เอสเอ็มอีไทยปรับใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อผลักดันการขยายตัวทางธุรกิจ

พุธ ๐๓ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๓๔
งานวิจัยสนับสนุนโดย FedEx ชี้อีคอมเมิร์ซและรูปแบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีส่วนขับเคลื่อนการเติบโตของเอสเอ็มอีในเอเชีย

เฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส (FedEx Express, FedEx) บริษัทในเครือเฟดเอกซ์ คอร์ปอเรชั่น (FedEx Corp.) (NYSE: FDX) และผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุรายใหญ่ที่สุดของโลก เผยผลการสำรวจชิ้นใหม่ล่าสุดที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มและข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ในด้านพฤติกรรมการนำเข้า และส่งออกของเหล่าธุรกิจขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานวิจัยในชื่อ "Global is the New Local: The Changing International Trade Patterns of Small Businesses in Asia Pacific" เผยให้เห็นว่า ในปัจจุบันการส่งออกของธุรกิจเอสเอ็มอีสู่นอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 71% คิดเป็นอัตราการส่งออกข้ามภูมิภาคที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 254% เมื่อเทียบกับช่วงสี่ปีที่ผ่านมา งานสำรวจชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า ไม่เพียงแต่การนำเข้าและส่งออกข้ามภูมิภาคจะมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม แต่จำนวนการนำเข้าและส่งออกข้ามประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเองก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในรอบสามปีที่ผ่านมา

งานวิจัยระบุให้เห็นถึงรูปแบบการทำการค้าสากลที่เปลี่ยนแปลงไป การส่งออกไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันที่ในอดีตเคยมีอัตราสูงเด่นที่สุดนั้น วันนี้กลับไม่มีบทบาทเท่าเดิมเนื่องจากการส่งออกไปยังนอกภูมิภาค (71%) มีอัตราสูงพอๆ กับการส่งออกภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (70%) นอกจากนั้น ธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกที่จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากนอกประเทศ ปัจจุบันมีจำนวนถึง 62% ที่นำเข้ามาจากภูมิภาคอื่น เพิ่มสูงขึ้นจากอัตรา 26% ในปี 2558 อย่างเห็นได้ชัด ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small- and Medium-size Enterprises, SME) ในเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ในภาคการส่งออกต่างลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ และใช้ประโยชน์จากรูปแบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ เอสเอ็มอีจำนวนมากต่างยอมรับและปรับใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 โดยคาดว่าจะมีผู้หันมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 12 เดือนข้างหน้า[1]

ในส่วนของประเทศไทย ผลสำรวจจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยให้เห็นว่า ในปี 2561 เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตขึ้นราว 20% และคาดว่าในปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเป็น 24.6% พร้อมกันนี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลและส่งเสริมกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้จัดสรรงบประมาณจำนวนสูงถึง 1.2 พันล้านบาท (37 ล้าน เหรียญสหรัฐ) ในปี 2561 เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีให้มีความเติบโต ทั้งในส่วนของผู้ลงทุนและผู้กำหนดนโยบาย ตลอดจนผลักดันให้เกิดพัฒนาการด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ[2] ทั้งนี้ สสว. มีเป้าหมายที่จะยกระดับการตระหนักรู้ของเอสเอ็มอีในเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล และการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และช่วยส่งมอบประสบการณ์โดยรวมที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า

"รายงานข้อมูลเชิงลึกชิ้นนี้ ร่วมกับแรงขับเคลื่อนของรัฐบาลไทยในการสนันสนุนเอสเอ็มอี แสดงให้เห็นว่าการค้าออนไลน์กำลังจะพลิกโฉมหน้ารูปแบบการทำธุรกิจของโลกใบนี้ โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวพลักดันอยู่เบื้องหลัง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นผู้นำระดับโลกในเรื่องอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนแบบ B2C โดยมียอดการค้าในไตรมาสแรกของปี 2561 คิดเป็น 40% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซจากทั่วโลก"[3] จีน่า แกลวิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย กล่าว "สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ในภาพรวมถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับเอสเอ็มอี ธุรกิจส่งออกต่างๆ ในภูมิภาคล้วนให้ความสนใจ และมีแผนที่จะใช้เทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อช่วยรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น หรือการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น"

อีคอมเมิร์ซยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมการนำเข้าและส่งออก โดยเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกจำนวนสูงถึง 82% ใช้อีคอมเมิร์ซ (สูงขึ้นจาก 79% ในปี 2559) และ 58% ในจำนวนนี้ใช้อีคอมเมิร์ซเพื่อเป็นลู่ทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยใช้การส่งออก

ในประเทศไทย รายได้จากอีคอมเมิร์ซในปี 2561 ทั้งสิ้นมีจำนวน 7.03 พันล้านบาท[4] และคาดว่าจะสูงขึ้นอีกโดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (ปี 2561-2565) อยู่ที่ 13.2% ด้วยหลักการข้อหนึ่งของไทยแลนด์ 4.0 ที่ว่า "จะสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจผ่านระบบเศรษฐกิจมูลค่าเพิ่มที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการสร้างสรรค์" จึงทำให้เอสเอ็มอีไทยหลายรายเริ่มลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตต่อไปในต่างแดนได้[5]

"งานวิจัยชิ้นนี้ยืนยันความเชื่อที่เรามีมาโดยตลอดว่า สำหรับเอสเอ็มอีแล้ว เทคโนโลยีและโซลูชั่นซัพพลายเชนมีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า" จีน่า แกลวิน กล่าวเสริม

"เอสเอ็มอีหลายรายเริ่มมองหาผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ เพื่อให้มีส่วนช่วยในการปรับรูปแบบธุรกิจให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อช่วยในเรื่องการเจาะเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ในต่างแดน และสุดท้าย เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจว่า ธุรกิจของพวกเขาจะยังคงรักษาไว้ซึ่งความสามารถในเชิงการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน"

งานสำรวจและวิจัยนี้ถูกจัดทำขึ้นโดย Harris Interactive สนับสนุนโดยเฟดเอกซ์ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสสำหรับการส่งออกในตลาดโลก และความท้าทายต่างๆ ที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องเผชิญ การสำรวจเสร็จสิ้นในปีนี้ และเป็นผลมาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารทั้งสิ้นจำนวน 4,543 รายใน 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเวียดนาม ขนาดสำรวจอยู่ที่ราว 500 คนต่อตลาดจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลายหลายด้านขนาดของธุรกิจ โดยธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในการสำรวจมีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวนไม่เกิน 249 คน

เกี่ยวกับงานศึกษาวิจัย

Harris Interactive ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจเอสเอ็มอีผ่านทางออนไลน์และทางโทรศัพท์ จำนวน 4,543 คน ใน 17 ตลาด[6] ครอบคลุมสี่ภูมิภาคทั่วโลก[7] ในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน 2561 การสัมภาษณ์ถูกแบ่งสรรออกตามประเทศในจำนวนเท่าๆ กัน โดยสอบถามตัวแทนในบริษัทขนาดแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ขนาดเล็ก (มีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวน 1-9 คน) ขนาดย่อม (มีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวน 10-49 คน) และขนาดกลาง (มีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวน 50-249 คน) ขนาดสำรวจอยู่ที่ราว 500 คนต่อตลาด

เกี่ยวกับเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส

เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งแบบด่วนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยให้บริการรับส่งพัสดุที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ สู่ปลายทางกว่า 220 ประเทศทั่วโลก เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส มีเครือข่ายการขนส่งทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศทั่วโลก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจัดส่งพัสดุด่วนในเวลาจำกัด พร้อมทั้งรับประกันการคืนเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด[8]

เกี่ยวกับ เฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น

เฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น (มีชื่อเรียกในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า FDX) เป็นผู้ให้บริการขนส่ง อี-คอมเมิร์ซ และบริการด้านธุรกิจแก่ลูกค้าและธุรกิจต่างๆทั่วโลก บริษัทของเราให้บริการด้านธุรกิจครบวงจร โดยมีบริษัทในเครือที่ทำงานแข่งขันกันเป็นกลุ่มและบริหารจัดการด้วยความร่วมมือภายใต้แบรนด์เฟดเอ็กซ์ที่ได้รับความไว้วางใจ โดยมีรายได้ปีละ 49 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ไม่รวม TNT Express) บริษัทของเรายังได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้จ้างงานที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่ชื่นชอบสูงสุดของโลก เฟดเอ็กซ์สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมากกว่า 400,000 รายในการเป็นผู้ให้บริการขนส่งที่ยึดถือและปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย หลักจริยธรรม และความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ รวมถึงความต้องการของลูกค้าและชุมชน "อย่างแน่วแน่และถึงที่สุด" ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://about.fedex.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๒ บูติคนิวซิตี้ สนับสนุนนักออกแบบคนรุ่นใหม่ Collaboration แบรนด์ GSP X Alex ออก 2 คอลเลคชั่นพิเศษฮีลใจและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๑๖:๐๑ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบหน้ากากอนามัยฯให้รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า สมุทรสงคราม
๑๖:๔๘ ไวไว ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2567
๑๖:๑๘ งานสัมมนาออนไลน์ เปิดโลก Open Source Cloud ประตูบานใหม่ของโลกไอที
๑๖:๔๑ ม.ศรีปทุม ปิดจ๊อบ วุฒิปลอม พัฒนาระบบ Digital Transcript ตรวจสอบวุฒิออนไลน์ง่ายๆ ผ่านมือถือ
๑๖:๕๐ โครงการเพื่อสตรีของคาร์เทียร์ ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 33 คน ประจำปี 2024 เตรียมพร้อมประกาศรางวัลชนะเลิศ ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณะรัฐประชาชนจีน 22 พฤษภาคม
๑๖:๔๖ Cryptomind วิเคราะห์เจาะลึก Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 โอกาส? หรือกับดัก? นักลงทุน
๑๖:๔๖ 'อ้วน' ปัญหาเชิงมหภาค! แนะภาครัฐต้อง 'จัดการตรงจุด' แบ่งกลุ่มรักษา ย้ำ 'ประชาชน' คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาพดี
๑๖:๔๖ SPA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น E-AGM ประจำปี 2567
๑๖:๒๖ 'นวดกดจุด' หรือ 'นวดทุยหนา' (Tuina) ศาสตร์แพทย์แผนจีนที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต