ท่าเทียบเรือชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ท ต้อนรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุด ที่เคยเข้าเทียบท่าในประเทศไทย

อังคาร ๒๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๕:๓๔
ในภาพจากซ้ายไปขวา : กัปตัน คานะ อานีล ผู้ควบคุมเรือขนส่งสินค้าวัน โคลัมบา, มร. คิโยชิ โทโกะนามิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเชี่ยน เน็ตเวิร์ค เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย), ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม เพิ่ม ที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุน สำนักงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก, มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย, นายยุทธนา พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง, ฯพณฯ มร. ชิโระ ซาโดชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, ร้อยตำรวจตรี มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง และรักษาการแทน ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.), มร. ชินอิจิ ซูกิยามะ ผู้อำนวยการ บริษัท โอเชี่ยน เน็ตเวิร์ค เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย), นายสุรศักดิ์ เฑียรบุญเลิศรัตน์ ผู้อำนวยการ บริษัท โอเชียน เน็ตเวิร์ค เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย)

เรือขนส่งสินค้าวัน โคลัมบา (ONE COLUMBA) ของสายการเดินเรือ โอเชี่ยน เน็ตเวิร์ค เอ็กซ์เพรส (Ocean Network Express - ONE) น้ำหนักรวมระวางบรรทุกขนาด 145,647 ตัน เข้าเทียบท่าเทียบเรือชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ทในประเทศไทย

ท่าเทียบเรือชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ท เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกในประเทศไทยที่มีศักยภาพรองรับเรือขนส่งสินค้าที่มีความยาวรวมเกิน 350 เมตร

ท่าเทียบเรือชุด D เฟสแรกจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบต้นปี 2562 โดยจะเป็นท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย

[ชลบุรี, 27 พฤศจิกายน 2561] ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทย ต้อนรับเรือขนส่งสินค้าวัน โคลัมบา (ONE COLUMBA) ของสายการเดินเรือ โอเชี่ยน เน็ตเวิร์ค เอ็กซ์เพรส (Ocean Network Express - ONE) สินค้าที่มีน้ำหนักรวมระวางบรรทุกขนาด 145,647 ตัน เข้าเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือชุด D ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีเรือขนส่งสินค้าใหญ่ขนาดนี้เข้าเทียบท่าในประเทศไทย

เรือขนส่งสินค้าวัน โคลัมบาสามารถรองรับตู้สินค้าได้สูงสุดถึง 14,053 อีทียู (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) โดยมีความยาวตลอดลำ 364 เมตร มีความกว้าง 51 เมตร และมีน้ำหนักรวมระวางบรรทุกขนาด 145,647 ตัน ในโอกาสนี้

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ได้ใช้ปั้นจั่นที่ควบคุมการปฎิบัติงานจากระยะไกล (remote control technology) เพื่อนำตู้สินค้าจำนวน 2,269 ตู้ขึ้นเรือด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย

ท่าเทียบเรือชุด D จะเป็นท่าเทียบเรือแรกในประเทศไทยที่สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าทางทะเลมีที่มีความจุถึง 14,000 อีทียู โดยเมื่อเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือชุด D จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร ประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (super post panamax quay cranes) ใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางไฟฟ้า (electric rubber tyred gantry cranes) อีกจำนวน 43 คัน ที่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลหรือรีโมตคอนโทรลทั้งหมด ซึ่งท่าเทียบเรือชุด D จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างมหาศาลถึงราว 3.5 ล้านทีอียู

ท่าเทียบเรือชุด D ใหม่นี้ จะสามารถรองรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและทางเลือกให้กับลูกค้า ควบคู่ไปกับการยกระดับของประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือชุด D ถือเป็นส่วนสำคัญภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor - EEC) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทันสมัยผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

เกี่ยวกับฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (Hutchison Ports Thailand - HPT) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจขนส่งตู้สินค้าของประเทศไทย บริษัทฯ ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ลงมาเพียง 130 กิโลเมตร ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ให้บริการอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ รวมถึง บริการสถานีขนถ่ายสินค้า ระบบรถไฟขนส่งรางคู่และมีเส้นทางเชื่อมต่อที่ดีกว่าสู่ทางหลวงสายหลักเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางในที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีจุดให้บริการในแหลมฉบังอยู่ที่ ท่าเทียบเรือ A2 A3 C1 C2 D1 D2 และ D3

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นสมาชิกของกลุ่มฮัทชิสัน พอร์ท ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของบริษัท ซีเค ฮัทชิสัน โฮลดิ้งส์ จำกัด (CK Hutchison Holdings Limited) ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านท่าเทียบเรือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ฮัทชิสัน พอร์ท เป็นผู้ลงทุน พัฒนาและดำเนินกิจการด้านท่าเทียบเรือชั้นนำของโลก มีเครือข่ายท่าเทียบเรือถึง 52 แห่ง กระจายอยู่ใน 26 ประเทศทั่วโลก ทั้งใน เอเซีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ขยายกิจการครอบคลุมไปถึงธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ท่าเทียบเรือโดยสาร บริการท่าอากาศยาน ศูนย์กระจายสินค้า บริการขนส่งด้วยระบบรางและอู่ซ่อมเรือ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา