นวัตกรรม “แผ่นอะคูสติกจากผักตบชวา” สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัชพืช ลดปัญหาเสียงก้องและสิ่งแวดล้อม

ศุกร์ ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๐๙:๕๗
นวัตกรรม "แผ่นอะคูสติกจากผักตบชวา" อันน่าภาคภูมิใจนี้ การันตีด้วยรางวัลต่าง ๆมากมาย เช่น รางวัลชนะเลิศความคิดสร้างสรรค์ , รางวัลPopular Vote จากการประชุมวิชาการโครงงานวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 24 และรางวัล 10 สุดยอดนวัตกรรม จากงาน KMITL Engineering Project Day 2018 เป็นไอเดียสุดคูลจาก 3 เมคเกอร์ นำโดย นายวัชร น้อยมาลา , นายพัชรพฤกษ์ ผาโพธิ์ และ นายพุทธิพงษ์ วงษ์บัณฑิต และมี ผศ.ดร.ประสันต์ ชุ่มใจหาญ ที่ปรึกษาโครงการ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวลาดกระบัง กล่าวว่า ในหลายประเทศต่างมีกฎหมายและข้อบังคับในการสร้างอาคารต่าง ๆ จะต้องออกแบบให้มีวัสดุอุปกรณ์ดูดซับเสียง เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน คนทำงาน ผู้อยู่อาศัย ผู้มาใช้บริการ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ตลอดจน ลดมลภาวะทางเสียง ขณะที่ประเทศไทยไม่มีกฏกติกา เสียง (Sound) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การสื่อสารและการบันเทิง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ และถูกส่งผ่านตัวกลางอย่างอากาศ มายังหู โดยเสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซของเหลวและของแข็ง หากเสียงที่มีความดังเกิน 85 เดซิเบลจะเป็นผลเสียต่อการสื่อสารและสุขภาพ และสังคม ที่เรียกว่า มลภาวะทางเสียง อาคารที่ดีควรจะได้ออกแบบมาตั้งแต่ก่อนสร้างโดยให้มีการใช้วัสดุและระบบดูดซับเสียงที่เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละส่วนของอาคาร ไม่ใช่สร้างเสร็จแล้วจึงค่อยทำหรือแก้ไขตามมา เราจะมีค่าใช้จ่ายสูง นวัตกรรม "แผ่นอะคูสติกจากผักตบชวา" ตอบโจทย์ได้หลายด้าน

วัชร น้อยมาลา หรือ เบนซ์ เมคเกอร์ วัย 22 ปี บอกถึงแนวคิดในการนำผักตบชวามาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรม ว่า "พวกเราประสบปัญหาระหว่างการเรียนภายในห้องเรียน ที่มีแผ่นผนังเป็นไม้อัดผิวเรียบ เสียงพูดภายในชั้นเรียนจะสะท้อนไปมาภายในห้อง ทำให้คุณภาพเสียงที่ได้ไม่มีความชัดเจนส่งผลเสียแก่ผู้เรียน และการส่งสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารก็ผิดพลาด เราจึงศึกษาหาวัสดุมาทำนวัตกรรมแผ่นดูดซับเสียง ที่ราคาไม่แพง และเห็นว่า ผักตบชวาเหมาะสมที่สุดเพราะเป็นวัชพืชหาง่าย ที่แพร่กระจายในแม่น้ำ ลำคลองอย่างรวดเร็ว กีดขวางการขนส่งและการสัญจรทางน้ำ ก่อให้เกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่ง จึงจุดประกายความคิดในการนำผักตบชวามาพัฒนาและแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ"

พุทธิพงษ์ วงษ์บัณฑิต หรือ เฟิส วัย 22 ปี หนึ่งในสมาชิกของทีมบอกว่า "นวัตกรรมแผ่นดูดซับเสียงจากผักตบชวา มีจุดมุ่งหมายคือ ใช้กับห้องเรียน ห้องประชุม และห้องโถงขนาดใหญ่ ที่บรรจุคนได้ประมาณ 100 – 200 คน การผลิตแผ่นดูดซับเสียงจากผักตบชวามี 5 ขั้นตอนคือ

1.นำผักตบชวาจากแหล่งน้ำ เลือกใช้เฉพาะส่วนต้นเนื่องจากมีปริมาณเส้นใยมากกว่าส่วนอื่น แล้วหั่นให้มีขนาดประมาณ 1 นิ้วเพื่อให้ความละเอียดของเส้นใยยึดเกาะกันมากกว่าผักตบชวาที่ไม่หั่น ความเป็นรูพรุนของวัสดุอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับขึ้นรูปแผ่นดูดซับเสียง , 2. นำผักตบชวาผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซน์ (NaOH) ไปต้มเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นโครงสร้างของผักตบชวาถูกปรับสภาพเป็นเส้นใย , 3.นำเส้นใยของผักตบชวาไปล้างน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง และนำเส้นใยที่สะอาดไปผสมกับสีผสมอาหาร และปูนซีเมนต์ โดยปูนซีเมนต์ที่ใช้ คือ 1% หลังจากนั้นนำไปอัดลงในแม่พิมพ์ให้เต็มและกดด้วยวัสดุผิวเรียบบริเวณด้านบนของแม่พิมพ์ , 4.นำแม่พิมพ์ที่ผ่านการอัดเส้นใยไปอบด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และ 5. ขั้นตอนสุดท้าย คือ การนำแผ่นวัสดุที่ได้ไปทดสอบหาค่าการสะท้อนกลับของเสียงเปรียบเทียบกับโฟมดูดซับเสียงมาตรฐาน

สำหรับวิธีการใช้งานแผ่นดูดซับเสียงที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ มีวิธีการง่าย ๆ คือ นำแผ่นดูดซับเสียงทากาวชนิดใดก็ได้และติดลงบนผนังตามขนาดที่ต้องการเพื่อป้องกันเสียงดังออกจากภายนอก และเสียงที่ได้รับก็มีมาตรฐาน

คุณสมบัติเด่นของแผ่นดูดซับเสียงจากผักตบชวา เมื่อเสียงเดินทางกระทบกับแผ่นดูดซับที่ทำขึ้นจากผักตบชวา เสียงจะสะท้อนและกระเจิงไปในทิศทางต่าง ๆ ซึ่งช่วยลดปัญหาการเกิดเสียงก้อง เนื่องจากผักตบชวามีเส้นใยที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับวัสดุดูดซับเสียงที่ได้มาตรฐานระดับสากลและนิยมใช้ตามห้องดนตรี จากการทดสอบพบว่า แผ่นดูดซับเสียงจากผักตบชวาช่วยลดการทอนของเสียงมีค่าการทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่ 1.3 ในขณะที่ แผงไข่ และผนังไม้ค่าเฉลี่ยอยู่ 1.5 และ 2.3 ตามลำดับ (สำหรับค่าของวัสดุดูดซับเสียงมาตรฐาน เท่ากับ 1.0)

พัชรพฤกษ์ ผาโพธิ์ หรือ ดราฟ วัย 22 ปี หนึ่งในทีมนวัตกรรมนี้บอกว่า "แผ่นอะคูสติกจากผักตบชวาสร้างคุณค่าเกิดประโยชน์ 4 ต่อด้วยกัน คือ 1. ช่วยแก้ปัญหาเสียงในอาคารที่อยู่อาศํย , อาคารสำนักงาน , ห้องซ้อมดนตรี , ธุรกิจบริการห้องอัดเสียง หรือ แม้แต่ผู้ให้บริการห้องประชุมใหญ่ 2. นำสิ่งที่ไร้ค่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ , 3. ประหยัดต้นทุนการทำระบบดูดซับเสียง แผ่นดูดซับเสียงจากผักตบชวา มีราคาต้นทุนอยู่ที่ 14 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งถูกกว่าแผงไข่ที่มีราคาต้นทุน 27 บาทต่อตาราเมตร และที่สำคัญราคาถูกกว่าซื้อแผ่นดูดซับเสียงจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงถึง 350 บาท/ ตารางเมตร และ 4.ลดปริมาณวัชพืชขยะในแม่น้ำลำคลองช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๔ APO ควง APM KFS ปิดท้ายโรดโชว์ กทม. นักลงทุนให้ความสนใจล้นหลาม
๑๓:๑๖ แอร์เอเชีย กัมพูชา พร้อมให้บริการ เปิดบิน 3 เส้นทางภายในประเทศ
๑๓:๑๕ เปิดเรื่องราวพิชิตทุนนอก จาก 2 รุ่นพี่นักเรียนทุน GREAT Scholarship สู่เส้นทางลัดฟ้าศึกษาต่อสหราชอาณาจักร
๑๓:๒๘ TPCH เฮ! เซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ SP2 กำลังผลิต 9.9 MW รุกขยายธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม-วินด์ฟาร์ม ในลาว-กัมพูชา ดันผลงานปี 67 โตเข้าเป้า
๑๓:๒๒ เชียร์บอลไทยให้สุดใจ ร่วมสนุกทายผลการแข่งขัน ลุ้นรับเสื้ออิเกร์ กาซิยาส พร้อมลายเซ็น ในนัด ไทย พบ เกาหลีใต้ วันที่ 21 มี.ค.นี้ เวลา 18.00
๑๓:๑๔ มบส.ดึงวิทยากรมืออาชีพเสริมทักษะผลิตรายการ สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์
๑๓:๒๐ หอการค้าไทย เชื่อมภาคธุรกิจจัด Networking Day ชมศักยภาพนักศึกษา ม.หอการค้าไทย พร้อมรับทำงานเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจของประเทศ
๑๓:๒๐ 'เทรซาเม่' ตอกย้ำผู้นำการดูแลเส้นผมระดับมืออาชีพ รีลอนช์แบรนด์ครั้งใหญ่ ส่งตรงเทคโนโลยี SALON BOND BUILDING SYSTEM
๑๓:๐๕ foodpanda อัพเดทอินไซต์ฟู้ดเดลิเวอรี่และรีเทล ปี 2566 ครอบคลุมทั่ว APAC
๑๓:๑๒ อนันดาฯ ชวนสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษผ่านแคมเปญ ASHTON AESTHETIC LIVING ที่สุดแห่งการอยู่อาศัยบนทำเลใจกลางเมือง กับ 3 โครงการ ภายใต้แบรนด์ลักชัวรี่