“จากแสงแดด สู่แสงไฟ ที่ตอบโจทย์ Human-Centric Lighting”

พฤหัส ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๓:๑๓
ธรรมชาติที่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุดอย่าง "แสงแดด" มีอิทธิพลอย่างยิ่งกับนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ แสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าหรือที่เรียกว่าแสงสีน้ำเงิน (blue sunlight) มีหน้าที่ในการปิดกั้นการผลิตฮอร์โมนเพื่อการนอนหลับหรือเมลาโทนิน และกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนความเครียดซึ่งทำให้มนุษย์มีความตื่นตัวในช่วงเช้า สามารถจดจ่อกับการทำงาน และในช่วงระหว่างวัน แสงก็จะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นโทนที่อบอุ่นมากขึ้น ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่เริ่มสงบและจะสงบมากขึ้นในช่วงเย็นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาของการพักผ่อน

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับแสงแดดซึ่งเป็นตัวควบคุมการทำงานของนาฬิกาชีวิต ระบบสรีระวิทยา และฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา เช่น ปัญหาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หรือแม้กระทั่งภาวะซึมเศร้า ดังนั้นการนำแนวคิดเรื่องแสงสว่างที่มุ่งเน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง หรือ Human-Centric Lighting (HCL) มาผนวกเข้ากับโซลูชั่นระบบแสงสว่าง จะเป็นตัวช่วยให้กระบวนการทางชีวภาพสามารถทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการออกแบบแสงไฟเลียนแบบแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆของวัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์

ขณะเดียวกัน การออกแบบแสงไฟตามแนวคิด HCL ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆด้วย อาทิ ระดับความเข้มของแสง และทิศทางการส่องสว่าง เพื่อให้ระบบแสงสว่างที่ติดตั้งไว้นั้นส่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งตามธรรมชาตินั้นระดับความเข้มของการส่องสว่างจะมีตั้งแต่ 3,000 ลักซ์ (วันช่วงที่ไม่มีแดดในฤดูหนาว) ถึง 100,000 ลักซ์ (วันที่แดดจ้า) นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงทิศทางของแสง ตัวอย่างเช่น เมื่อเปรียบแสงธรรมชาติที่ให้ความสว่างเพียงพอสำหรับการมองเห็น ดังนั้นในส่วนเพดานของห้องจึงควรติดตั้งไฟที่ให้แสงส่องกระจายบนพื้นผิวแบบกว้างเพราะแสงจะส่องกระทบกับครึ่งล่างของม่านตาซึ่งเป็นส่วนที่มีเซลล์ที่ไวต่อแสง ปัจจัยทั้งสามประการดังกล่าว ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิสีของ ความเข้มของแสงและทิศทางการส่องสว่าง จึงเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการออกแบบแสงไฟเพื่อให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ นั่นคือต้องเลียนแบบแสงธรรมชาติให้ใกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

แสงสว่างเพิ่มประสิทธิภาพของคนทำงานได้อย่างไร

ปัจจุบันผู้คนเริ่มนำแนวคิด HCL มาประยุกต์ใช้ในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้านพักส่วนตัว สำนักงาน และสถานบริการด้านสาธารณสุข เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เห็นได้ชัดถึงผลกระทบเชิงบวกของความสัมพันธ์ระหว่างแสงไฟและสุขภาพ และประเด็นที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือความคุ้มค่าในการลงทุนของการนำแนวคิด HCL มาใช้ ยกตัวอย่างเช่น การจัดแสงไฟในสำนักงานที่จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น พนักงานรู้สึกกระตือรือร้นที่จะทำงาน มีสุขภาพที่ดีขึ้น และนำไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้

ในสถานบริการด้านสาธารณสุข ผลลัพธ์จากการจัดระบบแสงสว่างที่เหมาะสมกับมนุษย์จะช่วยให้บุคลากรมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ล้มป่วยบ่อย และยังส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้ป่วยซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาในการรักษาสั้นลง พร้อมทั้งเพิ่มภาพลักษณ์ของสถานพยาบาลโดยรวม

สำหรับสถานที่อื่นๆ อาทิ ร้านค้าปลีก การติดตั้งระบบแสงสว่างที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยปลุกเร้าความอยากรู้อยากเห็นให้ผู้คนอยากเดินเข้ามาในร้าน การตกแต่งภายในของร้านด้วยแสงสว่างที่น่าดึงดูดมากขึ้นจะช่วยเพิ่มระยะเวลาในการอยู่ในร้านเพื่อชมสินค้าและกระตุ้นความอยากซื้อสินค้าได้อีกด้วย

การจัดแสงสว่างในภาคอุตสาหกรรมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การจัดแสงที่เหมาะสมจะส่งผลเป็นอย่างมากสำหรับพนักงานในกะกลางคืนซึ่งไม่มีแสงแดดธรรมชาติ ดังนั้นการจัดแสงสว่างเลียนแบบแสงในตอนเช้าหรือระหว่างวันจะช่วยเพิ่มความตื่นตัวของพนักงานให้มีสมาธิในการทำงานมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า นวัตกรรมไฟฟ้าแสงสว่างในปัจจุบันไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสว่าง ความสวยงาม และความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังมีการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลอดไฟที่ให้แสงสว่างที่ใกล้เคียงกับแสงแดดธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งมีการศึกษาวิจัยแล้วว่าแสงส่งผลต่อชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ตื่นจนหลับ แสงคือ นาฬิกาของชีวิต และแสงสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของมนุษย์ได้ไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม

ผู้ผลิตเทคโนโลยีด้านไฟฟ้าแสงสว่างกำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าที่เป็น Human-Centric Lighting อย่างแท้จริง โดยในปลายปีนี้ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2561 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร่วมกับเมสเซ่ แฟรงค์เฟิร์ต ผู้จัดงานแสดงสินค้าชื่อดังระดับโลกจากเยอรมนี กำหนดจัดงาน ไทยแลนด์ ไลท์ติ้ง แฟร์ 2018 ขึ้น ณ ไบเทค บางนา โดยจะเป็นเวทีรวบรวมผลิตภัณฑ์โซลูชั่นแสงสว่างเพื่อมนุษย์หรือ Human-Centric Lighting จากแบรนด์ผู้ผลิตชั้นนำจากนานาประเทศ มาค้นหาคำตอบด้วยตัวคุณเองว่า แสงสว่างจากหลอดไฟหรือ แสงเทียมจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ได้เทียบเท่ากับแสงธรรมชาติได้อย่างไร แล้วพบกันที่งาน ไทยแลนด์ ไลท์ติ้ง แฟร์ 2018 งานแสดงสินค้าระดับโลก ชูนวัตกรรมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งอนาคต ภายใต้แนวคิด The future of light: smart, sustainable, human centric ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.thailandlightingfair.com หรือติดต่อ บริษัท ดิ เอ็กซ์ซิบิส จำกัด โทรศัพท์: 02 664 6499 ต่อ 200 และ 212 โทรสาร: 02-664-6477 อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?