สคช.ปั้นมืออาชีพด้านโลจิสติกส์ระยะ 3 เก่งบริหารจัดการและไอที

พฤหัส ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๐๙
สคช.เดินหน้าจัดทำมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ซึ่งเป็น 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยภาระกิจในระยะที่ 3 มุ่งเน้นการสร้างความพร้อมและการเพิ่มทักษะของบุคคลากรในส่วนต้นน้ำ ด้านการบริหารจัดการทั้งห่วงโซ่อุปทาน และการปรับตัวในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีมาตรฐานและตอบโจทย์ในเชิงธุรกิจที่สอดคล้องกับบริบทของโลกในยุคดิจิทัล

นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือ สคช. เปิดเผยว่า โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ถือเป็นพันธกิจที่สำคัญ และเป็นต้นน้ำที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

หลังจาก สคช. จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 22 อาชีพ 61 คุณวุฒิวิชาชีพ และระยะที่ 2 ทั้งหมด 44 อาชีพ 122 คุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะบุคคล ให้มีมาตรฐานรองรับอาเซียนและสากล โดยการจัดทำมาตรฐานฯ ครอบคลุมในกิจกรรมที่เป็น Base Function ที่เชื่อมโยงตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาจัดจ้าง การจัดการคลังสินค้า สินค้าคงคลัง การกระจายสินค้า การขนส่ง การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การจัดการส่งออก นำเข้า และโลจิสติกส์ย้อนกลับ

สำหรับความคืบหน้าโครงการใน ระยะที่ 3 ที่กำลังจะแล้วเสร็จนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ และเอกชน เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนทั้งด้านโลจิสติกส์ฝั่งการผลิตและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอาชีพ มาร่วมเป็นคณะรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ การจัดทำและส่งเสริมมาตรฐานอาชีพ ระยะที่ 3 มองในเชิง Adaptive Function เพื่อตอบโจทย์ในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนต้นน้ำ ตั้งแต่การรับข้อมูลความต้องการสินค้าจากลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการผลิต และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระบบโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน สอดคล้องกับบริบทของโลกในยุค Internet of Things (Iot) เป็นการเพิ่มสมรรถนะให้แก่กลุ่มบุคคลที่ปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และกลุ่มคลังสินค้าและการขนส่ง เพื่อให้มีความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

นายพิสิฐ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีการปรับเปลี่ยนโครงการสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งยกระดับแรงงานให้มีทักษะที่สูงขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบโลจิสติกส์ ซึ่งจัดอยู่ในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของบุคลากร ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะยกระดับของบุคลากรในอาชีพโลจิสติกส์

อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของฝั่งการผลิตและฝั่งการบริการของโลจิสติกส์ จากงานสัมมนา "Thailand Logistics and Supply Chain Outlook for 2020" ที่มองถึงแนวโน้มและอนาคตของคนในวงการซัพพลายเชน และโลจิสติกส์ จะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการนวัตกรรมหรือการเพิ่มมูลค่าด้านเทคโนโลยีอย่างไรบ้างนั้น นายธเนศร เนื่องจำนงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส (ซัพพลายเชน) บริษัท สรรพสินค้า เซ็นทรัล กล่าวว่า เพราะเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นต้นเหตุให้พฤติกรรรมและความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปมีความเป็นปัจเจกบุคคล ความง่าย ความรวดเร็ว ซึ่ง 3 อย่างที่ลูกค้าคาดหวัง และกลายเป็นหัวใจสำคัญที่คนซัพพลายเชน ต้องเข้าใจและตระหนัก ในวันนี้ด้วยความเร็วของเทคโนโลยีที่กำลังมาถึง ส่งผลทำให้ผู้นำด้านการตลาดต่างๆ นำเทคโนโลยีดิจิทัล บิ๊กดาต้า และ AI มาประยุกต์ใช้ในซัพพลายเชน เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการให้บริการและส่งมอบสินค้าให้ กับลูกค้าที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

" สำหรับการรับมือกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และสิ่งที่คนในสายงานซัพพลายเชนต้องเตรียมตัว คือ การโฟกัสที่ลูกค้า ซัพพลายเชน เน็ทเวอร์ค คือ วันนี้เราช่วยเขา วันหน้าเขาจะช่วยเรา Mind Set ที่รับกับความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา มีทักษะและความสามารถที่หลากหลาย เพราะเมื่อตลาดเปลี่ยนเร็วเราในฐานะบุคคลต้องเปลี่ยนเร็วด้วย " นายธเนศร กล่าว

นายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวถึงธุรกิจ โลจิสติกส์ของไทยว่า จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างแน่นอน เพราะแนวโน้มธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปเป็น B2C ลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย รวดเร็ว รวมทั้งสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ผนวกกับการเข้ามาของดิจิทัลที่ทำให้ต้นทุนทางเทคโนโลยีลดต่ำลง แต่มีประสิทธิภาพสูง และพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ โลจิสติกส์แบบดั้งเดิมจะต้องมีการปรับตัว มาเป็นแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส และจำเป็นต้องเชื่อมโยงกันและกันให้ได้ เพราะเน็ตเวิร์คเป็นหัวใจของการให้บริการ

สำหรับการรับมือของเอสซีจีนั้นพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการนวัตกรรมหรือการเพิ่มมูลค่าด้านเทคโนโลยี โดยมีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลเพิ่มขึ้น เพื่อให้เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการกับทุกธุรกิจ อาทิ Chatbot, RPA, Object Recognition การใช้โดรน เทคโนโลยี VR แม้แต่เทคโนโลยี Block chain อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนในสภาวะนี้ก็คือ ต้องตระหนักถึง Cyber Security เพื่อดูแลฐานข้อมูลสำคัญของลูกค้าให้มีความปลอดภัยสูงสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024