พลังแห่งความร่วมมือของครู สำคัญอย่างไรต่อการเชื่อมต่อชุมชนการเรียนรู้ที่แตกต่าง

ศุกร์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๔:๓๓
การดำเนินชีวิตของคนยุคดิจิทัลต้องใช้ศักยภาพที่แตกต่างของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการประกอบอาชีพ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามความสามารถที่แตกต่างระหว่างบุคคล คือได้ค้นพบและเพิ่มพูนศักยภาพที่แตกต่างระหว่างตนเองกับผู้อื่น อันนำไปสู่การทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมและประเทศครูถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบและแสดงออกถึงศักยภาพของตนเอง

Dr.Camilla Highfield ผู้อำนวยการพัฒนาและการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ คณะครุศาสตร์ จาก The University of Aucklandประเทศนิวซีแลนด์กล่าวในงานประชุมประชุมนานาชาติ มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 11 (EDUCA 2018) ที่อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Value of Teachers" หรือ "คุณค่าของครู" ในหัวข้อ "พลังแห่งความร่วมมือของครูสำคัญอย่างไร: กลยุทธ์สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบนิวซีแลนด์" ว่าในห้องเรียนที่มีความแตกต่าง เหมือนตัวแทนของสังคมที่มีความหลากหลาย แต่จะทำอย่างไรให้ความเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลได้รับการพัฒนาและประสานกันได้อย่างเข้มแข็ง นิวซีแลนด์จึงสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการศึกษาที่ดี โดยการรวมพลังแห่งความร่วมมือจาก ครู นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียน ทั้งการพัฒนาความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล หลักสูตรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เฉพาะตัว รวมทั้งมีการแบ่งปันประสบการณ์การทำงานระหว่างครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ดีและเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคนโดยผู้บริหารให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านการศึกษาอยู่เสมอ มีระบบจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการพัฒนานักเรียนครอบคลุมเชื่อมต่อทั้งเส้นทางการศึกษา ในการรวมเส้นทางการเรียนรู้จากปฐมวัยจนจบการศึกษาให้เป็นเส้นทางเดียวกัน ให้การสนับสนุนในช่วงการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนเห็นเส้นทางอาชีพของตนเองได้ โดยร่วมมือกับครอบครัว ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกัน และสร้างค่านิยมความเชื่อในสังคมของนักเรียน ทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนานักเรียน เป็นภาคส่วนหนึ่งกับกลุ่มชาติพันธุ์ในสร้างการเรียนรู้ มีความใกล้ชิดกับชุมชนและมีข้อตกลงในการสร้างกาเรียนรู้ของนักเรียนร่วมกัน พร้อมส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการแบ่งปันทรัพยากรที่มี ประสานการวางแผนและปรับปรุงพัฒนาแผนร่วมกัน และมีการส่งต่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการนี้หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ยังได้จัดสัมมนาพิเศษ "Teaching as Inquiry: เครื่องมือการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับครูผู้สอน" โดย Maree Brannigan จาก Massey University กล่าวว่า ครูเป็นหัวใจหลักด้านการศึกษา โอกาสและความก้าวหน้าของนักเรียนที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต ต้องผ่านการทำแบบฝึกหัดและการฝึกปฏิบัติจนเกิดความเชี่ยวชาญ ซึ่งครูที่ดีจะต้องมีแนวทางในการสอนที่ชัดเจน มีการสำรวจความต้องการของนักเรียน เริ่มต้นด้วยคำถาม สร้างความรู้ แล้วนำมาวางแผนการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้เด็กสามารถคิดได้รอบด้าน และมีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเอง พร้อมปลูกฝังให้นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการเรียน และการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม

และ "ถอดรหัสการศึกษานิวซีแลนด์สู่การเตรียมผู้เรียนสำหรับอนาคต" โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษานิวซีแลนด์ บอกว่าหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติของนิวซีแลนด์ (New Zealand Curriculum) มุ่งเน้นสร้างทักษะวิชาชีพในอนาคตของนักเรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและให้ขอบเขตแก่โรงเรียนในการนำหลักสูตรการการศึกษาแห่งชาติมาปรับใช้ในรูปแบบที่เหมาะกับโรงเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เรียนในหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชุมชนด้วย

นอกจากนี้ หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติของนิวซีแลนด์ (New Zealand Curriculum) ยังมุ่งเน้นการที่ครูให้ความสำคัญกับเด็กแต่ละคนเป็นการส่วนตัว ไม่ได้มองรวมๆ แต่ดูว่าเด็กแต่ละคนเหมาะกับอะไร มีศักยภาพอะไร ชอบอะไร โดยวางรากฐานมาตั้งแต่เข้าเรียน เมื่อนักเรียนโตขึ้นก็จะเลือกอะไรที่เหมาะกับตัวตนของตัวเอง ทำให้นักเรียนมีเส้นทางการศึกษาที่ชัดเจนต่อการประกอบอาชีพ โดยครูของนิวซีแลนด์จะมีบทบาทในการเตรียมความพร้อมนักเรียน 3 ด้านด้วยกันคือ

1. ครูคือใคร ครูคือผู้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน ให้กล้าคิดกล้าแสดงออก และกระตุ้นให้นักเรียนดึงศักยภาพของตัวเองออกมา โดยใช้พื้นที่การเรียนรู้ภายในโรงเรียนและชุมชนพัฒนาความเป็นตัวตนของนักเรียน

2. ครูทำอะไร ครูให้ทักษะที่เตรียมนักเรียนให้พร้อมในการออกไปเผชิญกับโลกภายนอก

3. ครูทำอย่างไร ครูจะต้องสร้างความท้าทายให้นักเรียนค้นพบศักยภาพและตัวตนของตนเองผ่านการใช้หลักสูตรที่สนับสนุนให้นักเรียนดึงศักยภาพนักเรียนออกมา โดยระบบการศึกษานิวซีแลนด์เอื้อต่อการเตรียมศักยภาพของเด็กตั้งแต่ประถมขึ้นไปจนถึงมัธยมศึกษา มุ่งเน้นวางรากฐานนักเรียนในวิชาพื้นฐานทั่วไปช่วงประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมต้น และในช่วงมัธยมปลายนักเรียนจะเรียนวิชาหลักบางส่วนและเลือกวิชาเฉพาะตามความสนใจที่เหมาะสมกับความเป็นตัวตนของเขา โดยมีทางเลือกให้มากกว่า 40 วิชา ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ค้นพบตนเองและดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ ดูได้ที่ www.studyinnewzealand.govt.nz

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?