ระดมสมองในสื่อเต็มเลย 4 สร้างช่องทาง-โอกาสในโลกดิจิทัล

อังคาร ๒๔ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๓:๑๒
กูรูวงการสื่อสารมวลชน ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในยุคดิจิทัล ที่สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญ พลิกโฉมการรับข้อมูลข่าวสารของผู้เสพสื่อ ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และรูปแบบการทำโฆษณา เผยกราฟิกฝีมือคนไทยยุคนี้ก้าวไกลสู่เวทีโลกแล้ว

สัมมนา "สื่อเต็มเลย 4" ซึ่งจัดขึ้นโดยนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ม.เนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ โรงภาพยนตร์ลิโด้ มัลติเพล็กซ์ โรงที่ 1 ภายใต้หัวข้อ "นิเทศศาสตร์มีเรื่องหลากหลาย ช่องทางมากมายสร้างรายได้เต็มเลย" เป็นเวทีในการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านของวงการสื่อสารมวลชน เพื่อแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ และร่วมหาแนวทางการแก้ปัญหา รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

ในช่วงแรกของการสัมมนา พูดคุยในประเด็น "สื่อเก่า – สื่อใหม่ ปรับตัวอย่างไรให้ยืนหยัดได้อย่างมั่นคง" มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัลและสื่อใหม่ , คุณมัณฑิตา จินดา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดดิจิทัล ของบริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร THE STANDARD

ดร.สิขเรศ มีมุมมองเกี่ยวกับการทำงานในวงการสื่อสารมวลชนว่า ปัจจุบันการทำเนื้อหาง่ายขึ้น เพราะเป็นยุคที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาได้เอง คือ ต้องเข้าใจผู้บริโภคก่อน ถ้าพูดถึงวิธีการเข้าถึงผู้บริโภค ในเชิงทฤษฎี ประเทศไหนมีการใช้นวัตกรรมมากกว่า 50% ประเทศนั้นมีทิศทางการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงมาก ในยุคนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ 3C คือ Choice ทางเลือก Control การควบคุม และ Convenience ความสะดวกสบาย

ขณะที่คุณมัณฑิตา กล่าวว่า ข้อดีของการทำออนไลน์ที่เห็นได้ชัดคือ จะรู้เลยว่าคนดูชอบหรือไม่ชอบอะไร ถือเป็นข้อดีมากๆ ในสมัยก่อนถ้าเป็นทีวี ต้องรอเรตติ้งออกถึงจะนำมาวิเคราะห์ได้ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ทีหลัง แต่เมื่อเป็นออนไลน์ ก็จะพยายามทำให้เนื้อหาอยู่ถูกที่ถูกทางและถูกจริตของผู้ชม และจะนำเสนออย่างไรให้ผู้ชมรู้สึกว่าสะดวกสบายกับเขาที่สุด ถ้ายังยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ จะไม่ทัน นี่คือสิ่งที่ออนไลน์พยายามที่จะทำ คือ อย่างแรก การนำเนื้อหาที่มีอยู่แล้ว มาหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ไปถึงผู้ชมอย่างถูกวิธี อย่างที่สอง คือ มีอะไรใหม่ๆ หรือไม่ที่สามารถเข้าถึงผู้ชมได้เร็ว

ด้านคุณนครินทร์ เล่าถึงวิธีการเลือกความเหมาะสมของเนื้อหา กับแต่ละช่องทางในการนำเสนอของ THE STANDARD คือ การทำแบรนด์ (branding) ต้องชัด สำคัญมาก หมายถึง ต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่า มีอะไรเด่น อะไรด้อย จุดแข็งคืออะไร ต้องมานั่งวิเคราะห์ตัวเอง วิเคราะห์ทีมงานด้วย วิเคราะห์ความถนัดของตัวเอง พอวิเคราะห์ออกมาทั้งหมดแล้ว พบว่า THE STANDARD เลือกนำเสนอข่าวสร้างสรรค์ ซึ่งแตกต่างข่าวของสำนักอื่น

"ขณะที่ส่วนใหญ่คิดว่า Content is king แต่สำหรับผม presentation is queen คือทำอย่างไรให้ข่าวน่าสนใจมากที่สุด เช่น ทำ infographic ตัดคลิปให้น่าสนใจใช้ภาพประกอบ กราฟฟิก วิธีการเลือกนำเสนอข่าวของเราคือ อันดับแรก เลือกข่าวใหญ่ข่าวสำคัญที่มีผลกระทบกับสังคม และเลือกข่าวที่เป็นรูปแบบเฉพาะของ THE STANDARD ซึ่งผู้อ่านจะหาได้ที่เราเท่านั้น ทำให้เรามีความ unique แยกออกมาข่าวแบบนี้ต้องใช้เวลาในการคิดหาสูตรสำเร็จอ มีเอกลักษณ์ คือ เนื้อหาของเราจะเป็นของคนเมือง ถามว่าคนเมืองสนใจอะไร คนยุคใหม่สนใจอะไร อันที่สองไลฟ์สไตล์ อยากไปกินดื่มเที่ยว เราก็พยายามนำเสนอเรื่องของสุขภาพความงาม เป็นอะไรที่เด่นมากและตรงกลุ่ม อันนี้เป็นสิ่งที่เราเด่นมาตลอด อันดับสองจะจำแนกเนื้อหาลงในแต่ละช่องทางการนำเสนออย่างไรให้หลากหลาย" บก.บห.ของ THE STANDARD กล่าว

ช่วงต่อมาของการสัมมนา พูดคุยในประเด็น "D.I.Y Advertising ช่องทางสร้างตลาดของตัวเอง " มีวิทยากรที่มากฝีมือ ได้แก่ ดร.ปอยหลวง โคนทรงแสน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Platform Marketing Agency จำกัด, คุณพิชชากร เคียล่า บาลลา บิวตี้บล็อกเกอร์ และเจ้าของเว็บไซต์ sononui.com และคุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านเพนกวิน อีท ชาบู

ส่วนคุณธนพงศ์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจว่า ตนไม่ได้จบด้านการทำอาหาร เป็นสถาปนิก เปิดบริษัทเล็กๆ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ครอบครัวประสบปัญหาทางธุรกิจ จึงทำธุรกิจร้านอาหาร แต่อาชีพนี้ก็มีความเสี่ยงสูง 9 ใน 10 รายต้องปิดกิจการใน 3 ปีแรก และในช่วงนั้นยังไม่มีร้านอาหารที่ให้ความสำคัญกับ การตลาดยุคดิจิทัล แต่ร้านอาหารแห่งนี้กลับเป็นธุรกิจหลักของตน ทำให้ได้โอกาสเข้ามาเรื่อยๆ เพราะการทำบริษัทออกแบบ ปีหนึ่งจะเจอลูกค้าแค่ 20-30 ราย แต่การทำธุรกิจร้านอาหารปีหนึ่งเจอลูกค้ามากมาย ทำให้ได้เข้าใจและรู้จักลูกค้ามากขึ้น

คุณพิชชากร บอกว่า เธอเริ่มต้นจากการเขียนบล็อก และขยายฐานแฟนคลับมาที่อินสตาแกรม จึงเริ่มมีโฆษณาติดต่อเข้ามา ตอนทำบล็อกช่วงแรกๆ เป็นข่วงที่กระท่อนกระแท่นพอสมควร เพราะทุกอย่าง ต้องลองด้วยตัวเองทั้งหมด การเป็นบล็อกเกอร์ สิ่งสำคัญเลยคือต้องจริงใจกับผู้ติดตาม ตัวเองจะซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆเข้ามา ช่วยในงานโฆษณาสินค้าอยู่เรื่อยๆ เช่น กล้อง วอลเปเปอร์ใหม่ๆ ลงทุนกับอุปกรณ์ไปเยอะ แล้วก็ศึกษาบล็อกเกอร์ต่างประเทศในเรื่องคุณภาพงาน และบล็อกเกอร์ฝั่งไทยในแง่ของกระแส

"ต้องคอยหมั่นศึกษาเพื่อปรับตัวให้ทันเทรนด์ที่เปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ สกิลต่างๆ ไอเดียตัวเองต้องขับออกมาตลอด ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถไปสู้รบกับคู่แข่งรายอื่นได้ และที่สำคัญคือเลือกสเกลงานที่ถูกต้อง จะช่วยประหยัดงบประมาณได้เยอะ สุดท้ายแล้วการเป็นบล็อกเกอร์คือ การสื่อสารอย่างไรให้คนรู้จักเราเป็นวงกว้าง และต้องหมั่นทำอย่างสม่ำเสมอ และซื่อสัตย์จริงใจกับผู้ติดตาม" คุณพิชชากร กล่าว

ด้าน ดร.ปอยหลวง กล่าวว่า ในมุมมของตน การทำโฆษณาไม่ว่ายุคเก่าหรือยุคใหม่ คนทำต้องเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า ซึ่งต้องจำแนกออกเป็นหลายกลุ่ม แล้วจึงจะสามารถคิดเนื้อหา เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าได้ และต้องดูแล รวมทั้งเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง เพราะการรักษาลูกค้าให้อยู่ได้นาน ยากกว่าการหาลูกค้าใหม่

ช่วงสุดท้ายของการสัมมนา พูดคุยในประเด็น "กราฟิกไทย ก้าวไกลสู่สากล" มีวิทยากรมากความสามารถ ได้แก่ คุณนิธิพัฒน์ สมสมาน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมั้งค์ สตูดิโอ จำกัด , คุณศักดิ์ศิริ คชพัชรินทร์ กรรมการผู้จัดการ IMAGIMAX STUDIO และ คุณวีรภัทร ชินะนาวิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Riff Animation Studio

คุณนิธิพัฒน์พูดถึงสถานการณ์ปัจจุบันในแวดวงกราฟิกไทยว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมาคงได้เห็นภาพยนตร์ไทย อย่าง เก้าศาสตรา ที่มีความเป็นไทยสูงมาก หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ มีหนังการ์ตูนไทยที่ออกมาฉาย แต่ยังไม่เปรี้ยง จึงทำให้คนไม่ค่อยอยากลงทุน ปกติหนังอนิเมชั่น 1 เรื่อง ใช้ทุนสูงมาก แต่ละเรื่องก็มีต้นทุนที่แตกต่างกันมาก เมื่อรายได้ไม่เข้าเป้าตามที่วางไว้ จึงส่งผลให้คนไม่อยากจะมาลงทุน

ผู้บริหารบริษัท เดอะมั้งค์ สตูดิโอ มองว่า หนังไทยอาจติดกับดักอะไรบางอย่าง ที่ทำให้ไปต่างประเทศไม่ได้ แต่ในช่วงก่อนหน้านี้ที่หนังการ์ตูนไทยหายไป ก่อนเก้าศาสตราจะมา ไม่ได้หมายความว่า วงการอนิเมชั่นไทยหายไป แต่เพราะไปเป็นผู้รับจ้างผลิตงานให้กับต่างประเทศค่อนข้างเยอะ จริงๆแล้ว อนิเมชั่นไทยไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ ไม่ได้ตาย แล้วยังไปทำงานเบื้องหลังให้กับหนังต่างประเทศหลายเรื่อง

ด้านคุณศักดิ์ศิริมีความเห็นเช่นเดียวกันว่า ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่ชัดเจน ในการสนับสนุนด้านสื่ออนิเมชั่น ภาพยนตร์ หรือ กราฟิก ผิดกับในต่างประเทศจะมีหน่วยงานจากรัฐบาลกลาง ที่เข้ามาดูแลสนับสนุนเรื่องนี้โดยตรง อาทิ เกาหลี มาเลเซีย ที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่ทำเนื้อหาและมีไอเดียดีๆ ปัญหาเหล่านี้ทำให้วงการกราฟฟิกไทยค่อนข้างเสียโอกาส สำหรับหน่วยงานที่สนับสนุนในลักษณะที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับในต่างประเทศก็คือ กระทรวงพาณิชย์ ที่ช่วยสนับสนุนด้านการตลาด เช่น ออกค่าบูธให้ เมื่อมีการออกไปขายงานในต่างประเทศ

ส่วนคุณวีรภัทร มองว่า ในวงการที่ทำงานด้านสื่อภาพยนตร์ มัลติมีเดีย ก็เป็นสิ่งสำคัญ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกบูมมาก ที่ผ่านมา วงการกราฟิกไทยมีโอกาสทำงานกับต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่ติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต ทำให้คนไทยมีโอกาสติดต่อกับต่างประเทศ มีช่องทางที่จะเผยแพร่ผลงานได้มากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้