เกษตรฯ พร้อมลุยคลินิกพืช ปี 62 พัฒนาหมอพืช 4 ภาค

จันทร์ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๔:๔๘
กรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมลุยคลินิกพืช ปี 62 พัฒนาหมอพืช 4 ภาค ป้องกันศัตรูผลผลิต ดีเดย์ขอนแก่นจังหวัดแรก

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การวินิจฉัยศัตรูพืช และการจัดการศัตรูพืชนั้น มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการเกษตรอย่างมาก ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตและจัดการสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด ตลอดจนให้บริการทางการเกษตร ตามสภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกร เช่น บริการตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำในการจัดการศัตรูพืช โดยในปีงบประมาณ 2562 กรมส่งเสริมการเกษตรวางแผนเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่อารักขาพืชอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอารักขาพืชได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ และให้คำแนะนำในฐานะหมอพืชแก่เกษตรกรได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

กรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านอารักขาพืชที่ชัดเจน โดยมีกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย เป็นศูนย์กลาง มีศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช 9 ศูนย์ กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านอารักขาพืชอยู่ในทุกอำเภอและจังหวัด ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 นี้

กรมส่งเสริมการเกษตรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่อารักขาพืช หลักสูตรการเป็นหมอพืชและการดำเนินงานคลินิกพืช โดยเริ่มจัดขึ้นที่ อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น ในระหว่างวันที่ 19-23 พฤศจิกายน 2561 และจัดจนครบทั้ง 4 ภาค ในต้นปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกำหนดแนวทาง การพัฒนา วางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการอารักขาพืชให้มีประสิทธิภาพเป็นทิศทางเดียวกัน

สำหรับ อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น มีการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการให้บริการคลินิกพืช ใน 3 จุด คือ จุดที่ 1 กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านโนนเขวา หมู่ที่ 3 ต.ดอนหัน จุดที่ 2 ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ที่ 8 ต.หนองตูม จุดที่ 3 แปลงใหญ่ไม้ผล (ฝรั่ง) หมู่ที่ 4 ต.บึงเนียม มีหมอพืชเข้าร่วมอบรม รวมทั้งสิ้น 109 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช สำนักงานเกษตรอำเภอและจังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ หนองคาย เลย ชัยภูมิ และสุรินทร์ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 4 จ.ขอนแก่น (สสก.ที่ 4) และ สสก.ที่ 7 จ.นครราชสีมา และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมสังเกตเรียนรู้อาการผิดปกติของพืชจากสาเหตุต่าง ๆ เทคนิค

การวินิจฉัยศัตรูพืช ความแตกต่างของการวินิจฉัยศัตรูพืชในแปลงและห้องปฏิบัติการ การจัดการศัตรูพืช การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืช ตลอดจนการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการให้บริการคลินิกพืช

ปัจจุบันประเทศไทยมีเนื้อที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 150 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่สำหรับการผลิตพืชมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด จำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรมีมากกว่า 7.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับการเข้าทำลายของศัตรูพืชทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้พืชอ่อนแอ ผลผลิตการเกษตรเกิดความเสียหายและมีปริมาณลดลง จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพในการจัดการศัตรูพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด และยกระดับมาตรฐานการผลิตของเกษตรกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ