“ดอยตุง” มุ่ง “หัตถอุตสาหกรรม” เพิ่มมูลค่า ส่ง “ช่าง” เรียนรู้ผลิตเซรามิกครบวงจรครั้งแรกที่ “คาซามะ”

จันทร์ ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๕
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งปัจจุบันเป็นต้นแบบการพัฒนาทางเลือกในการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน โดยทางโครงการฯ ได้สร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือการออกแบบและผลิตเซรามิก เพื่อลดการปลูกพืช เสพติดพร้อมแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน และได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ เทศบาลเมืองคาซามะ จ.อิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น ส่งช่างเซรามิกฝีมือดีของมูลนิธิฯ "อิ๋ว" ทิพวรรณ ดวงดอกมูน เรียนรู้การผลิตเซรามิกแบบครบวงจรครั้งแรก เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาปรับประยุกต์ใช้ในงานเซรามิกของมูลนิธิฯ ในแบบหัตถอุตสาหกรรม ช่วยเพิ่มทั้งคุณค่าและมูลค่าเซรามิก "ดอยตุง" สู่ระดับสากล

เป็นระยะเวลากว่า ๔ ปี ที่การพัฒนาเซรามิกตาม MOU ระหว่างเมืองคาซามะ แหล่งผลิตงานเซรามิกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อผลิตงานเซรามิกที่ดีที่สุดในโลก ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยคุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ริเริ่มไว้เมื่อปี ๒๕๕๘ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อไปดูงาน ณ เมืองคาซามะ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเซรามิกจากเมืองคาซามะเดินทางมาสอนการทำเซรามิก ณ ศูนย์ผลิตและจัดจำหน่ายงานมือ ๕๒ ไร่ ในโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย และช่างเซรามิกดอยตุงนำผลงานเซรามิกที่ประยุกต์จากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ไปจัดแสดงที่เมืองคาซามะ เป็นต้น

กิจกรรมดังกล่าวสอดรับกับทิศทางการพัฒนางานเซรามิกดอยตุง ที่เน้นงานทำมือหรืองานคราฟต์ เพื่อสร้างทั้งคุณค่าและมูลค่าตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ผ่านมา

จักรายุธ์ คงอุไร นักออกแบบผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ หนึ่งในผู้ดูแลงานเซรามิก ดอยตุง กล่าวว่า การผลิตเซรามิกของดอยตุงในช่วงที่ผ่านมา จะเป็นในลักษณะหัตถอุตสาหกรรม คือผสมผสานระหว่างการใช้เครื่องจักรอย่างเหมาะสมและงานฝีมือจากชาวบ้าน เพื่อให้คนในพื้นทีมีอาชีพมีรายได้ แต่ผู้บริหารของมูลนิธิฯ มองการณ์ไกล อยากให้งานเซรามิกดอยตุงเป็นงานทำมือชิ้นเดียวในโลก ซึ่งเป็นกระแสในการเลือกซื้องานเซรามิกในปัจจุบัน โดยเอกลักษณ์ดังกล่าวช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตัวงานสูงขึ้น ๒-๓ เท่า

"ทางมูลนิธิฯ จึงส่ง อิ๋ว ทิพวรรณ ช่างเซรามิกฝ่ายชุบเคลือบอายุน้อยที่สุดของมูลนิธิฯ และยังเป็นคนในพื้นที่ ไปเรียนรู้และฝึกทักษะการผลิตเซรามิกอย่างครบวงจรที่ Kasama College of Ceramic Art เมืองคาซามะ ตั้งแต่การออกแบบ เลือกและเตรียมดินปั้น การเคลือบ การใช้เทคนิคการเผา เป็นเวลา ๑ ปี ก่อนนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์สร้างช่างเซรามิกดอยตุงรุ่นใหม่ ที่สามารถผลิตผลงานเซรามิกได้ครบขั้นตอน ซึ่งจะได้งานเซรามิกที่ลึกซึ้งมากขึ้น ช่างเซรามิกก็สามารถพัฒนาฝีมือได้มากขึ้นเพราะสร้างสรรค์เองมากขึ้น ต่างจากเดิมช่างจะแยกทำงานเป็นส่วนๆ ตามความถนัด" จักรายุธ์ อธิบายเพิ่ม

ความตั้งใจบวกกับพรสวรรค์ ทำให้เวลาเพียง ๑ เดือน ที่เข้าไปเรียนรู้การผลิตเซรามิกที่ Kasama College of Ceramic Art ทำให้ทิพวรรณได้รับการยอมรับถึงฝีมือที่โดดเด่นจากอาจารย์ผู้สอน โดยองค์ความรู้จากการศึกษา ทิพวรรณจะนำกลับมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเซรามิกดอยตุงให้ก้าวสู่ระดับสากลได้ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024