อพวช. จับมือ อธส. ร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ สู่เยาวชนและประชาชน เพื่อความยั่งยืนทางธรรมชาติของจังหวัดสตูล

พฤหัส ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๐๘:๓๓
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จับมือ อุทยานธรณีสตูล (อธส.) ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และจัดการแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นตื่นตัวและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติสู่ความยั่งยืน

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า อุทยานธรณีสตูล (Satun UNESCO Global Geopark) คือหนึ่งในพันธมิตรที่ อพวช. ได้ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งร่วมกันสำรวจ ศึกษาวิจัย พัฒนากิจกรรมการจัดการแหล่งเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อม โดยได้วางแนวทางความร่วมมือไว้ว่าจะสำรวจ ศึกษาวิจัย และแลกเปลี่ยนวัสดุอุเทศ ข้อมูลทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพและวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านศึกษาวิจัย การจัดแหล่งเรียนรู้ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านอนุกรมวิธาน (Taxonomy) และความหลากหลายทางชีวภาพ และจะร่วมมือพัฒนาและจัดการแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันรักษาและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างยั่งยืน

ด้านนายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีสตูล กล่าวว่า อุทยานธรณีสตูล เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญและโดดเด่นทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา และวัฒนธรรม ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่และชายหาดที่สวยงามธรรมชาติอันบริสุทธิ์ มีเรื่องราวที่เชื่อมโยงคุณค่าของผืนแผ่นดินกับวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ เป็นบันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่า เกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้น ต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นเทือกเขาและถ้ำ ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งจากความร่วมมือกับทาง อพวช. ในครั้งนี้จะช่วยให้เกิดคุณประโยชน์กับท้องถิ่นหลายด้าน ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยาที่สร้างสรรค์ต่อเยาวชนและประชนชนในพื้นที่ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในด้านการท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมของจังหวัดสตูลได้ในอนาคตสืบไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา