รฟท.จับมือไต้หวันหาแนวทางพลิกโฉมหัวลำโพงสู่พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย ผ่านงานอภิปราย“Renaissance in Siam I The Future of Hua Lamphong Railway Station”

พุธ ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๔๐
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และมูลนิธิรถไฟไทยร่วมจัดกิจกรรม ถกผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันหาแนวทางในการพลิกโฉมสถานีรถไฟหัวลำโพงสู่การเป็น "พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย" ในอนาคต ล่าสุดร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) VISION THAI สื่อภาษาจีนเกี่ยวกับประเทศไทย จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมทางรถไฟ"Renaissance in Siam I: The Future of Hua Lamphong Railway Station" ร่วมวิเคราะห์โครงสร้างหัวลำโพงพร้อมแนะเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการรวมรวมสิ่งของเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ พร้อมยกตัวอย่างความสำเร็จของการอนุรักษณ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมของไต้หวันกว่า 50 ตัวอย่าง

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามโครงการสร้างเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชียซึ่งมีการลงมติอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา รวมถึงโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้ว ระบบขนส่งคมนาคมทางรถไฟของประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ในอนาคตสถานีรถไฟบางซื่อจะกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟแห่งใหม่ของประเทศไทย ส่วนสถานีหัวลำโพงซึ่งเป็นสถานีหลักในปัจจุบันจะถูกนำไปพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟ โดยล่าสุดจึงได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่รอบเส้นทางรถไฟของสถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ถึงร้อยปีจะสามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรโดยการหารือได้จัดจัดกิจกรรมเยี่ยมชมพื้นที่ทางวัฒนธรรมของการรถไฟไทย (Site Visit of Thailand Railway Cultural Venue)โดยผู้เชี่ยวชาญจากการรถไฟแห่งประเทศไทยนำคณะนักวิชาการจากไต้หวันและผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมห้องแสดงนิทรรศการวัฒนธรรมทางรถไฟภายในสถานีรถไฟหัวลำโพงรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือต่างๆ ในด้านการรถไฟ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังได้เข้าชมระบบการขนส่งทางรถไฟแบบใหม่ของสถานีรถไฟบางซื่อ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นสถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯ ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมอภิปรายแบ่งปันประสบการณ์และทัศนะในหัวข้อพิพิธภัณฑ์การรถไฟระหว่างไต้หวันกับประเทศไทย (Taiwan-Thailand Railway Museum Experiences Sharing Forum) ซึ่งได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้ร่วมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ก

นายสือ ป๋อ ซื่อ รองผู้แทนรัฐบาล สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยกล่าวว่ากรณีศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟของประเทศไทยกำลังจะย้ายจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังสถานีรถไฟบางซื่อซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ทำให้เกิดประเด็นอภิปรายต่างๆ ในด้านการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สถานีรถไฟ การนำทรัพยากรเดิมกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการขยายและปรับเปลี่ยนสู่พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟ ไต้หวันจึงขอนำประสบการณ์หลายสิบปีในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางรถไฟ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยนักวิชาการด้านทางรถไฟและการอนุรักษ์วัฒนธรรมของไต้หวัน ศาสตราจารย์หวงจวิ้นหมิงได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทเปและงานด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ศาสตราจารย์หงจื้อเหวินอภิปรายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยย่อของการรถไฟในไต้หวันและแผนแม่บทของพิพิธภัณฑ์กระทรวงการรถไฟที่เป่ย์เหมิน ศาสตราจารย์กัวสงอิ๋งได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับทางเดินใต้ดินของเส้นทางรถไฟในไทเป และอภิปรายการนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์และการวางโครงการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ในเส้นทางเลียบทางรถไฟ ดร. เฉิน กวน ฝู่ ผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย กล่าวถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมในไต้หวัน รวมถึงประวัติศาสตร์การพัฒนานโยบายด้านการนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งปันประสบการณ์จากกรณีศึกษาจริงในพื้นที่ต่างๆ กว่า 50 ตัวอย่างในการนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมกลับมาใช้ใหม่ ในลักษณะการสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นและพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้งในเมืองไทเป เมืองเกาสง เมืองไถหนาน เมืองฮวาเหลียน และเมืองอื่นๆ สุดท้าย ได้นำเสนอข้อเสนอแนะ 5 ประการแก่ประเทศไทย ได้แก่ การบูรณาการร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นในเขตเมืองเก่า และการจัดทำโครงการร่วมกับประชาชนในพื้นที่ในการรวบรวมสิ่งของสำหรับจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันเรื่องราวจากกลุ่มคนรักรถไฟของไทย ที่ได้เดินทางไปยังไต้หวันเพื่อศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการรถไฟของไต้หวัน ในการสร้างและพัฒนาเส้นทางรถไฟใหม่ของไต้หวันแต่ยังคงมีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางรถไฟ อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ หลังจากนี้อีกไม่นาน สถานีรถไฟความเร็วสูงของไต้หวันจะมีการสร้าง "ศูนย์การเรียนรู้รถไฟความเร็วสูงไต้หวัน" ซึ่งจะจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสัมผัสประสบการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง อาทิ ห้องจำลองการทำงานของพนักงานขับรถไฟ เป็นหนึ่งในกรณีตัวอย่างที่ประเทศไทยสามารถนำไปศึกษาและต่อยอดได้ในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4