สถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและแนวทางแก้ไข

จันทร์ ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๔๕
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ดีขึ้นมากนักแม้นการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ส่วนปัญหาความเหลื่อมล้ำของการถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่งยังคงรุนแรงขึ้นในไทย ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นมีมาก จำเป็นต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อลดอำนาจผูกขาดและเพิ่มการแข่งขัน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงปัจจัยการผลิต เพิ่มสวัสดิการ ลดการรั่วไหลและการทุจริตงบประมาณช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ปฏิรูปภาษีด้วยการเพิ่มภาษีทรัพย์สิน ดำเนินการผ่านกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างอยู่ใน สนช การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐต้องคำนึงถึงการกระจายโอกาสและการกระจายผลประโยชน์ไปยังประชาชนส่วนใหญ่ด้วย และ ควรศึกษาการเก็บภาษีลาภลอย

15.30 น. 13 พ.ค. 2561 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ดีขึ้นมากนักแม้นการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากงานวิจัยของ ศ. ดร. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์และคณะ พบว่า ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ดีขึ้นเล็กน้อยโดยวัดจากดัชนีจินี โดยค่าดัชนีจินีเท่ากับ 0.45 ในปี พ.ศ. 2558 (ข้อมูลล่าสุดที่มีการคำนวณ) จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 0.51 ในปี พ.ศ. 2549 (ดัชนีจีนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่าความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เข้าใกล้ 0 ความเหลื่อมล้ำลดลง ค่า 1 คือ ความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ค่า 0 คือไม่มีความเหลื่อมล้ำเลย) สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

การที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ตนเห็นว่าเป็นผลมาจากนโยบายและมาตรการต่างๆของหลายรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะนโยบาย "เอื้อคนจน" (Pro-poor policy) ไม่ว่า จะเป็นการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรทั้งมาตรการรับจำนำข้าว มาตรการประกันราคา การเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ บทบาทของกองทุนหมู่บ้าน นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สวัสดิการทางด้านการศึกษา หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นของผู้ประกันจากกองทุนประกันสังคม เงินอุดหนุนแม่และเด็ก เป็นต้น ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่งยังคงรุนแรงขึ้นในไทย ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นมีมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าของทุน กับ แรงงานรับจ้างทั่วไปและเกษตรกรรายย่อยปราศจากที่ดินทำกิน มหาเศรษฐี 100 อันดับแรกของไทยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยของประเทศทรัพย์สินและความมั่งคั่งไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยและหนี้สินต่อครัวเรือนลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประเทศไทยจึงติดอันดับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกเป็นอันดับสามรองมาจากอินเดียและรัสเซีย ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย สถาบันการเงินเครดิตสวิส ได้เคยออกรายงานความมั่งคั่งของโลก ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 3 ของโลกโดยคนรวย ที่มีสัดส่วน 1% ของประชากร ครอบครองความมั่งคั่งสูงถึง 58% ของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ข้อมูลของโครงสร้างเงินฝากในระบบสถาบันการเงินยังพบว่า คนรวย 0.1% หรือ 65,000 คน จากประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน มีเงินฝากเท่ากับ 49% ของเงินฝากทั้งระบบ กลุ่ม 10% แรกของประชากร เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79% ของประเทศ

มหาเศรษฐี 50 อันดับแรกของไทยมีสัดส่วนทรัพย์สินเทียบกับจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี พ.ศ. 2557 เป็น 30% ( มีทรัพย์สินทั้งหมด 4.32 ล้านล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2560 ภายใต้รัฐบาล คสช หมายความว่า มีคนเพียง 50 คนที่ถือครองทรัพย์สินมากกว่า หนึ่งในสี่ ของจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด

ตนเชื่อว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านความมั่งคั่งและทรัพย์สินนี้น่าจะรุนแรงกว่าตัวเลขที่ปรากฎเผยแพร่เนื่องจากเราไม่สามารถสำรวจข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลการถือครองทรัพย์สินของกลุ่มประชากรที่มีรายได้และถือครองทรัพย์สินสูงสุด 5-10% ได้อย่างครบถ้วน ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์นี้จะนำมาสู่ความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในอนาคต

ดร. อนุสรณ์ กล่าวว่า ความรุนแรงของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนี้เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน แม้นเป็นเรื่องที่แก้ไขยากและต้องใช้เวลา สภาวะความเหลื่อมล้ำอย่างมากได้ทำลายศักยภาพของประเทศและคนไทยส่วนใหญ่ ทำให้ขาดโอกาส ขาดสิทธิ ขาดรายได้และไร้ซึ่งทรัพย์สินและการเข้าถึงปัจจัยการผลิต ทำให้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอลง ตกอยู่ในวังวนของ ธนาธิปไตย และ ระบอบรัฐประหาร รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้ปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจโดยเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้ด้อยโอกาสและคนยากจน ปัญหาความ

เหลื่อมล้ำจะลดลงภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยและหลักการกระจายอำนาจ ความอยุติธรรมหรือการถูกเลือกปฏิบัติจากโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำย่ำแย่ลง ต้องใช้วิธีลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เพิ่มโอกาส เพิ่มสิทธิให้ประชนชน

ดร. อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า จำเป็นต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อลดอำนาจผูกขาดและเพิ่มการแข่งขัน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงปัจจัยการผลิต เพิ่มสวัสดิการ ลดการรั่วไหลและการทุจริตงบประมาณช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ปฏิรูปภาษีด้วยการเพิ่มภาษีทรัพย์สิน ดำเนินการผ่านกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐต้องคำนึงถึงการกระจายโอกาสและการกระจายผลประโยชน์ไปยังประชาชนส่วนใหญ่ด้วย และ ควรศึกษาการเก็บภาษีลาภลอยเพื่อนำผลประโยชน์ส่วนเกินที่ได้จากการลงทุนจากงบประมาณของรัฐไปพัฒนาพื้นที่อื่นๆของประเทศด้วย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ลง

ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่า รัฐบาล คสช เอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คือ การผลักดันให้มีการผ่านกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาบังคับใช้ซึ่งขณะนี้ค้างอยู่ที่ สนช เนื่องจากมีการเสนอแก้ไขเนื้อหาสาระในหลายมาตราโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการขอยกเว้นภาษีและอัตราภาษี การแก้ไขเหล่านี้ไม่ควรทำให้หลักการสำคัญของภาษีที่ดินเสียหายไปโดยเฉพาะการเพิ่มความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ลดการทุจริตคอร์รัปชัน คาดว่า รัฐบาลจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาษีที่ดินไม่ต่ำกว่า 35,000-45,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและจัดสวัสดิการให้กับผู้มีรายได้น้อยได้ มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยบ่งชี้ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา "การตะครุบที่ดิน (land grabbing) โดยทุนขนาดใหญ่ต่างชาติโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหลาย อัตราภาษีทรัพย์สินที่ต่ำเกินไปหรือไม่มีการจัดเก็บพร้อมทั้งระบบข้อมูลการถือครองที่ดินที่ไม่ชัดเจนจะทำให้ปัญหาการตะครุบที่ดินรุนแรงมากขึ้นในอนาคต แม้นที่ดินจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศได้ แต่การเป็นเจ้าของที่ดินอาจส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรที่ดินที่รัฐอาจมีปัญหาในการควบคุมการใช้ได้ ปัญหาการตะครุบที่ดินเกิดขึ้นในหลายประเทศในละตินอเมริกาและแอฟริกา และ สร้างความไม่สมดุลและเพิ่มความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงในประเทศเหล่านี้ จึงควรมีการศึกษาระบบและกลไกที่ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตะครุบที่ดิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้