ปภ.แนะสตรีมีครรภ์เตรียมพร้อม – เรียนรู้ข้อควรปฏิบัติ...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง

อังคาร ๑๐ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๐๕
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติในการเดินทางสำหรับสตรีมีครรภ์ โดยการโดยสารรถยนต์ ควรนั่งบริเวณเบาะด้านหน้าข้างคนขับ พร้อมคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกวิธีทุกครั้งที่เดินทาง การโดยสารรถประจำทาง ควรหลีกเลี่ยงการใช้บริการรถโดยสารที่มีคนหนาแน่น ระมัดระวังอุบัติเหตุขณะขึ้น – ลงบันได และระหว่างรถชะลอความเร็ว การโดยสารรถไฟฟ้า ควรเพิ่มความระมัดระวังอันตราย โดยเฉพาะบริเวณบันไดเลื่อน หลีกเลี่ยงการใช้ทางเข้าออกอัตโนมัติ พร้อมยืนรอรถไฟฟ้าบริเวณชานชาลาหลังเส้นเหลืองที่กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า สตรีมีครรภ์เป็นกลุ่ม ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการเดินทาง เนื่องจากสภาพร่างกายและสรีระที่เปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากประสบอุบัติเหตุ จะทำให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้ง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติในการเดินทางสำหรับสตรีมีครรภ์ ดังนี้ การโดยสารรถยนต์ นั่งบริเวณเบาะด้านหน้าข้างคนขับ โดยปรับเลื่อนพนักพิงไปด้านหลังให้มากที่สุด ในลักษณะกึ่งเอนนอน พร้อมใช้หมอนหนุนหลังและรองคอ เพื่อป้องกันอาการเมื่อยล้า คาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกวิธี ทุกครั้งที่เดินทาง โดยแนวทแยงคาดผ่านร่องอกไปตามแนวโค้งของท้อง ปรับสายเข็มขัดนิรภัยให้กระชับ ไม่บิด หรือเป็นเกลียว เพื่อป้องกันแรงกระชาก ทำให้เกิดอันตรายได้ แนวนอนอยู่บริเวณใต้ท้อง เหนือต้นขา และกระดูกเชิงกราน รวมถึงใช้หมอนใบเล็ก รองบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง แล้วจึงคาดเข็มขัดนิรภัย ห้ามคาดทับบริเวณหน้าท้องโดยตรง การโดยสารรถโดยสารประจำทาง หลีกเลี่ยงการใช้บริการรถโดยสารที่มีคนหนาแน่นเพราะอาจถูกเบียดล้มและเป็นลม ก่อให้เกิดอันตรายได้ ระมัดระวังอุบัติเหตุขณะขึ้น – ลงบันได และระหว่างรถชะลอความเร็ว ควรรอให้รถจอดสนิท ค่อยเดินขึ้น – ลงรถ ไม่ยืนบริเวณบันได หรือโหนรถเมล์ เพราะเสี่ยงต่อการพลัดตก และหกล้ม การโดยสารรถไฟฟ้า เพิ่มความระมัดระวังอันตราย โดยเฉพาะบริเวณบันไดเลื่อน เพราะอาจสะดุดล้ม ทางเข้าออกประตูรถไฟฟ้าที่มีคนใช้บริการหนาแน่น เพราะอาจถูกกระแทกหรือหกล้มได้ หลีกเลี่ยงการใช้ทางเข้าออกอัตโนมัติ เพื่อป้องกันที่กั้นปิดลงมากระแทกท้อง เพื่อความปลอดภัย ควรใช้ทางเข้าออกสำหรับสตรีมีครรภ์ ยืนรอรถไฟฟ้าบริเวณชานชาลาหลังเส้นเหลือง ห้ามยืนหรือล้ำเข้าไปในเส้นที่กำหนด ห้ามยื่นแขนหรือขาออกไปในรางรถไฟขณะที่มีรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน รวมถึงไม่หยอกล้อเล่นบริเวณชานชาลารถไฟฟ้าอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงไปในราง ที่สำคัญ สตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ เพราะการทรงตัวไม่ดี ทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตกรถ และได้รับอันตราย หากจำเป็นต้องโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรใช้ความเร็วต่ำ และสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง จะช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ