ใครติดวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ต้องรู้!! กับ 7 ประสบการณ์สุดคูล สร้างเสริมประสบการณ์แบบวิทย์ๆ โฉมใหม่

อังคาร ๐๔ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๒:๕๑
เทศกาลเปิดเทอมได้เริ่มขึ้นแล้ว!! สำหรับชีวิตเฟรชชี่น้องใหม่ ที่บางคนอาจจะมีอาการตื่นเต้นหรือประหม่าเล็กน้อย เพราะจะได้สัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยได้เจอในชีวิตมัธยมฯ แต่สำหรับน้องๆ ที่ฝ่าด่านอรหันต์ของระบบ 'TCAS' เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และแอดฯ ติด "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์" จะต้องตื่นเต้นไปอีกขั้นกับ 7 กิจกรรมสุดว้าว ที่ช่วยสร้างประสบการณ์แบบวิทย์ๆ รูปแบบใหม่ พร้อมสร้างมุมมองการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ต่างไปจากเดิม ผ่านการเรียนรู้ใน 10 สาขาวิชา 3 หลักสูตรนานาชาติ และ 3 หลักสูตรสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นคณะฯ ที่ทำการเปิดสอนเป็นที่แรก และใหญ่ที่สุดในทุ่งรังสิต ดังนี้

"ได้ชิมเบเกอรี่สูตรคลีนๆ แบบไม่มีไขมันทรานส์" พร้อมคอร์สเรียน "ทำนมข้นหวานสูตรเฮลตี้ - ที่ทานแล้วดีต่อใจ" กับอาจารย์ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ที่บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีอาหาร สู่การพัฒนา "สูตรลับในการทำเบเกอรี่" ภายใต้แบรนด์ Bake@Dome ที่ทานแล้วดีต่อสุขภาพ ด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปราศจากไขมันทรานส์ และไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ด้วยความใส่ใจในสุขภาพของนักศึกษา บุคลากร รวมถึงบุคคลทั่วไป ขณะเดียวกัน ยังพัฒนา "สูตรนมข้าวข้นหวานที่ดีต่อสุขภาพ" ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักษาสุขภาพหรือควบคุมน้ำหนัก ซึ่งนมข้นหวานดังกล่าว ยังสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ หรือสร้างเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่สร้างรายได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

"ได้พัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์มคิทอัจฉริยะ - สั่งรดน้ำระยะไกลด้วยสมาร์ทโฟน" กับอาจารย์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน ที่นำเอาปัญหาของเกษตรกรในปัจจุบัน มาเป็นโจทย์ปัญหา พร้อมผสมผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี iOT และวิถีการทำการเกษตรในปัจจุบัน สู่การพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยเกษตรประหยัดแรง เวลา และเงินทุน เพียงสั่งการผ่านสมาร์ทโฟน

"ได้ทำชุดคิทตรวจสารระเบิด - แปลงร่างเป็นโคนันสืบหาผู้ต้องสงสัย" กับอาจารย์ในสาขาวิชาเคมี ที่นำหลักความรู้ด้านเคมีในแง่มุมต่างๆ ทั้งสารเคมีที่ให้คุณและโทษ พัฒนาเป็นคอตตอนบัดส์อัจฉริยะ ที่ช่วยสืบหาแหล่งกบดานของผู้ต้องสงสัย ที่ประกอบระเบิดด้วยสารทีเอ็นที (TNT) เพื่อลอบสังหารหรือก่อการร้าย เพียงแค่นำไปเช็ดถูกับคราบหรือผงที่ต้องสงสัย ก็จะเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลเข้มทันที

"ได้บินไปฝึกงานไกลถึงต่างประเทศ" กับมหาวิทยาลัยเครือข่ายของคณะฯ กว่า 25 มหาวิทยาลัย ครอบคลุม 11 ประเทศทั่วโลก อาทิ "ประเทศไต้หวัน" ที่โด่งดังเรื่องแฟชั่นและดีไซน์คอลเลกชั่นเสื้อผ้า รวมถึงนโยบายการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ "ประเทศญี่ปุ่น" ผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ ที่สามารถบูรณาการปราชญ์ชาวบ้านร่วมกันเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว รวมถึงด้านดิจิทัล ที่สามารถพัฒนาเกมและเทคโนโลยีเอไอ (AI) ได้อย่างชาญฉลาดและล้ำสมัย

"ได้เรียนวิชาเลือกเฟี้ยวๆ ข้ามสาขา" กับวิชาเลือกของคณะฯ ที่มีให้เลือกมากกว่า 200 รายวิชา เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่แบบข้ามสาขา อาทิ "นักโบราณคดีสายวิทยาศาสตร์" หรือ วิชามรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในประเทศไทย (วล.456) หนึ่งในวิชาโท จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ที่จะพาไปย้อนเวลาไปศึกษาแหล่งโบราณสถาน ณ สถานที่จริง เพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมา ดูร่องรอยความเสียหาย และหาแนวทางในการบูรณะร่วมกันกับคนในพื้นที่ และ "นักปรุงแต่งสายพันธุ์ข้าว" หนึ่งในวิชาเสรี จากสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ที่จะพาไปเรียนรู้แหล่งกำเนิดข้าว การปรับปรุงพันธุ์ข้าว มาตรฐานการผลิต เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตข้าว และการใช้ประโยชน์ในส่วนต่างๆ ของข้าว เป็นต้น

"ได้ลองปลูกถังเช่า – สร้างรายได้งามๆ ระหว่างเรียน" กับอาจารย์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เรื่องเห็ดรา วัฏจักรการเติบโต และปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของถั่งเช่า เพื่อควบคุมการเติบโต และเพาะเลี้ยงถั่งเช่าในปริมาณมาก สู่การค้าเชิงพาณิชย์ รวมถึงดัดแปลงสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพนานาชนิด เช่น สบู่ถั่งเช่าช่วยรักษาสิว ชาถั่งเช่าแบบชงดื่ม ฯลฯ นอกจากนี้ สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์ วงจรไฟฟ้า ชีววิทยา และระบบ iOT สู่ระบบควบคุมและสั่งการตู้ควบคุมความเย็น ที่สามารถกระตุ้นให้ถั่งเช่ามีเส้นยาวและโตเร็วได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถติดตามผลและควบคุมปัจจัยแวดล้อมแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย

"ได้งานอดิเรกใหม่เป็นสาหร่ายมาริโมะ - อัพเกรดสาหร่ายต้นทุนต่ำสู่สินค้าไลฟ์สไตล์" กับอาจารย์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ต่อยอดสาหร่ายพันธุ์ไทย ที่พบได้ตามธรรมชาติมาดัดแปลงโครงสร้างและทำการขึ้นรูปเป็นก้อนกลม ในชื่อ "ไกก้อน - มาริโมะเมืองไทย" ที่สามารถนำไปประดับตู้ปลา และเป็นอาหารให้สัตว์น้ำขนาดเล็กได้ เช่นเดียวกับ มาริโมะ สายพันธุ์ญี่ปุ่น ที่เคยได้รับความนิยมในอดีต ซึ่งในอนาคตทีมนักวิจัยเตรียมพัฒนาฟังก์ชั่นของไกก้อนให้สามารถดูดซับสารพิษในแหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถสร้างรายได้มหาศาล

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โทร. 02-564-4491 ต่อ 2020 เฟสบุ๊คแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital