นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ไขความลับในการจดจำรหัสผ่าน

พุธ ๑๕ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๔๙
เบื่อกับการลืมพาสเวิร์ดใช่หรือไม่ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้งานระบบพาสเวิร์ดแบบสัญลักษณ์ (icon-based) ที่สร้างขึ้นจากความสามารถในการบอกเล่าเรื่องราวที่มีอยู่ตามธรรมชาติในมนุษย์ทุกคน

ระบบดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกว่า SemanticLock ถูกพัฒนาขึ้นโดยดร.ไห่-หนิง เหลียง, ดร.ชาร์ลส์ เฟลมมิง และคุณอิลซานมี โอลาเด โดยให้ผู้ใช้งานสร้างเรื่องราวเฉพาะของตนเองด้วยสัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว เพื่อนำมาใช้ในการตั้งพาสเวิร์ด

ดร.เฟลมมิงกล่าวว่า ระบบใหม่นี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการสร้างต้นแบบ และหากได้รับการพัฒนาต่อไป นั่นหมายว่า ปัญหาการหลงลืมพาสเวิร์ดจะกลายเป็นเรื่องของอดีต

เขากล่าวว่า "มนุษย์ไม่ได้ถูกตั้งโปรแกรมไว้ให้สามารถจดจำตัวเลขหรือตัวหนังสือแบบสุ่ม และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมพวกเราถึงมีปัญหาอย่างมากในการจดจำพาสเวิร์ด"

"SemanticLock อาศัยความสามารถในการบอกเล่าเรื่องราวของมนุษย์ โดยผู้ใช้จะนำเอาชุดสัญลักษณ์ที่มีอยู่มาสร้างเป็นเรื่องราวและกำหนดพาสเวิร์ดเฉพาะซึ่งมีแต่พวกเขาที่รู้"

ดร.เหลียง นักวิจัยร่วม กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวเผยให้เห็นว่า การตั้งพาสเวิร์ดด้วยการใช้สัญลักษณ์นั้นง่ายต่อการจดจำมากกว่าการตั้งพาสเวิร์ดที่เป็นตัวเลขหรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน

"เมื่อถูกถามถึงพาสเวิร์ดที่พวกเขาตั้งขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน พบว่า มีเพียง 30% ของผู้เข้าร่วมการวิจัยที่สามารถทวนรายละเอียดการตั้งพาสเวิร์ดของพวกเขาได้ ขณะที่อีก 50% สามารถจดจำรหัสผ่านแบบ pin-based ของพวกเขาได้ และมีถึง 90% ที่สามารถจดจำพาสเวิร์ดที่ตั้งขึ้นบน SemanticLock ได้" ดร.เหลียงกล่าว

"เราเชื่อว่า สิ่งนี้เป็นเพราะผู้คนย่อมผูกพันกับเรื่องราวที่มีความหมายกับพวกเขา มากกว่าตัวเลขหรือรูปแบบที่ไม่มีความหมายแต่อย่างใด"

ดร.เฟลมมิงกล่าวว่า SemanticLock ยังช่วยปกป้องผู้ใช้จากแฮกเกอร์อีกด้วย

"พาสเวิร์ดที่เป็นตัวเลขนั้นมีความเป็นไปได้หลายล้านแบบ แต่มีพาสเวิร์ดที่ใช้งานจริงน้อยกว่านั้นมาก เพราะว่าผู้คนจะใช้อะไรที่ง่ายต่อการจำ เช่น วันที่" ดร.เฟลมมิงกล่าว

"นอกจากจะเป็นการลดจำนวนพาสเวิร์ดที่เป็นไปได้แล้ว การเลือกตัวเลขที่สื่อความหมายหรือมีรูปแบบเกี่ยวข้องกับเรา ยังเป็นการลดความปลอดภัยของพาสเวิร์ดนั้นลงด้วย"

"แค่แฮกเกอร์รู้อะไรบางอย่างเกี่ยวกับตัวคุณ ตัวอย่างเช่น อายุ แล้วจากนั้นก็จะเหลือชุดพาสเวิร์ดอีกเพียงเล็กน้อยให้แฮกเกอร์ได้ลองเพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ"

"นี่คือสิ่งที่ทำให้ SemanticLock มีความปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากระบบนี้จะอาศัยการบอกเล่าเรื่องราวของผู้ใช้งาน ซึ่งไม่มีตัวเลขหรือข้อมูลที่แฮกเกอร์สามารถใช้เพื่อคาดเดาพาสเวิร์ดได้"

SemanticLock พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักวิจัยจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของมหาวิทยาลัยซีอาน-เจียวทง ลิเวอร์พูล (XJTLU) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยความร่วมมือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในจีน โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3