สศอ. เร่งพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ( GIS ) เป็นเครื่องมือช่วยหาพื้นที่ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรม สนับสนุน ๕ อุตสาหกรรมนำร่อง ตามนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐

อังคาร ๒๔ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๕:๓๓
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ( สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดแถลงข่าวและสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับผู้ประกอบการ นักลงทุน และประชาชนทั่วไป ใช้เป็นเครื่องมือค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจเชิงพื้นที่ หวังเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ ๕ อุตสาหกรรมนำร่อง

วันนี้ ( ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑) ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ ฯ นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในการแถลงข่าวและเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System – GIS ) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กับสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายพสุ โลหารชุน กล่าวว่า การสร้างเครื่องมือการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในครั้งนี้ เป็นไปตามที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมใหม่ ทั้ง ๕ สาขา (New S-curve) ให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อสร้างรายได้ให้ประชากรอีกประมาณร้อยละ ๓๐ ให้ได้ในอนาคต จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ ๕ อุตสาหกรรมนำร่อง โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ เพื่อให้เหมาะสมตามศักยภาพ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงสนับสนุนให้มีกลไกและเครื่องมือที่ทันสมัยมาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม หนึ่งในนั้นก็คือการใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ( GIS ) มาใช้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยในการจัดทำนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมและเตือนภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานในการทำงาน การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้งาน เป็นการสนองตอบต่อนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ทั้งนี้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลทั้งในรูปแบบของแผนที่และฐานข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน" ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

๒ ด้านนายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การจัดทำโครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ สืบเนื่องจากนโยบาย Thailand ๔.๐ รัฐบาลมุ่งเน้นให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกและดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนภายในประเทศไทย ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคการผลิตและมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทย สศอ. ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายนี้และเห็นว่าการแข่งขันได้ในเวทีโลก ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ และจะสิ้นสุดการปฏิบัติงานในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ ซึ่งได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนำร่องเข้าร่วมสัมมนา รวมทั้งทีมที่ปรึกษาโครงการได้มีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้อำนวยการสถาบันต่างและผู้ประกอบการ เกี่ยวกับปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งของอุตสาหกรรมนำร่องทั้ง ๕ อุตสาหกรรม ได้แก่ ๑.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒.อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ๓.หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ๔.อุตสาหกรรมยานยนต์และยานยนต์สมัยใหม่ และ

๕.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

" ระบบ GIS ที่จัดทำขึ้น นอกจากจะให้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแล้ว จะมีการนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในรูปของแอปพลิเคชั่น ( Application) อีกด้วย เพื่อให้บุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ/นักลงทุน ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ได้เข้าถึงและสามารถสืบค้นข้อมูลของอุตสาหกรรมในเชิงพื้นที่ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ศักยภาพของพื้นที่ในการลงทุน การขนส่ง ความหนาแน่นของโรงงานอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ความเหมาะสมในการลงทุน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ สนับสนุนประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน" นายศิริรุจ กล่าว

ทั้งนี้ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้จะเป็นการนำเสนอผลของการศึกษาเพื่อกำหนดเกณฑ์ ปัจจัย ในการวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษา ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนำร่อง ๕ อุตสาหกรรม เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดเกณฑ์ ปัจจัยและวิธีการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ (Potential Area) ในการพัฒนาอุตสาหกรรม

สำหรับอุตสาหกรรมนำร่อง ส่วนที่ ๒ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านโครงข่ายการขนส่งและสาธารณูปโภค ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ที่ค้นพบในระหว่างกระบวนการศึกษา ซึ่งผลการศึกษาทั้ง ๒ ส่วนจะนำไปสู่การพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม

"ผลที่ได้รับจากโครงการในระยะแรก ประกอบด้วย รายงานการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระจายตัวของอุตสาหกรรมย้อนหลัง ๕ และ ๑๐ ปี รายงานผลการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวม และรายงานผลการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่สำหรับ ๕อุตสาหกรรมนำร่อง" นายศิริรุจ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๒๔ เม.ย. เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๒๔ เม.ย. อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ