ประชาชน 72.45% เห็นด้วยกับการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน ขณะที่ร้อยละ 76.58 ไม่แปลกใจที่จะมีอดีตนักการเมืองเข้าไปร่วมเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆ

จันทร์ ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๐๗
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆกับการเป็นทางเลือกให้ประชาชน ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 ถึง 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,187 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า หลังจากที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาประกาศว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นไปตามโรดแมพที่กำหนดไว้ บรรดานักการเมืองและกลุ่มการเมืองต่างๆก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้ ถึงแม้จะยังไม่มีการอนุญาตให้เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมทางการเมืองได้เป็นปกติก็ตาม ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มบุคคลร่วมกันเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่จะถึงนี้ ซึ่งบางพรรคการเมืองได้มีกลุ่มการเมืองและอดีตนักการเมืองเข้าไปร่วมเปิดตัวและให้การสนับสนุนอย่างชัดเจนจนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมเป็นวงกว้าง ทั้งนี้ผู้คนในสังคมได้วิพากษ์วิจารณ์และแสดงความเห็นต่อการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆว่าถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน รวมถึงทำให้ประเทศมีโอกาสได้นักการเมืองใหม่ๆเข้ามาทำงาน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนอีกส่วนหนึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่มีกลุ่มการเมืองหรืออดีตนักการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆว่าอาจทำให้ประเทศกลับไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองได้อีกหลังการเลือกตั้ง จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆกับการเป็นทางเลือกให้ประชาชน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.29 ขณะที่ร้อยละ 49.71 เป็นเพศชาย สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านความสนใจติดตามข่าวการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆเพื่อลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้ กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 49.12 ระบุว่าตนเองให้ความสนใจติดตามข่าวการประกาศเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆของกลุ่มนักวิชาการ/นักการเมือง/นักเคลื่อนไหว/อดีตข้าราชการเพื่อเตรียมลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้เป็นบางพรรคการเมือง ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงหนึ่งในห้าหรือคิดเป็นร้อยละ 18.53 ระบุว่าตนเองให้ความสนใจติดตามข่าวการเปิดตัวทุกพรรคการเมืองเลย โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 32.35 ยอมรับว่าตนเองไม่ได้ให้ความสนใจติดตามข่าวการเปิดตัวพรรคการเมืองใดเลย

ในด้านความคิดเห็นต่อการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.45 เห็นด้วยกับการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการเลือกตั้ง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 19.8 ไม่เห็นด้วย ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.75 ไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.88 มีความคิดเห็นว่าพรรคการเมืองใหม่ๆที่เปิดตัวมาเพื่อเตรียมลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้ยังไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถเป็นทางเลือกให้กับประชาชนได้เลย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.15 มีความคิดเห็นว่าสามารถเป็นทางเลือกได้บางพรรค โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 12.97 ระบุว่าสามารถเป็นทางเลือกได้ทุกพรรค ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเกือบสี่ในห้าหรือคิดเป็นร้อยละ 78.26 ไม่เชื่อว่าพรรคการเมืองใหม่ๆที่เปิดตัวมาเพื่อเตรียมลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้จะมีส่วนช่วยยกระดับภาพลักษณ์การเมืองไทยให้สูงขึ้นกว่าในอดีตได้จริง แต่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.91 มีความคิดเห็นว่าการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆจะมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสให้ประเทศไทยได้นักการเมืองรุ่นใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้

ในด้านความคิดเห็นต่อนักการเมืองกับการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 70.68 มีความคิดเห็นว่าการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องมีนักการเมือง/อดีตนักการเมืองเข้าไปเป็นสมาชิกพรรค อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 76.58 ไม่รู้สึกแปลกใจที่มีอดีตนักการเมืองเข้าไปร่วมเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆเพื่อเตรียมลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างประมาณสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.23 ระบุว่าตนเองไม่รู้สึกแปลกใจที่อดีตนักการเมืองซึ่งเคยประกาศเลิกเล่นการเมืองไปแล้วหวนกลับมาร่วมเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆเพื่อเตรียมลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้

และกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 51.9 กังวลว่าการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ๆที่มีกลุ่มการเมือง/นักการเมืองให้การสนับสนุนจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอีกครั้งหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่จะถึงนี้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.34 ระบุว่าไม่กังวล ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.76 ไม่แน่ใจ ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ