คน กทม 56.2% เคยตรวจสอบข่าวปลอม (Fake News) เจอข่าวปลอม (Fake News) จากเฟสบุ๊ค (Facebook) และเรื่องการเมืองมากสุด

จันทร์ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๒:๔๘
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาข่าวปลอม (Fake News) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,269 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2561 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในอดีตปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ไม่ได้ส่งผลกระทบกับสังคมในวงกว้างได้ อย่างในสังคมไทยนั้นข่าวลือไม่ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่ไม่จริง ในอดีตที่พูดกันปากต่อปากนั้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้างได้ แต่ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารได้พัฒนาทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารจากหนึ่งคนไปยังคนจำนวนมากๆได้อย่างรวดเร็ว และการส่งต่อๆกันนั้นทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างได้ ไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศต่างๆทั่วโลกก็ประสบปัญหาในเรื่องของปัญหาข่าวปลอม (Fake News) การตรวจสอบข่าวปลอมของคนสังคมไทยนั้นมีการตรวจสอบหรือไม่ มีการตรวจสอบด้วยวิธีใด ภาครัฐจะต้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างไรในการกำกับดูแลและควบคุมข่าวปลอม (Fake News) ที่ส่งผลกระทบในเชิงลบกับสังคม ทำให้เกิดความแตกตื่นของคนในสังคม ในสภาวการณ์ที่คนทุกคนในสังคมสามารถติดต่อสื่อสารจากหนึ่งคนไปยังคนจำนวนมากๆได้อย่างรวดเร็ว และมีการส่งต่อไปยังกว้างขวางและรวดเร็ว ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 65.1 และเคยตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่คิดว่าเป็นข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 56.2

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีการในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่คิดว่าเป็นข่าวปลอม (Fake News) โดยค้นหาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 53.0 อันดับที่สองคือสอบถามผู้เชี่ยวชาญร้อยละ 28.1 และอันดับสามคือไม่คิดจะตรวจสอบ ร้อยละ 18.9

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเห็นข่าวปลอม (Fake News) ผ่านสื่อเฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 54.2 อันดับสองคือมีคนเล่าให้ฟัง ร้อยละ 13.9 และอันดับสามคือผ่านสื่อไลน์ (Line) ร้อยละ 12.7 และพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเมืองเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 27.6 อันดับสองคือประเด็นเรื่องหลอกขายสินค้า ร้อยละ 23.2 อันดับสามคือประเด็นเรื่องสุขภาพ ร้อยละ 19.1 อันดับที่สี่คือประเด็นเรื่องดารา ร้อยละ 17.8 อันดับที่ห้าคือประเด็นเรื่องภัยพิบัติ ร้อยละ 8.7 และอันดับสุดท้ายคือประเด็นเรื่องศาสนา ร้อยละ 3.6

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการป้องกันและปราบปราบ ข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 76.6

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๘ PRM พบนักวิเคราะห์ อัพเดทแผนธุรกิจปี 67
๑๔:๕๙ ชาบูตง จับมือ ทไวนิงส์ ชวนรังสรรเมนูสุดว้าว ยกระดับความพรีเมียมของราเมน เลมอน แบล็กที ชิโอะ ทงคตสึ สูตรพิเศษที่ชาบูตง ราเมน
๐๒ เม.ย. S-Pure เปิดตัวไส้กรอกเยอรมันสไตล์โฮมเมด S-Pure Prime สร้างโมเมนต์ ที่สุดความอร่อย ชูแบรนด์แรก Clean Label ผลิตจากเนื้อหมูเอสเพียว 100%
๑๓:๒๐ สมาคมกีฬาขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567
๑๓:๑๘ DDD เปิดแผนธุรกิจปี 67 รุกผลิตภัณฑ์ใหม่-กลุ่มไลฟ์สไตล์ ปั้นผลประกอบการโตแกร่งต่อเนื่อง
๑๓:๑๗ โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.09 บาท พร้อมเปิดแผนธุรกิจ ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 20-30% ในปี
๑๓:๔๔ ปวดหลัง ร้าวลงขา ชา อ่อนแรง?. ระวัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
๑๒:๑๗ เนรมิตบทเพลงหัวใจ พร้อมสัมผัสประสบการณ์ความรักท่ามความโรแมนติกสุดคลาสสิค กับแพ็คเกจ Symphony of Hearts ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ
๑๒:๒๗ เซ็นทรัล รีเทล X มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมส่งต่อโอกาสและชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ ผ่านแคมเปญ Hi! ใจ
๑๒:๓๗ ถิรไทย ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 พร้อมจ่ายปันผล 0.21 บาทต่อหุ้น