วธ.รุกป้องกันเด็กเล่นพนันฟุตบอลออนไลน์ กำชับวัฒนธรรมจังหวัดเฝ้าระวังร้านเกมทั่วประเทศกวดขันดูแลใกล้ชิด ประสานสถานศึกษาร่วมรณรงค์ต่อต้าน พร้อมคลอด 4 มาตรการสร้างความตระหนักแก่สังคม

พุธ ๐๖ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๔:๔๓
นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในการประชุมผ่านระบบ VDO Conference ไปยังวัฒนธรรมจังหวัด ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า เนื่องจากใกล้จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายนนี้ จึงขอความร่วมมือสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ โดยเฉพาะเข้มงวดกวดขันดูแลร้านเกมพื้นที่ที่ดูแลให้ใบอนุญาต มีหนังสือแจ้งเตือนห้ามมิให้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์โดยเด็ดขาด หากใครฝ่าฝืนลงโทษตามกฎหมาย โดยมอบให้ทางสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมจัดทำเป็นยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติการแจ้งไปยังแต่ละจังหวัดใช้เป็นกรอบแนวทางร่วมกันอีกครั้ง

"ที่สำคัญขอให้ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเริ่มเข้าไปประสานกับสถานศึกษาเพื่อรณรงค์จับมือกับชมรม กลุ่มเยาวชนต่างๆ จัดกิจกรรมต่อต้านการพนันฟุตบอลออนไลน์ ให้เด็กตระหนักรับรู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี ส่วนผู้ใหญ่ในสังคมไม่ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้น ถ้าหากเด็กและเยาวชนติดการพนันสังคมจะดีได้อย่างไร และขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจ คณะสงฆ์ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ วิทยุชุมชน โทรทัศน์ท้องถิ่น สื่อท้องถิ่นว่าเป็นสิ่งไม่เหมาะสม อยากให้เด็กและเยาวชนชมการแข่งขันฟุตบอลเป็นกีฬาและนำความรู้ไปส่งเสริมพัฒนาวงการฟุตบอลมากกว่า โดยทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด มีผู้ว่าฯหรือรองผู้ว่าฯ เป็นประธาน ร่วมวางแนวทางการทำงาน"

ทั้งนี้ ได้รับรายงานจากสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมว่า ขณะนี้ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันกับหลายหน่วยงานในการป้องกันเด็กและเยาวชนจากการพนันฟุตบอลออนไลน์ใน 4 มิติ ประกอบด้วย

1.การสื่อสารและสร้างความตระหนักให้แก่สังคม ขอให้ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดใช้ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ของจังหวัดเป็นศูนย์กลางแจ้งแนวทางการดำเนินงานต่างๆให้สังคมรับรู้ ทั้งมาตรการป้องกันและรับแจ้งเบาะแส ประสานงาน จัดกิจกรรมร่วมกับเด็กเยาวชนเพื่อให้เกิดกระแสต่อต้านการเล่นพนันฟุตบอลออนไลน์

2.มิติการป้องกัน แจ้งเตือนสถานประกอบการเข้มงวดดูแล และเชิญทุกหน่วยงานในจังหวัดมาหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางป้องกันให้เกิดเป็นรูปธรรมตามแต่บริบทสังคมนั้นๆ

3.มิติการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขอให้มีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างใกล้ชิด ภายใต้คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะมีองค์ประกอบของหน่วยงานที่เฝ้าระวังร่วมกำหนดมาตรการบังคับกฎหมาย

4.มิติการเยียวยาช่วยเหลือ ทางศูนย์ฯ ได้จัดทำอินโฟกราฟฟิกขึ้นมาแสดงให้เห็นวิธีการแจ้งหากพบหรือเหตุที่มีการพนันออนไลน์ รับเรื่อง ประสานส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น