พาณิชย์ หนุนภาครัฐร่วมปลดล็อกธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมชี้ช่อง 3 สตาร์ทอัพสายแข็ง ดีพเทค เมดเทค เอสเคิร์ฟ มาแรงสุด

พุธ ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๐๒
- เอ็นอีเอ จัด "สตาร์ทอัพ ซิมโพเซียม" ดึงบิ๊กกูรูระดับอินเตอร์ร่วมติวเข้มสตาร์ทอัพไทย พร้อมผนึกกำลังเอ็นไอเอ ดีป้า เคเอ็กซ์ หอการค้า กรุยทางธุรกิจนวัตกรรมโตรับเทรนด์โลก

กระทรวงพาณิชย์ เร่งบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพไทย เผยภาครัฐมีความพร้อมในการส่งเสริมและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ พร้อมโชว์ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีโอกาสเติบโตในช่วงครึ่งหลังปี 2561 และปี 2562 ได้แก่ 1.Deep Tech Startup 2. MedTech Startup และ 3.S-Curve Startup นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ยังได้จัด โครงการเสวนาเพื่อผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ "NEA STARTUP SYMPOSIUM"เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการริเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแวดวงดังกล่าวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ พร้อมผนึกกำลังกับ KX Consulting Enterprise (Knowledge Exchange), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa) , มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ลงนามความร่วมมือการผลักดันและสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วขึ้น

นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เผยถึงนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพของไทยว่า "กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจหลักที่จะมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งผู้ประกอบการยุคใหม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ (Innovation-driven Enterprises/Startup) เพื่อยกระดับไปสู่การเป็นธุรกิจนวัตกรรม โดยนวัตกรรมยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญประการหนึ่ง พร้อมช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ หรือ Smart Enterprise อย่างครบวงจร

สำหรับในปัจจุบัน ภาครัฐพร้อมที่จะให้การสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นอนาคตของประเทศไทยและไทยมีศักยภาพอยู่แล้วโดยเฉพาะในธุรกิจบริการ สุขภาพ อาหาร วัฒนธรรม ซึ่งในอนาคตมีโอกาสที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย

นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เผยว่า "ธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพ ที่จะมีศักยภาพ ได้นั้นต้องประกอบด้วยกุญแจไขความสำเร็จ6 อย่าง คือ 1.ภาครัฐสนับสนุน โดยมีภาคเอกชนและประชาสังคมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนตามนโยบาย 2.ต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลการทำงาน ให้ตอบสนองกลุ่มธุรกิจ Startup ได้มากยิ่งขึ้น 3. ต้องปลดล็อกข้อจำกัดในอดีตในเรื่องของการประกอบธุรกิจแบบเก่า โดยเฉพาะหากผู้ประกอบการมีไอเดียที่แปลกใหม่และดี ยิ่งสามารถนำมาใช้เป็นทุนและหลักประกันได้4. สร้างระบบนิเวศที่ดีและเหมาะสม เพื่อสนับสนุนธุรกิจ Startup 5. เร่งแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 6. ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ให้สอดรับกับธุรกิจ Startup ที่กำลังจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

นางจันทิรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเภทธุรกิจสตาร์ทอัพที่พบว่ามีโอกาสเติบโตในช่วงครึ่งหลังปี 2561 และปี 2562 คือ

1.Deep Tech Startup ซึ่งเป็นการใช้วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมขั้นสูงมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่มีอยู่ในตลาด โดยจะต่างจากสตาร์ทอัพที่พัฒนาแอปพลิเคชั่น ด้วยการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ ซับซ้อนมีสิทธิบัตรทางปัญญาคุ้มครอง ทำให้ลอกเลียนแบบยากและคู่แข่งน้อย ตัวอย่างเช่น ระบบ AI (Artificial Intelligence) ระบบIoT เทคโนโลยีในสายธุรกิจต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ อาหารและการเกษตร อวกาศ พลังงาน

2. MedTech (สตาร์ทอัพด้านการแพทย์) โดยเป็นเทคโนโลยีที่จะมาช่วยพัฒนางาน บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในเรื่องของสุขภาพอนามัย ด้วยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ติดตามผลตรวจสุขภาพผ่านมือถือ วิเคราะห์ความเสี่ยงโรค แก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพเป็นแบบระบบโมบายแอปพลิเคชั่น และแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นต้น

3. Startup ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) โดยจะต้องเป็นสตาร์ทอัพที่สามารถยกระดับการผลิต การบริการ หรือการขนส่งของ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น สตาร์ทอัพด้านระบบบริการทางการแพทย์ การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้กระบวนการผลิตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น สตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ได้ให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ ล่าสุดจึงได้จัด โครงการเสวนาเพื่อผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ "NEA STARTUP SYMPOSIUM : The power of Creativity & Innovation" (พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อสตาร์ทอัพ) ซึ่งนับเป็นโครงการต่อเนื่อง และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการริเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแวดวงดังกล่าวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น บอย โกสิยพงศ์ นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ชื่อดัง ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้ก่อตั้ง FireOneOne, Mr.William Malek ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและอดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Stanford, Mr.Jame D. Laur,Cedars-Sinai Accelerator Powered by Techstars, จากประเทศสหรัฐอเมริกา Mr.Michael Maylahn President Stasis Labs จากประเทศสหรัฐอเมริกา , Mr.David Bolliger General Partner of Intervalley Ventures (AI Human,LP) จากประเทศออสเตรเลีย และ Mr.Gabriele Costigan Managing Director WeXcelerate จากประเทศออสเตรีย พร้อมด้วยสตาร์ทอัพสัญชาติไทยอีกมากมาย

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ยังได้ผนึกกำลังกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาคการศึกษา โดยที่ผ่านมาได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แล้ว 2 หน่วยงานได้แก่ KX Consulting Enterprise (Knowledge Exchange), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa)ซึ่งภายในงานยังจะมีพิธีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพิ่มอีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)หรือNIA ซึ่งทุกภาคส่วน จะร่วมกันบูรณาการผลักดันและสนับสนุนผู้ประกอบการยุคใหม่ ในทุกระดับ โดยมีความร่วมมือ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวโน้มและความต้องการของสินค้านวัตกรรมในตลาดต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพและความสามารถของผู้ประกอบการให้ก้าวสู่สากล การให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ การร่วมทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ ในการจัดงานสัมมนา เป็นต้น

โดยการจัดโครงการเสวนาในครั้งนี้ยังนับเป็นการจุดประกายให้แก่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไทยให้มีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบผลสำเร็จ ตลอดจนแนวทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่พร้อมจะต่อยอดธุรกิจของตนเองให้มีความสามารถในการแข่งขันของตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจประเภท Startup ของไทยอีกด้วย นางจันทิรา กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โทร. 1169 หรือwww.nea.ditp.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้