มข.จัดสัมมนาให้องค์กรชาวบ้านเสนอผลงาน หวังชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การขยายผล

อังคาร ๑๑ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๕:๐๙
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญประภา เพชระบูรณิน ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลงานและประสบการณ์ในงานพัฒนาตามแนวพระราชดำริ โดย ผ่านคำบอกเล่าของตัวแทนกลุ่มองค์กรชาวบ้าน และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของศูนย์ประสานงานโครงการฯ อันจะทำให้เกิดกลไกขยายงานต่อไป ภายในงานมีการจัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เกิดจากการยกระดับกลุ่มองค์กรสู่วิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย ตัวแทนเกษตรกรและกลุ่มอาชีพ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้นำชุมชน กรรมการชุมชน ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการจากคณะหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้ในส่วนโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามแนวพระราชดำริ ได้ดำเนินงานในพื้นที่ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกระนวน ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย และโรงเรียนในพระราชดำริ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในรัศมีประมาณ 100-200กิโลเมตรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าโครงการจะเป็นเชิงพัฒนาแต่ในการดำเนินงานได้ประยุกต์ใช้หลักการของการวิจัยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เป็นแหล่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญประภา กล่าวด้วยว่า ผลการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา 5 ประเด็น คือ การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ การพัฒนาการเกษตร การบริหารจัดการกลุ่มองค์กรชุมชน ส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น ซึ่งมีตัวอย่างโครงการที่สำเร็จและภูมิใจ อาทิ การพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยการมีส่วนร่วม ซึ่งใช้หลักการอนุรักษ์ป่าไม้ตามแนวพระราชดำริที่เหมาะสมกับภูมิสังคมในลักษณะวงจรการเรียนรู้ในรอบ 1 ปี 4 กิจกรรม ทำแนวกันไฟ ซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ เฝ้าระวังการลักลอบตัดไม้และไฟป่า และกิจกรรมสร้างจิตสำนึก เกิดการต่อยอดเป็นคณะทำงานกลุ่มราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า และได้รับพระราชทานผ้าพันคอ "พิทักษ์ป่า รักษาชีวิต" ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ไฟป่าลดน้อยลง เป็นแหล่งอาหารและแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติ

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น กล่าวว่า สำหรับ โครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น น้อมนำแนวพระราชดำริมาค้นคว้า ประยุกต์ใช้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาชุมชนต้นแบบจำนวน 2-3 แห่ง เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาจะสามารถเข้าไปศึกษา เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจะทำให้ได้รับประสบการณ์จริงจากพื้นที่ และในขณะเดียวกันก็หวังที่จะเห็นผลจากการที่ประชาชนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบมีการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่ง การดำเนินงานนั้น คงกระทำโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเดียวไม่ได้ ต้องร่วมกับราษฎร และองค์กรในพื้นที่ เพราะการพัฒนาต้องมองทุกมิติไปพร้อมกัน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มองในเรื่องของบูรณาการ ในเรื่องของการร่วมมือกันทำ อันเป็นการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา