สหกรณ์การเกษตรในอุบลราชธานีพร้อมประสานเอกชนรับซื้อข้าวโพดหลังนาจากเกษตรกร เกษตรกรร่วมโครงการเกือบหมื่นราย พื้นที่ปลูกข้าวโพดกว่า 80,000 ไร่

พฤหัส ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๑:๔๒
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ณ บ้านหนองเม็ก ตำบลหนองบัวฮี อำเภอพิบูลมังสาหาร และเยี่ยมชมแปลงปลูกข้าวโพดของนางกลิสรา เคหะรมย์ บ้านใหม่ภูทอง ตำบลคันไร่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี

ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา โดยรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ชี้แจงกับเกษตรกรในพื้นที่ว่า โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป็นโครงการ ที่สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกันเพื่อให้เกิดการรวมกันผลิต รวมกันจำหน่าย มีตลาดรองรับ ที่แน่นอน โดยสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่จะมีบทบาทสำคัญในการดูแลสมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว และประสานกับภาคเอกชนเข้ามาเปิดจุดรับซื้อผลผลิตข้าวโพดจากเกษตรกรในทุกพื้นที่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา จำนวน 2 ล้านไร่ ใน33 จังหวัดทั่วประเทศ โดยรัฐบาลได้มีมาตรการจูงใจเกษตรกรให้สมัครเข้าร่วมโครงการโดยจัดสรรวงเงินสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้เกษตรกรกู้ยืมไปลงทุนไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ต่อราย อัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.01% โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 4% ต่อปี เก็บจากเกษตรกร 0.01% ที่เหลือ 3.99% รัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. เป็นเวลา 6 เดือน

ด้านนายสุพจน์ วัฒนวิเชียร สหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่เป้าหมายอยู่ที่ 100,000 ไร่ จากทั้งหมด 25อำเภอ ซึ่งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานชลประทานจังหวัด สำนักงานพัฒนาที่ดิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ มีการจัดเวทีชุมชนและเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ขณะนี้มีเกษตรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 9,467 ราย 11,080 แปลง 80,842.75 ไร่ ในเขตพื้นที่ชลประทาน 1,676.75 ไร่ นอกเขตชลประทาน 79,166 ไร่ ส่วนด้านการตลาด ได้ใช้สถานที่และอุปกรณ์การตลาดของสหกรณ์ในระดับอำเภอทุกสหกรณ์เป็นจุดรวบรวมผลผลิต มีการประสานบริษัทของเอกชน จำนวน 2 บริษัท คือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิวส์ จำกัด และบริษัทก้าวหน้าโภคภัณฑ์ จำกัด เพื่อกำหนดจุดรับซื้อ ราคา ตามนโยบายประชารัฐ โดยกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ กิโลกรัมละ 8 บาท ความชื้นไม่เกิน 14.50 % ณ จุดรวบรวมของสหกรณ์ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรหลังจากฤดูกาลทำนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ