ธรรมศาสตร์ จัดงาน “วันปรีดี พนมยงค์” ประจำปี 2561 สานต่อปณิธานความเสมอภาคและประชาธิปไตย

ศุกร์ ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๒๖
- ธรรมศาสตร์ เปิดพื้นที่สาธารณะ เสวนา "อภิวัฒน์สยาม 2562 ความคาดหวังและอนาคตประเทศไทย"ดึงนักการเมืองรุ่นใหม่ถกทางออกของชาติ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงาน 'วันปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2561' เพื่อรำลึกถึงคุณูปการ เชิดชูเกียรติคุณและสานต่อปณิธานของ "ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์" ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้กับประเทศชาติ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน อาทิ การเสวนา เรื่อง "อภิวัฒน์สยาม 2562 ความหวังและอนาคตประเทศไทย" โดยกลุ่มนักการเมืองรุ่นใหม่ นางสาวขัตติยา สวัสดิผล จากพรรคเพื่อไทย ดร.รัชดา ธนาดิเรก จากพรรคประชาธิปัตย์ นายวราวุธ ศิลปอาชา จากพรรคชาติไทยพัฒนา และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากพรรคอนาคตใหม่ นอกจากนี้ภายในงานยังมีพิธีสักการะอนุสาวรีย์ ศ.ดร.ปรีดี ด้วยพานพุ่มจากอุปกรณ์การศึกษา พิธีมอบโล่ "ปรีดี พนมยงค์" แก่นักศึกษาดีเด่น และพิธีมอบรางวัลทุนการศึกษา "ทุนปาล พนมยงค์" พร้อมทั้งการขับร้องเพลงประสานเสียงโดยชุมนุมขับร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ บริเวณลานปรีดี หน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานสื่อสารองค์กร มธ. หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.tu.ac.th

รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2477 เดิมชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (มธก.) สถานการศึกษาที่ถูกจัดตั้งโดย "ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์" ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ณ ขณะนั้น โดยให้การศึกษาในวิชากฎหมายเป็นหลัก เพื่อสร้างให้กฎหมายเป็นดั่งกรอบค้ำจุนสังคมทดแทนการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ และขยายฐานประชาธิปไตยให้กับประชาชน ตามแนวทางในการพัฒนาประเทศ ของ ศ.ดร.ปรีดี ที่ต้องการให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค โดยในวันที่ 11 พฤษภาคม ของทุกปี มธ. จะจัดงานวันปรีดี พนมยงค์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการอย่างอเนกอนันต์ที่ ศ.ดร.ปรีดี มีต่อประเทศชาติและมธ. อาทิ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3 สมัย การดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของประเทศและผู้ก่อตั้ง มธ. รวมถึงเป็นการสืบสานเจตนารมณ์ที่ ศ.ดร.ปรีดี ต้องการให้ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย มีสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค

รองศาสตราจารย์เกศินี กล่าวต่อว่า เพื่อสืบสานปณิธานอันตั้งมั่นของ ศ.ดร.ปรีดี มธ. จึงยืนหยัดดำเนินการเพื่อเป็นสถานศึกษาที่มีปรัชญาเป็น "มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน" ที่เปิดกว้างด้านความคิดและให้เสรีภาพกับนักศึกษาและประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ จึงจัดงาน "วันปรีดี พนมยงค์" ประจำปี 2561 เพื่อรำลึกถึงคุณูปการ เชิดชูเกียรติคุณและสานต่อปณิธานของ "ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์" ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเสวนา เรื่อง "อภิวัฒน์สยาม 2562 ความหวังและอนาคตประเทศไทย" โดยกลุ่มนักการเมืองรุ่นใหม่ นางสาวขัตติยา สวัสดิผล จากพรรคเพื่อไทย ดร.รัชดา ธนาดิเรก จากพรรคประชาธิปัตย์ นายวราวุธ ศิลปอาชา จากพรรคชาติไทยพัฒนา และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากพรรคอนาคตใหม่ นอกจากนี้ภายในงานยังมีพิธีสักการะอนุสาวรีย์ ศ.ดร.ปรีดี ด้วยพานพุ่มจากอุปกรณ์การศึกษา อาทิ หนังสือและอุปกรณ์การกีฬา จากฝีมือหน่วยงานและคณะทั้งภายในและภายนอก มธ. พิธีมอบโล่ "ปรีดี พนมยงค์" แก่นักศึกษาดีเด่น และพิธีมอบรางวัลทุนการศึกษา "ทุนปาล พนมยงค์" พร้อมทั้งการขับร้องเพลงประสานเสียงโดยชุมนุมขับร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงาน วันปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2561 เมื่อเร็วๆ นี้ ณ บริเวณลานปรีดี หน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานสื่อสารองค์กร มธ. หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.tu.ac.th

- ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"ศาสตราจารย์ดร.ปรีดี พนมยงค์" หรือ "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม" เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2443

ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มเข้าศึกษาเรียนหนังสือที่บ้านครูแสง ต.ท่าวาสุกรี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อ.กรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นเตรียมมัธยมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรแล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย)จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2460 ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา ต่อมาสอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ในขณะมีอายุ 19 ปี แต่ตามข้อบังคับสมัยนั้นยังเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้เพราะอายุยังไม่ครบ20 ปีบริบูรณ์ ต้องรอจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2463 โดยเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง จนสอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมายและได้ปริญญารัฐเป็น "ลิซองซิเอ" กฎหมาย ตามลำดับ

ศ.ดร.ปรีดีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ.2469 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมดีมาก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาเอกแห่งรัฐเป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย"ฝ่ายนิติศาสตร์นอกจากนี้ยังสามสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ยังมีชีวิตอยู่ได้อุทิศตนทำงานเพื่อประเทศชาติมาโดยตลอด โดยเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในวาระต่างๆ อาทิผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการคลัง เป็นต้น ทั้งนี้ ศ.ดร.ปรีดี ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ขณะลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศส หลังถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต

รายชื่อผู้ที่ได้รับทุนการศึกษา "ทุนปาล พนมยงค์" จากการประกวดบทความในหัวข้อเรื่อง "ปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างไรเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาคนและสังคม"

ทุนการศึกษาจำนวนเงิน 7,000 บาท มีผู้ได้รับรางวัลจำนวน 2 ราย ได้แก่

- นางสาวจันทิมา นาคอ่อน คณะนิติศาสตร์

- นายทัชภูมิ ทุมสวัสดิ์ คณะศิลปศาสตร์

ทุนการศึกษาจำนวนเงิน 4,000 บาท มีผู้ได้รับรางวัลจำนวน 1 ราย ได้แก่

- นายธนวุฒิ ศรีสวัสดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยาวิทยา

ทุนการศึกษาจำนวนเงิน 2,000 บาท มีผู้ได้รับรางวัลจำนวน 1 ราย ได้แก่

- นายศิริชัย แสวงทรัพย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

รายชื่อนักศึกษาดีเด่นผู้ที่ได้รับโล่ "ปรีดี พนมยงค์"

- นายภาณุวัฒน์ แสนยมาตย์ คณะรัฐศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ