราะห์แนวทางแก้ไข/พัฒนาที่ดีที่สุด ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตขณะนั้น ซึ่งข้อมูลเชิงพื้นที่แบบอัจฉริยะทั้งหมดจะถูกนำมาประมวล เป็นชุดข้อมูล หรือ Big data ที่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว สำหรับประกอบการตัดสินใจผลิตพืช รวมทั้งพยากรณ์ความเสี่ยงในการผลิตได้

ต่อมา ช่วงเดือนตุลาคม 2560 Hokkaido University ได้ให้ความอนุเคราะห์รถแทรกเตอร์ไร้คนขับ ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบ GNSS หรือ GPS เพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรฯ เป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมทั้งส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาให้การฝึกอบรม และสาธิต และได้มีการขับเคลื่อนการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Geo-informatics (GI) ในการบริหารจัดการด้านการเกษตร (Geo-Informatics Technology Application for Agriculture Management) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ GISTDA และ Hokkaido University ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะมาใช้ให้เหมาะสมมาในกิจกรรมผลิตพืช ซึ่งจะนำร่องในมันสำปะหลังและข้าว เป็นลำดับแรก เพื่อให้เป็นแปลงสาธิตการทำเกษตรอัจฉริยะเผยแพร่ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรที่สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์

สำหรับโครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะนำร่องในมันสำปะหลังและข้าว ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาพัฒนาการทำการเกษตรอัจฉริยะ ที่มีการนำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ในทุกกิจกรรมการผลิตพืช ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการผลิต การเตรียมแปลง การปลูก การดูแลรักษา และขั้นตอนการเก็บเกี่ยว รวมทั้งการเก็บข้อมูลในทุกขั้นตอนการผลิตพืช เพื่อใช้จัดทำ Big data ต่อไป โดยเทคโนโลยีการเกษตรที่นำมาใช้ในแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ประกอบด้วย การใช้แทรกเตอร์ไร้คนขับ ร่วมกับเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม่ การให้น้ำตามความต้องการของพืชโดยพิจารณาจากข้อมูลความชื้นของดิน และสภาพอากาศผ่านระบบเซนเซอร์ และ Internet of Things (IOT) การจัดทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยภาพถ่ายดาวเทียม การใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืชตามแผนที่ทางกายภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน การประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตรวจสอบการเจริญเติบโตของพืชโดยใช้ โดรนและเทคโนโลยีประมวลผลจากภาพถ่ายระยะไกล เป็นต้น ซึ่งมีพื้นที่แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตมันสำปะหลังอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา และกำแพงเพชร ส่วนแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตข้าวมีพื้นที่อยู่ที่จังหวัดชัยภูมิกำแพงเพชร และพระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2560 กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้จัดงาน "การสาธิตการใช้งานแทรกเตอร์ไร้คนขับ เพื่อทำการเกษตรอัจฉริยะ" ณ แปลงเรียนรู้การเกษตรอัจฉริยะการผลิตมันสำปะหลัง ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเตรียมความพร้อมของผู้ร่วมดำเนินการโครงการ โดยแปลงเรียนรู้นี้เป็นของ นายสมเกียรติ บุญหมื่นไวย เกษตรกรดีเด่นผู้ปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งเป็น Smart Farmer มีพื้นที่ 80 ไร่ แบ่งพื้นที่แปลงออกเป็นสองส่วนๆ ละ 40 ไร่ เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งได้นำเทคโนโลยีการผลิตพืชมาใช้ในกระบวนการการผลิตตั้งแต่การเตรียมแปลง การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยเกษตรแบบสมัยใหม่ ?

"การจัดสาธิตการใช้งานแทรกเตอร์ไร้คนขับ เพื่อทำการเกษตรอัจฉริยะในครั้งนี้ นับเป็นก้าวแรกของ การขับเคลื่อนการทำการเกษตรอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรมของประเทศไทย ที่เกิดจากการบูรณาการการดำเนินการและข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบของประชารัฐ โดยการขับเคลื่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับเป็นต้นแบบในการทำการเกษตรอัจฉริยะที่รองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของภาคการเกษตรและเกษตรกรต่อไป ในอนาคต" ดร.วราภรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าร่วมชมการสาธิตการใช้งานแทรกเตอร์ไร้คนขับ ณ แปลงเรียนรู้การเกษตรอัจฉริยะการผลิตมันสำปะหลัง จ.นครราชสีมา พร้อมแสดงความขอบคุณ Prof. Dr.Noboru Noguchi จากHokkaido University ที่สนับสนุนแทรกเตอร์ไร้คนขับสำหรับใช้ทดลองการดำเนินงาน ซึ่งแปลงสาธิตดังกล่าวถือเป็นแปลงเรียนรู้แห่งแรกของประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ให้กำลังใจต่อเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานด้านการเกษตรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้