กระทรวงเกษตรฯ สนองนโยบายรัฐบาล ใช้ “การตลาดนำการผลิต” เชื่อมั่นสามารถสร้างสมดุลทางการตลาด เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร อีกทั้งเชื่อมโยงภาครัฐและเอกชน สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

พฤหัส ๒๖ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๖:๐๒
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นโยบายการพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ ที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้า โดยขับเคลื่อนผ่านนโยบายสำคัญ 15 เรื่อง เช่น นโยบายเกษตรแปลงใหญ่ มีผลการดำเนินการต่อเนื่องจนถึงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2561 รวม 3,880 แปลง พื้นที่ 3.72 ล้านไร่ เกษตรกรทำแปลงใหญ่ รวม 277,127 ราย ผลผลิตสินค้า 74 ชนิด เกษตรกรสร้างมูลค่าผลผลิตได้ รวม 6,075 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้วมากกว่า 90 แปลง วงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานเกษตรแปลงใหญ่ให้มีจำนวนแปลงเพิ่มขึ้นอีก 20 % นอกจากนี้ยังมีโครงการศูนย์การเรียนรู้พัฒนาการเกษตร (ศพก.) เกษตรทฤษฎีใหม่ การบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น ซึ่งผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ปี 2560 ครัวเรือนภาคการเกษตรมีรายได้ทางการเกษตร 160,932 บาท/ครัวเรือน และรายได้นอกการเกษตร 148,346 บาท/ครัวเรือน รวมรายได้ครัวเรือนภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นทั้งหมด 309,278 บาท/ครัวเรือน

แต่อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรยังมีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างต่อเนื่อง อาทิ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด ต้นทุนการผลิตสูง ประสบภัยแล้ง น้ำท่วม เป็นต้น มีสาเหตุมาจากเกษตรกรไทยยังขาดปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) ขาดความรู้ 2) ขาดเงินทุน และ 3) ไม่มีตลาดรองรับ จึงกำหนดนโยบาย "ตลาดนำการผลิต " ซึ่งจะเป็นแนวทางให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการของตลาด โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย บูรณาการการทำงานร่วมกัน ซึ่งตัวอย่างจังหวัดที่นำนโยบายนี้ไปปฏิบัติและสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี ได้จัดพิธีลงนาม MOU ตามพันธะสัญญานำร่อง "การตลาดนำการผลิต" ระหว่างโรงพยาบาลกับวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ ในการจัดซื้อรายการอาหาร ประเภท ข้าวสาร พืชผัก และผลไม้ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสหกรณ์การเกษตร หรือการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (SMEs) เพื่อหาตลาดและสร้างอำนาจการต่อรองด้านราคาให้กับเกษตรกร ขณะนี้เชื่อมโยงสหกรณ์ 518 แห่ง กับภาคเอกชน 109 แห่ง และมีสหกรณ์ 55 แห่ง ส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศ รวม 28 ประเทศ ทำให้เกิดการซื้อขายผลผลิตเกษตร รวม 818,873 ตัน มูลค่า 17,009 ล้านบาท

ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ อาทิ ยางพารา กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ตั้งคณะกรรมการยางพาราควบคุมการผลิตราคายางพารา พร้อมเรียก 4 ประเทศผู้ผลิตยางหารือแนวทางใหม่เพื่อลดการกรีดยาง สำหรับมาตรการหยุดกรีดยาง ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ กำลังหาแนวทางที่ชัดเจน รวมถึงเรื่องงบประมาณที่จะใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพใหม่ ระหว่างชะลอการกรีดยางหรือหยุดกรีดยาง ขณะที่การส่งเสริมการใช้ยางในประเทศ ปัจจุบันมีหลายจังหวัดเริ่มดำเนินการใช้ยางทำถนนแล้ว เช่น จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดสงขลา เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา