กลุ่มที่ 2 เรื่อง “Agriculture and Food Value Chain : ไทยเท่ ไทยเท่าเทียม ไทยยั่งยืน”

อังคาร ๐๔ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๓๑
สถานการณ์ของธุรกิจเกษตรและอาหารของประเทศไทย

* ปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรของประเทศไทย เกิดจากเกษตรกร รายย่อยถือครองพื้นที่ขนาดเล็ก ทำการเกษตรแบบกระจัดกระจาย ประสบปัญหา ด้านต้นทุนการผลิตที่สูง ขาดอำนาจการต่อรองในกระบวนการผลิตและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และขาดโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่

* หากกล่าวถึงธุรกิจเกษตรและอาหารของไทย นับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดย สัดส่วนของภาคการเกษตรต่อ GDP ของประเทศไทย ในปี 2017 อยู่ที่ร้อยละ 8.2 และจำนวนแรงงานใน ภาคการเกษตร มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 11.78 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 31.5 ของแรงงานทั้งหมด และคิดเป็นครัวเรือนของประเทศไทยทั้งหมดมากกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือนทั้งหมดของประเทศ

* แต่ รายรับและรายจ่ายของครัวเรือนภาคการเกษตร สะท้อนให้เห็นยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานภาคการเกษตร อีกทั้ง ระดับราคาสินค้าเกษตรยังคงอยู่ในระดับต่ำ อันเนื่องมากจาก ปัญหาภัยทางธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด และขาดนวัตกรรมการพัฒนาการเกษตร เป็นต้น

* อย่างไรก็ดี ด้วยนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลด้านการพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหาร อาทิ 1) การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ 2) การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) 3) การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer 4) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ 5) การส่งเสริม Cluster สถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารไทยทั้งปี 2561 การส่งออก คาดว่าจะมีมูลค่า 1,070,000 ล้านบาท หรือ 33,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

* จากนโยบายรัฐบาลดังกล่าว หอการค้าไทย ได้ทำงานขับเคลื่อนในการพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันร่วมกับหน่วยงานภาครัฐมาตลอด โดย ปี 2561 เราได้ดำเนินการตามกรอบภารกิจเพื่อพัฒนา ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาธุรกิจเกษตร และอาหาร เพื่อยกระดับเกษตรและอาหารทั้ง Value Chain ของสมาชิก และประเทศชาติ โดยได้ขับเคลื่อนโครงการเร่งด่วน (Quick win) อาทิ

o โครงการเกษตรแปลงใหญ่ โดยได้ร่วมกับคณะทำงานประชารัฐ ด้านเกษตรสมัยใหม่ จำนวน 85 แปลง พื้นที่ 159,115 ไร่ สร้างมูลค่ารวม 631,498,291 บาท/ปี

o โครงการ 1 หอการค้า 1 สหกรณ์การเกษตร โดยมี สหกรณ์การเกษตรเข้าร่วมโครงการ ฯ จำนวน 157 สหกรณ์ และมีโมเดลสหกรณ์ต้นแบบที่ดำเนินงานร่วมกับหอการค้าจังหวัดเป็น Best Practice เพื่อเป็นตัวอย่างให้สหกรณ์อื่น ๆ จำนวน 16 สหกรณ์

o โครงการ 1 ไร่ 1 แสน โดยเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice) โดยยกเป็น Model ต้นแบบสามารถถ่ายทอด องค์ความรู้ให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจได้ จำนวน 18 ราย

o Thailand Food Innovation Forum ได้ดำเนินการจัดงาน Thailand Food Innovation Forum 2018 ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 3,000 คน โดยหอการค้าไทย เพื่อสร้างแรงงานบรรดาลใจให้กับผู้ประกอบการในการสร้างนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ

o โครงการส่งเสริมคลัสเตอร์กุ้งระบบการเลี้ยงปิดแบบน้ำหมุนเวียน อิงธรรมชาติ โดยได้ร่วมมือกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้คลัสเตอร์กุ้งระบบอิงธรรมชาติน้ำหมุนเวียน ณ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งสามร้อยยอด-ปราณบุรี จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมทั้ง ขยายผลโครงการฯ ไปยังสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำจันทบุรี จำกัด

o โครงการส่งเสริมเลี้ยงโคเนื้อมาตรฐาน GFM โดยได้ขับเคลื่อนร่วมกับหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ เพื่อวางแผนส่งเสริมฟาร์มมาตรฐาน GFM (Good Farming Management)

o ยุทธศาสตร์ผลไม้ครบวงจร ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ร่วมกับเครือข่าย เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแก่เกษตรกรจากการจำหน่ายผลไม้เกรดพรีเมี่ยม และสร้าง ตลาดกลางค้าผลไม้ จังหวัดจันทบุรี

o โครงการมาตรฐาน ThaiGAP ได้ร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร เพื่อสามารถดำเนินการตรวจร่วม แบบ 2 in 1 ทั้งมาตรฐาน ThaiGAP และ QGAP และกำลังดำเนินการจัดทำมาตรฐาน ThaiGAP Green Coffee Standard

o โครงการการปรับปรุงการทำประมงปูม้าของไทยอย่างยั่งยืน โดยได้จัดทำแผนบริหารจัดการประมงปูม้า (BSC Fishery Management : BSC FMP)

* ซึ่ง หอการค้าไทย จะขับเคลื่อนและขยายผลโครงการต่างๆ ที่กล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

* ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยที่ 2 ครั้งนี้ ได้กำหนดหัวข้อ เรื่อง "Agriculture and Food Value Chain : ไทยเท่ ไทยเท่าเทียม ไทยยั่งยืน""

* หอการค้าไทย มีความคาดหวังที่จะส่งเสริมธุรกิจเกษตรและอาหารของไทย สู่ Global Value Chains : ประเทศไทย 4.0 ตั้งแต่ ต้นน้ำ คือ การร่วมมือกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ในมิติต่างๆ กลางน้ำ คือ การบูรณาการ ในการดูแลถ่ายทอดความรู้วิชาการ การพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจัดการคุณภาพสินค้า เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรไทย และ ปลายน้ำ คือ การส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร และหาช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศให้สมาชิกผู้ประกอบการหอการค้าทั่วประเทศสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อน ดังนี้

* 1) ด้านการส่งเสริมการผลิต โดยส่งเสริมการพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อาศัยเครือข่ายหอการค้าไทยที่มีศักยภาพทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ตลอดจน การขยายตลาดในและต่างประเทศร่วมกัน ซึ่งหอการค้าไทย จะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อส่งเสริมสมาชิกผู้ประกอบการ ดังนี้

o 1.1) หอการค้าไทยจะลงนามความร่วมมือกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ ทั้งทางด้านการผลิต การตลาด และอื่นๆ

o 1.2) โครงการ Big Brother ภาคการเกษตร

o 1.3) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการปลูกพืชที่มีระดับราคาสูง เพื่อยกระดับรายได้ของภาคเกษตรกร

* 2) ด้านนวัตกรรมและการแปรรูป โดยมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภาพและการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม (Value Added) จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีความหลากหลาย ผ่านการวิจัยและพัฒนาให้มีนวัตกรรม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเครือข่ายภาคธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

o 2.1) หอการค้าไทยจะลงนามความร่วมมือกับสถาบันอาหาร ผ่านโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรม

o 2.2) หอการค้าไทยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาสินค้าเกษตรด้วยการนำนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสมุนไพร

* 3) ด้านการตลาด โดยหอการค้าไทย ให้ความสำคัญกับ "การตลาดนำการผลิต" เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยการขับเคลื่อนดังนี้

o 3.1) สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดใหญ่ ในการนำสินค้าเกษตรไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในประเทศ

o 3.2) สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศในการนำสินค้าเกษตรกรไปสู่ตลาดโลก

o 3.3) สร้างเครือข่ายระหว่างหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด ในการกระจายสินค้า เพื่อลดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด

o 3.4) ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตร เพื่อกระจายรายได้ไปยังครัวเรือนภาคเกษตร และสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน o 3.5) ส่งเสริมขยายช่องทางการตลาดสินค้าสมุนไพร เพื่อแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม และเน้นเจาะกลุ่ม Niche Market

* ท้ายที่สุดนี้ การขับเคลื่อนโครงการต่างๆ หอการค้าไทย ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา มาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ รวมทั้งนโยบายเกษตรเข้มแข็งของนายกรัฐมนตรี เพื่อจะนำไปสู่สร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรของไทยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการทุ่มเทให้ภาคเกษตรไทยเท่ อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน