การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลแก่ประชาชน

พุธ ๐๓ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๘
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันมีการนำสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เช่น Bitcoin Ethereum Litecoin เป็นต้น มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งสำหรับการใช้จ่ายตามร้านค้าทั่วไป รวมไปถึงการชักชวนให้ร่วมลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าว จึงอาจทำให้เกิดข้อสงสัยแก่ประชาชนว่าเงินดิจิทัลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องนั้น ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ประกอบกับนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลแก่ประชาชนให้ถูกต้อง โดยให้เน้นย้ำถึงข้อควรระวังและความเสี่ยงในการลงทุนเงินสกุลดังกล่าวให้ชัดเจน และเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 กระทรวงการคลังและหน่วยงานกำกับดูแลอันได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกัน ดังนี้

1. ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีของสกุลเงินดิจิทัล (Blockchain) มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการเงินและสร้างนวัตกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ แต่ในประเทศไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ยังไม่ยอมรับเงินสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ เป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

2. ปัจจุบันมูลค่าของเงินสกุลดิจิทัลมีความผันผวนมากเกิดจากความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลัก จนอาจไม่สอดคล้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และบางกรณีมีลักษณะเก็งกำไรสูง ดังนั้น ผู้ที่ถือเงินสกุลดิจิทัลจึงมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนสูงได้ด้วย ผู้ลงทุนจึงควรตระหนักว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด

3. ประชาชนควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูงก่อนตัดสินใจลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลเนื่องจากอาจมีผู้มีเจตนาทุจริตมีพฤติกรรมหลอกลวงเงินจากประชาชนโดยอ้างถึงการลงทุนในเงินสกุลดิจิทัลและจูงใจด้วยผลตอบแทนสูงในระยะเวลาสั้น ๆ เช่นเดียวกับกรณีแชร์ลูกโซ่ โดยอาจสังเกตเบื้องต้นจากวิธีการชักจูงด้วยการเสนออัตราผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง การกดดันให้ต้องรีบตัดสินใจลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย

4. ในบางกรณี การทำธุรกรรมด้วยเงินสกุลดิจิทัลอาจไม่ได้ผ่านการระบุตัวตนหรือการตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินอย่างครบถ้วนจึงอาจเป็นช่องทางให้ผู้มีเจตนาทุจริตใช้ทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงินประชาชน เป็นต้น ประชาชนจึงอาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าวโดยไม่ได้รู้เห็นมาก่อน

5. หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการติดตามพัฒนาการของสกุลเงินดิจิทัลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จะมีการตั้งคณะทำงานระหว่าง กระทรวงการคลัง ธปท. สำนักงาน กลต. และ ปปง. เพื่อพิจารณาทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อดูแลสกุลเงินดิจิทัลอย่างเหมาะสมต่อไป

สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3636 3219 และ 3248 โทรสาร 0 2618 3366

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ
๑๗:๑๗ เขตวัฒนากวดขันผู้ค้าทางออกสถานีรถไฟฟ้า MRT แยกอโศก ไม่ให้กีดขวางทางสัญจร
๑๗:๒๒ ดื่มด่ำกับมื้ออาหารสุดพิเศษ ช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ที่รอยัล คลิฟ พัทยา
๑๖:๐๙ SEhRT กรมอนามัย ปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากไฟไหม้โรงงานพลาสติก จังหวัดระยอง
๑๖:๑๒ สิ่งที่ควรรู้ก่อนส่งอาหารไปอเมริกา แพ็คยังไง ส่งอะไรได้บ้าง?
๑๖:๐๘ ตอบข้อสงสัยการทำประกันออนไลน์ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการเคลม
๑๖:๐๓ 5 คุณประโยชน์ของวิตามินบำรุงสมอง อาหารเสริมที่ควรมีติดบ้าน