ปภ.เตือนอันตรายจากการตกแต่งอาคาร...เพิ่มความเสี่ยงเพลิงไหม้

ศุกร์ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๐๘
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในงานตกแต่งอาคาร โดยผู้ปฏิบัติงานควรจัดเก็บอุปกรณ์ก่อสร้างไว้ในบริเวณที่ปลอดภัย ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่เดินสายไฟแบบชั่วคราว ห้ามทาสี หรือพ่นสีบริเวณที่มีการเชื่อมโลหะ ห้ามประกอบกิจกรรม ที่ก่อให้เกิดประกายไฟบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง จัดให้มีหม้อแปลงไฟฟ้าในพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงจัดให้มีที่กำบังสะเก็ดไฟ เพื่อป้องกันสระเก็ดไฟกระเด็นใส่สิ่งของ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ กรณีผู้ประกอบการ ควรกำหนดมาตรการป้องกันเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร มาตรการการควบคุมคนงานอย่างเข้มงวด และจัดอบรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย รวมถึงจัดฝึกซ้อมการอพยพหนีเพลิงไหม้ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า อาคารที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง ทาสี ซ่อมแซม หรือก่อสร้างใกล้เสร็จ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเพลิงไหม้ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในอาคารเป็นเชื้อเพลิง เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในงานตกแต่งอาคาร ดังนี้ ผู้ปฏิบัติงาน ควรจัดเก็บอุปกรณ์ก่อสร้างไว้ในบริเวณที่ปลอดภัย โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ ทินเนอร์ กาว และถังแก๊ส ควรเก็บให้ห่างจากจุดที่มีประกายไฟ หรือมีการเชื่อมต่อโลหะ เพื่อป้องกันสะเก็ดไฟกระเด็นไปติด ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สายไฟไม่ฉีกขาด ปูด บวม เปื่อยยุ่ย หรือมีรอยแตกร้าว เพราะเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ไม่เดินสายไฟฟ้าแบบชั่วคราว ไม่ใช้ชุดสายพ่วงต่อพ่วงกันหลายชั้น เพราะกระแสไฟฟ้าจะเกินขนาดพิกัดที่กำหนด ทำให้เกิดความร้อนสูง และเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร ห้ามทาสี หรือพ่นสีบริเวณที่มีการเชื่อมต่อโลหะ เนื่องจากประกายไฟจะทำปฏิกิริยากับทินเนอร์ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ห้ามประกอบกิจกรรม ที่ก่อให้เกิดประกายไฟบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง อาทิ สูบบุหรี่ ประกอบอาหาร จุดเทียน เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ จัดให้มีหม้อแปลงไฟฟ้าในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้า และป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เชื่อมโลหะอย่างปลอดภัย โดยจัดให้มีที่กำบังสะเก็ดไฟ หรือนำผ้ากันไฟมาคลุมวัสดุที่ติดไฟง่าย เพื่อป้องกันสะเก็ดไฟกระเด็นใส่ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ กรณีผู้ประกอบการ ควรกำหนดมาตรการป้องกันเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร โดยติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง หม้อแปลง แผงควบคุมไฟฟ้า และเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติในงานก่อสร้าง กำหนดมาตรการควบคุมคนงานอย่างเข้มงวด โดยแยกที่พักคนงานออกจากพื้นที่ก่อสร้าง ติดป้ายเตือนอันตรายห้ามไม่ให้ประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟบริเวณพื้นที่ก่อสร้างจัดอบรมเสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย เพื่อสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการป้องกันอัคคีภัย ฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตน และอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ การปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในงานตกแต่งอาคาร จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา