กรมวิทย์ฯพัฒนาการตรวจวิเคราะห์การปนปลอมยาแผนปัจจุบันในอาหารเสริมทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง

พุธ ๐๙ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๓๖
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาศักยภาพการตรวจวิเคราะห์การปนปลอมของยาแผนปัจจุบันในอาหารให้ครอบคลุมชนิดของสารที่มีการนำมาใช้ ปัจจุบันได้ทำการตรวจวิเคราะห์ยาในกลุ่มที่จับตามองพิเศษ (priority watch list) 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ กลุ่มยาลดความอ้วน กลุ่มยาระบาย กลุ่มยาสเตียรอยด์ และกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งปรับขั้นตอนการดำเนินงานและระยะเวลาการตรวจ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า อาหารที่มีการนำยาแผนปัจจุบันมาผสม จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ และเป็นสิ่งผิดกฎหมาย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมกันเฝ้าระวัง การปนปลอมยาแผนปัจจุบันในอาหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2560 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์อาหาร โดยแบ่งเป็น กาแฟสำเร็จรูปชนิดผง พบการปนปลอมของยาแผนปัจจุบันในอาหารเสริม ได้แก่ ไซบูทรามีนในกลุ่มยาลดความอ้วน ร้อยละ 3 ซิลเดนาฟิลในกลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ร้อยละ 30 และตรวจพบเดกซาเมธาโซน ในกลุ่มยาสเตียรอยด์ ร้อยละ 8 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบว่ามีการปนปลอมกลุ่มยาลดความอ้วน ร้อยละ 24 ซึ่งส่วนใหญ่ ตรวจพบไซบูทรามีน ออลิสแตท และยาผสมทั้งสองชนิดร่วมกัน และพบกลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ร้อยละ 29 ส่วนใหญ่พบการปนปลอมซิลเดนาฟิล และเครื่องดื่ม ตรวจพบไซบูทรามีนในกลุ่มยาลดความอ้วน ร้อยละ 3

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการพัฒนาขยายศักยภาพการตรวจให้ครอบคลุมชนิดสารที่นำมาใช้และปัจจุบันได้ตรวจวิเคราะห์ยาในกลุ่มที่จับตามองพิเศษ (priority watch list) ทั้งสิ้น 5 กลุ่ม 16 ชนิด ได้แก่ กลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ซิลเดนาฟิล, ทาดาลาฟิล และวาร์เดนาฟิล) กลุ่มยาลดความอ้วน (เอฟีดรีน, ซูโดเอฟีดีน, ออลิสแตท, เฟนฟลูรามีน, เฟนเทอร์มีน, ฟูออกซิทีน และไซบูทรามีน) กลุ่มยาระบาย (ฟีนอล์ฟทาลีน)กลุ่มยาสเตียรอยด์ (เดกซาเมธาโซน และเพรดนิโซโลน) และกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (อัลปราโซแลม, ไดอะซีแพม และลอราซีแพม) และปรับการดำเนินงานตรวจวิเคราะห์ยาแผนปัจจุบันปนปลอมในอาหารกรณีเร่งด่วน 1 ตัวอย่าง 1 รายการวิเคราะห์ สามารถรายงานผลภายใน 24 ชั่วโมง หรือ 1 วันทำการหลังจากรับตัวอย่างเข้าห้องปฏิบัติการ ในกรณีที่ตรวจไม่พบสารปนปลอม แต่หากตรวจพบจะต้องตรวจวิเคราะห์ยืนยันด้วยวิธี และเครื่องมือขั้นสูง สามารถรายงานผลได้ใน 2 วันทำการ ส่วนกรณีปกติ กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ

"ในการเฝ้าระวัง พบว่า อาหารเสริมมีการปนปลอมยาแผนปัจจุบัน ดังนั้นหากผู้บริโภคประสงค์จะใช้ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม ไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณา ควรใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ เลือกผลิตภัณฑ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงของยาที่ปนปลอม แต่หากมีอาการผิดปกติหลังการรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ให้หยุดรับประทาน รีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป" นายแพทย์สุขุมกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ