รัฐฟันเอาผิดเรือประมง 2 ลำในพท. จ.ภูเก็ต หลังมีข้อมูลจับฉลามวาฬขึ้นเรือจริง

จันทร์ ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๐:๔๕
อธิบดีกรมประมง ลงพื้นที่จ.ภูเก็ต หลังได้รับรายงานพบเรือประมงแสงสมุทร 2 และ 3 ร่วมจับฉลามวาฬสัตว์ต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ยันเดินหน้าเอาผิดตาม พ.ร.ก.ประมง' 58 ชี้โทษปรับ-ริบเรือ-ถอนใบอนุญาตทำประมง

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวทางสื่อออนไลน์ว่ามีการจับปลาฉลามวาฬขึ้นเรือประมงจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจากการเดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ ที่ท่าเทียบเรือประมงแพแสงอรุณภูเก็ตด้วยตนเอง โดยเบื้องต้นจากการตรวจสอบและรายงานจากเจ้าหน้าที่กรมประมงในพื้นที่ พบว่า 1.เรือประมงดังกล่าวทำการประมงประเภทอวนลาก ชื่อเรือแสงสมุทร 3 ทะเบียนเรือ 228304242 เลขที่ใบอนุญาตทำการประมง 618301010283 เจ้าของเรือ คือนายวัชรพล วรรณะ มีนายสมสมัย มีจอม เป็นผู้ควบคุมเรือ 2.เจ้าหน้าที่สหวิชาชีพได้ตรวจเรือที่แจ้งเข้าท่าเวลา 22.00 น ของวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา พบหลักฐานจากการชี้แจงของผู้ควบคุมเรือยอมรับว่าภาพทางสื่อออนไลน์เป็นเรือดังกล่าวจริง โดยได้ร่วมกับ เรือประมง แสงสมุทร 2 ที่มีนายรัตนา พรหมงาม เป็นผู้ควบคุมเรือทำการประมงลากคู่จับสัตว์น้ำในทะเลอันดามัน เจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าว จึงได้รวบหลักฐานแจ้งลงบันทึกประจำวัน และร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสืบสวน สภ.เมืองภูเก็ต เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 66 พ.ร.ก.การประมง.พ.ศ.2558 ประกอบประกาศกระทรวงเกษตรฯ เรื่องกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์น้ำที่หายากหรือใกล้สูญพันธ์ที่ห้ามจับหรือนำขึ้นเรือประมง พ.ศ.2559 ข้อ 2 (4) ปลาฉลามวาฬ เพื่อดำเนินคดีกับนายสมสมัย มีจอม และนายรัตนา พรหมงาม และผู้กระทำผิด จนกว่าคดีจะถึงที่สุด 3. ได้สั่งดำเนินการกักเรือ ยึดสัตว์น้ำและเครื่องมือ โดยกรมประมงได้ประสานไปยังกรมเจ้าท่าเพื่อดำเนินการล๊อคเรือ ตามคำสั่ง คสช.22/2560 ข้อ 22 ที่ระบุว่ากรณีมีหลักฐานอันเชื่อได้ว่าเรือประมงลำใดเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ให้พนักเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งพบการกระทำความผิดสั่งกักเรือไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และแจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบภายใน 24 ชั่วโมงนับจากออกคำสั่งกักเรือ และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ขณะเดียวกัน หากเรือลำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามกฎหมายว่าด้วยการประมงให้ศาลสั่งริบเรือทันที

สำหรับบทลงโทษผู้กระทำผิดตาม พ.ร.ก.ประมง 2558 ตามมาตรา 66 คือ ปรับสามแสนถึงสามล้านบาท หรือปรับมูลค่า 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับหรือนำขึ้นเรือประมงแล้วแต่ว่าจำนวนใดจะสูงกว่ากัน ขณะเดียวกัน เรือดังกล่าวต้องถูกพิจารณาถอนใบอนุญาตการทำประมงตามมาตรา 39 และไม่สามารถขอใบอนุญาตการทำประมงได้อีก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งรวบรวมข้อมูล หลักฐานเพื่อดำเนินการเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายโดยเร็วต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest