สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ความสุขชุมชน

จันทร์ ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๐๘
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ความสุขชุมชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,114 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 1 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.1 ภูมิใจมากที่ได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทย เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้มาก พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกลับมีความภูมิใจที่ได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทยมากที่สุดคือร้อยละ 98.7 รองลงมาคือ ผู้มีรายได้ปานกลางร้อยละ 96.5 และผู้มีรายได้มาก ร้อยละ 97.4 ที่ภูมิใจได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขตอบโจทย์ความสุขชุมชน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน จำแนกตามระดับรายได้ พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกลับมีความสุขสูงสุดในเกือบทุกตัวชี้วัดความสุขชุมชนยกเว้นเรื่องเงินในกระเป๋าของตนเองที่เมื่อนึกถึงแล้วมีความสุขต่ำสุดโดยพบว่า ผู้มีรายได้น้อยมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงที่สุดอยู่ที่ 9.26 คะแนนที่ได้เห็นคนไทยเป็นหนึ่งเดียวกันแสดงความจงรักภักดี ทำความดีถวายในหลวง เช่น เป็นคนดี มีวินัย ปกป้องการล่วงละเมิดสถาบัน ใช้ชีวิตพอเพียง ทำหน้าที่ มีจิตอาสา ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีน้ำใจ สู้ปัญหาชีวิต ไม่ท้อ ไม่โกง เป็นต้น สูงกว่าผู้มีรายได้มาก 9.12 คะแนนและ ผู้มีรายได้ปานกลาง 8.95 คะแนน

ด้านความสุขในครอบครัว ผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ 8.65 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 8.39 คนรายได้มากอยู่ที่ 8.48 ด้านความสุขต่อวัฒนธรรม งานบุญ งานบวช คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 8.33 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 7.81 และคนรายได้มากอยู่ที่ 8.23 ด้านความสุขที่เห็นคนไทยรักกัน ช่วยเหลือเกื้อกุลกัน คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 7.89 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 7.63 และคนรายได้มากอยู่ที่ 7.83

นอกจากนี้ ด้านความสุขในชุมชนที่พักอาศัย คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 7.58 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 7.20 และคนรายได้มากอยู่ที่ 7.30 ด้านความสุขเมื่อได้ช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 7.20 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 6.28 และคนรายได้มากอยู่ที่ 6.91

ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขชุมชนใน 3 มิติ ได้แก่ ด้านความปลอดภัยนอกบ้าน พบว่า คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 6.56 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 5.93 และคนรายได้มาก อยู่ที่ 5.98 ด้านความสุขเมื่อนึกถึงสถานการณ์การเมือง คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 5.22 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 4.60 และคนรายได้มากอยู่ที่ 4.81 และด้านความสุขเมื่อนึกถึงเงินในกระเป๋าของตนเอง พบว่า คนรายได้น้อยมีความสุขต่ำสุดคือ 5.21 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 5.49 และคนรายได้มากมีความสุขอยู่ที่ 6.23

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!