ชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง สุดยอดงานวิจัย มจธ. เพื่อการเกษตร

จันทร์ ๒๓ เมษายน ๒๐๑๘ ๐๙:๐๖
สุดยอดงานวิจัยเพื่อการเกษตรและผลผลิตส่งออก "ชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลังแบบเปรียบเทียบสีโดยใช้อนุภาคนาโนโลหะคู่" ผลงานนักศึกษาปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยมี ผศ.ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คว้ารางวัลระดับดีเด่น การเขียนข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2560 และรางวัลระดับดีเด่น การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2560 ในกลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ ในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 หรือ Thailand Research Expo 2017" ภายใต้แนวคิด "วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับเครือข่ายในระดับวิจัยทั่วประเทศ

นางสาววรวรรณ เสาวรส นักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ เจ้าของผลงาน กล่าวว่า "มันสำปะหลังเป็นสินค้าทางการเกษตรชนิดหนึ่งที่มีมูลค่าส่งออกเป็นจำนวนมากต่อปี แต่หัวมันสำปะหลังดิบจะมีสารไซยาไนด์ (Cyanides) ในปริมาณที่ต่างกันตามสายพันธุ์ คือพันธุ์หวานประกอบอาหารได้โดยระดับปริมาณไซยาไนต์ไม่เป็นอันตราย มันสำปะหลังพันธุ์ขมจะมีปริมาณไซยาไนต์ที่สูง ซึ่งมีความเป็นพิษ มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและทางเดินโลหิต เป็นอันตรายมากหากรับประทานดิบ จึงไม่นิยมทานเป็นอาหารโดยตรง แต่จะนำไปแปรรูปเป็นแป้งมัน มันแห้ง มันอัดเม็ด หรืออาหารสัตว์ อีกทั้งไซยาไนด์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการทำงานบางอย่าง เช่น การถลุงโลหะ การสังเคราะห์สารเคมี การตรวจวิเคราะห์ทางเคมีในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

ดังนั้นการทดสอบปริมาณของไซยาไนด์จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับการส่งออกผลผลิตมันสำปะหลังให้ตรงตามมาตรฐานและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค จากเดิมขั้นตอนในการตรวจสอบไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง ต้องสกัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลังออกมาโดยใช้เอนไซม์ซึ่งมีความยุ่งยากในการเก็บรักษา และตรวจสอบการเปลี่ยนสีโดยใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษ ทำในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ ตนจึงต้องการคิดค้นวิธีการตรวจสอบที่ลดขั้นตอนและมีความเป็นพิษต่ำลง เพื่อป้องกันสุขภาพของผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นที่มาของชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลังแบบเปรียบเทียบสีโดยใช้อนุภาคนาโนโลหะคู่ หลักการคือสังเคราะห์อนุภาคที่มีลักษณะเป็น 2 ชั้น หลักการคือสังเคราะห์อนุภาคที่มีลักษณะเป็น 2 ชั้น ที่มีแกน (core) เป็นอนุภาคนาโนเงินและมีเปลือก (shell) เป็นชั้นทองบางๆ หุ้มอยู่ จึงทำให้สารละลายสามารถเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีอมส้ม เป็นสีเหลือง และสีใส เพื่อบอกระดับปริมาณไซยาไนด์ที่ต้องการตรวจสอบ เพียงสกัดน้ำจากมันสำปะหลังที่ต้องการตรวจสอบใส่ลงในสารละลายอัตราส่วน 1:1 และสังเกตการเปลี่ยนสีของสารละลายในเวลา 5 นาที หากตรวจพบไซนาไนด์สารละลายจะเกิดการเปลี่ยนสี จากสีม่วงเป็นสีอมส้ม เป็นสีเหลือง และสีใส จากไซนาไนด์ปริมาณน้อยไปถึงปริมาณมากตามลำดับ หากสารละลายเป็นสีใส คือมันสำปะหลังมีปริมาณไซยาไนด์ในระดับที่เป็นอันตราย ไม่สามารถบริโภคโดยตรงได้"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital