สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม “กันน็อก กันนะ” รณรงค์สวมหมวกกันน็อก 100 %

พฤหัส ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๓๕
สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม "การรณรงค์สถานศึกษา(อาชีวะ) ร่วมใจสวมหมวกกันน็อก 100% ปี 2561" นำร่องในสถานศึกษาอาชีวะ 6 แห่ง มุ่งลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ

นายสุราษฎร์ เจริญชัยกุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า "เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร ด้านมหานครปลอดภัย ในปี 2561 นี้ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร นำร่องจัดกิจกรรม "การรณรงค์สถานศึกษา (อาชีวะ) ร่วมใจสวมหมวกกันน็อก 100%"ในสถานศึกษาอาชีวะจำนวน 6 แห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1.วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี 2.วิทยาลัยพาณิชยการบางนา 3.วิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล 4.วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร 5. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ฯ และ 6.วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เพื่อให้ความรู้เรื่องการเลือกและสวมหมวกกันน็อกที่ถูกต้อง และสร้างความตระหนักในการขับขี่อย่างปลอดภัยให้กับนักศึกษา เนื่องจากพบว่ากลุ่มคนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15-29 ปี และพบว่าประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่คือ รถจักรยานยนต์ โดยสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มชื่นชอบรถจักรยานยนต์ และนิยมใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการเดินทาง ทั้งนี้การสวมหมวกกันน็อกจะช่วยลดอาการบาดเจ็บที่รุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งหมวกกันน็อกมีคุณสมบัติพิเศษสามารถยืดหยุ่นได้เมื่อถูกกระแทก จึงช่วยดูดซับและกระจายแรงไม่ให้ส่งไปยังสมองของผู้ประสบอุบัติเหตุ ขณะที่วัสดุภายนอกมีความแข็งแรง จะช่วยปกป้องศีรษะไม่ให้กระแทกกับพื้นถนนโดยตรง จึงช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ"

ด้านนายธนันท์ชัย เมฆประเสริฐวนิช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า "การสวมหมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานและถูกวิธี จะช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะได้ร้อยละ 72 และลดการเสียชีวิตได้ ร้อยละ 39 เมื่อประสบอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัยทุกครั้งที่ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเดินทางในระยะใกล้หรือไกล การเลือกใช้หมวกกันน็อกควรใช้หมวกกันน็อกแบบเต็มใบที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ

มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวกมีน้ำหนักไม่มากเกินไป รวมถึงมีสีสันสดใส จะช่วยให้ผู้ขับรถคนอื่นมองเห็นอย่างชัดเจนในระยะไกล การสวมหมวกกันน็อกในลักษณะหน้าตรง ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง คาดสายรัดคางและปรับความตึงให้กระชับใต้คาง สายไม่พลิก บิดหรือหย่อน รวมถึงกระชับเพียงพอที่หมวกนิรภัยจะไม่หลุดออกจากศีรษะเมื่อประสบอุบัติเหตุ จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ "

ข้อควรระวังในการใช้หมวกกันน็อก ควรเปลี่ยนหมวกกันน็อกทุก ๆ 3-5 ปี หรือภายหลังที่หมวกนิรภัยกระแทกพื้นหรือของแข็งอย่างรุนแรง เพราะวัสดุภายในหมวกกันน็อกจะเสื่อมสภาพและไม่สามารถรองรับแรงกระแทกได้

เมื่อประสบอุบัติเหตุ สวมหมวกกันน็อกและคาดสายรัดคางทุกครั้งที่ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ พร้อมใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะเป็นระดับความเร็วที่หมวกกันน็อกรองรับแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4