สุวิทย์ เสวนาหัวข้อ บทบาทของคณะวิทยาศาสตร์กับโครงการบัณฑิตเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC

จันทร์ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๘:๑๓
วันที่ (29 ตุลาคม 2561) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2561 โดยกล่าวเสวนาในหัวข้อ บทบาทของคณะวิทยาศาสตร์กับโครงการบัณฑิตเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC รวมทั้งความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับคณะวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์หลักของการจัดประชุม คือ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการทำกิจกรรมในประเด็นที่สนใจร่วมกันเพื่อผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพและสร้างกำลังคนทางวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพสูงให้กับประเทศ รวมทั้งเพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ทัดเทียมระดับนานาชาติ การรวมตัวเป็นเครือข่ายที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดคุณค่าที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการผลิตบัณฑิต การผลิตกำลังคนทางวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพสูง การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และการสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้า ด้านการวิจัยของประเทศ

ผลงานเด่นที่ประสบผลสำเร็จของที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้แก่ โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ , โครงการก่อตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , โครงการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์ , โครงการปรับเพิ่มห้องเรียนวิทยาศาสตร์ฯ และโครงการ วมว.

ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า "ในศตวรรษที่ 21 ประเทศจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเป็นหลัก ตามนโยบาย Thailand 4.0 อีกทั้งกระทรวงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ "กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม" ซึ่งจะเป็นกระทรวงที่จะเกิดขึ้นเพื่อเตรียมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 และปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมไทยไปสู่ฐานนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์เรื่องไทยแลนด์ 4.0 โดยจะเน้นนโยบายเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม" และได้กล่าวถึงภารกิจของกระทรวงใหม่ ประกอบด้วย 3 คีย์เวิร์ด ที่จะทำให้ตอบโจทย์เรื่อง 4.0 ประกอบด้วย

1.Future setting เป็นกระทรวงที่จะเชื่อมภาพปัจจุบันที่เราเป็นอยู่กับภาพอนาคตของประเทศ เพราะงานวิจัยคือองค์ความรู้ อาจเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิด หรือเกิดแล้วจะทำอย่างไรให้เกิดพลัง แล้วแปลงเป็นนวัตกรรม

2.Game changing โลกที่ถูก disrupt เราจำเป็นจะต้องเปลี่ยนกระบวนการความคิด แพลตฟอร์มต่าง ๆ จะอยู่แบบแฟลตฟอร์มเดิมไม่ได้ จะต้องเป็นกระทรวงที่สามารถทำงานบนโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และจะต้องนำเรื่องของ thinking และ doing เข้าด้วยกัน เพราะไม่อย่างนั้นจะถูก disrupt

3.Innovative Capacity Building คือ จะต้องสร้างงานสร้างคน ในลักษณะที่ตอบโจทย์ Innovation ให้ได้มากที่สุด เพราะเรื่องการศึกษาในยุค 4.0 คือ การเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม

ดร.สุวิทย์ สรุปไว้ว่า "เชื่อในคีย์เวิร์ด 3 คำนี้ว่า กระทรวงนี้จะต้องเป็นกระทรวงที่เชื่อมโยงไปสู่อนาคต เป็นกระทรวงที่จะทำให้เปลี่ยนแพลตฟอร์มที่จะทำให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ สามคีย์เวิร์ดนี้จะนำพาประเทศไทยไปสู่ 4.0 และเชื่อว่า มหาวิทยาลัย สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย จะตอบโจทย์ และจะเชื่อมภาพเหล่านี้ได้อย่างแท้จริง"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4