10 ข้อต้องรู้ของ PBIC มธ. คณะอินเตอร์สายสังคมศาสตร์มาแรง

พฤหัส ๐๓ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๓:๓๖
หากพูดถึงคณะสายสังคมศาสตร์ หลายคนอาจจะนึกถึงคณะนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือนิเทศศาสตร์ มาเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนมาอย่างยาวนาน อีกทั้งมีรูปแบบการเรียนการสอนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคณะแต่สำหรับใครที่รู้ตัวว่าเป็นเด็กหัวใจสายสังคมศาสตร์แล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะกับสังคมศาสตร์แขนงไหน วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับคณะสายสังคมศาสตร์อีกหนึ่งคณะ ที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนสายสังคมศาสตร์หลากหลายแขนง ด้วยการเรียนแบบ Area Study ในพื้นที่ที่กำลังมาแรงอย่างจีน อินเดีย รวมถึงไทย เรียกได้ว่าเป็นการเรียนสายสังคมที่เจาะลึกและรอบด้านในคณะนี้ที่เดียว

และคณะที่ว่านี้ก็คือ "วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม "PBIC" นั่นเอง ฟังจากชื่อแล้ว หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า PBIC จะมีการเรียนการสอนเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิว 10 ข้อ ที่จะทำให้คุณรู้จัก PBIC จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. ชื่อเป็นวิทยาลัย แต่ก็เป็นหนึ่งคณะในธรรมศาสตร์ หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์" เหตุผลหลักก็เพราะ ศาสดาจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ นั้นเป็นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวงการสังคมศาสตร์ของประเทศไทย PBIC จึงสดุดีอาจารย์ปรีดีด้วยการตั้งชื่อคณะตาม อ.ปรีดี และมีปณิธานที่จะปลุกปั้นบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสายสังคมศาสตร์อย่าง อ.ปรีดี นั่นเอง

2. ติดเครื่องมือความรู้ทางครอบคลุมถึง 5 สาขา จะมัวลังเลทำไมว่าสังคมศาสตร์สาขาไหนที่เหมาะกับเรา ในเมื่อที่ PBIC ให้โอกาสนักศึกษาได้เรียนรู้สังคมศาสตร์ที่บูรณาเข้าด้วยกันถึง 5 สาขา ไม่ว่าจะเป็น สังคมวิทยา การเมืองการปกครอง หรือรัฐศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม การจัดการและการใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเศรษฐศาสตร์ หรือกลไกทางเศรษฐกิจ ถือเป็น 5 สาขา ที่ทันสมัยอย่างยิ่งสำหรับการเรียนด้านสังคมศาสตร์ในรูปแบบสหวิทยาการ

3. หลักสูตรอินเตอร์ พร้อมต้องรู้ภาษาที่ 3 นอกจากการเรียนรู้ที่กว้างผ่าน 5 สาขาด้านสังคมศาสตร์ (SPADE) ที่ PBIC ยังมีความโดดเด่นในเรื่องการเรียนแบบ area study ในหลักสูตรจีนศึกษา (Chinese Study) อินเดียศึกษา (India Study) และไทยศึกษา (Thai Study) ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละหลักสูตรนอกจากจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษแล้ว สำหรับหลักสูตรจีนศึกษา และอินเดียศึกษายังได้เรียนภาษาที่ 3 โดยอาจารย์เจ้าของภาษาอีกด้วย

4. คลาสสิคกับตึกเรียนในบรรยากาศ มธ. ท่าพระจันทร์ ถ้านึกถึงความเป็นธรรมศาสตร์ สิ่งแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้นท่าพระจันทร์ ซึ่งแน่นอนว่า PBIC เองก็ตั้งอยู่ที่แคมปัสท่าพระจันทร์เช่นกัน ถ้าเรียนที่นี่รับรองว่าจะได้อินกับความเป็นธรรมศาสตร์ยิ่งขึ้นไปอีก อีกทั้งศูนย์ท่าพระจันทร์ยังมีการเดินทางสะดวกสบาย รายล้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว และย่านของกินชื่อดังอีกด้วย

5. Pathway to มหาวิทยาลัย Top Five ของเอเชีย ความฝันในการเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยระดับท็อปๆ ของจีนทั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น จะไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป เพราะถ้าเรียนจีนศึกษา PBIC ก็จะมีโอกาสไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่ดินแดนมังกรถึง 1 เทอมเต็มๆ ถือเป็นหนึ่งในหลักสูตรที่โดดเด่นมากๆ ของที่นี่เลยล่ะ

6. แสวงบุญถึงอินเดีย พร้อมโอกาสศึกษาแลกเปลี่ยนสุดเก๋ไม่เหมือนใคร จะมีสักกี่คนที่พูดได้ว่ามีประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนถึงดินแดนภารตะ แน่นอนว่าหลักสูตรอินเดียศึกษา PBIC ให้โอกาสนั้นกับนักศึกษาอินเดียศึกษา ได้บินลัดฟ้าไปใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่อินเดียเก๋ๆ เป็นเวลา 1 เทอมเต็มๆ เช่นกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยคู่สัญญาที่อินเดียก็คัดมาแล้วว่ามีชื่อเสียงที่โด่งดังและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด การันตีจากรุ่นพี่ที่เคยไปแลกเปลี่ยนมาแล้ว ตัวอย่างมหาวิทยาลัยคู่สัญญาของ PBIC ที่อินเดีย เช่น มหาวิทยาลัยจันดิการ์ และมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีการ์ เป็นต้น

7. เป็นศิษย์สำนักเดียวกับอองซาน ซูจี ที่สกูลสังคมศาสตร์ระดับโลก "SOAS" สำหรับหลักสูตรไทยศึกษาเอง ก็มีการส่งออกนักศึกษาให้ได้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศเช่นกัน โดยสำหรับหลักสูตรนี้ PBIC กำลังพัฒนาความร่วมมือโครงการ double degree ร่วมกับมหาวิทยาลัยด้านสังคมศาสตร์ระดับท็อปของโลกอย่าง SOAS, University of London ซึ่งมีชื่อเสียงด้าน area study ในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะ อีกทั้งบุคคลระดับโลกที่มีชื่อเสียงมากมายก็เป็นศิษย์เก่าที่นี่อีกด้วย

8. เรียนกับปรมาจารย์ด้านสังคมศาสตร์ทั้งไทยและต่างชาติ ที่ PBIC รวบรวมคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านสังคมศาสตร์ทั้งชาวไทย และต่างชาติ มาสอนนักศึกษาทุกหลักสูตร รับรองว่าเรียนที่นี่จะได้เป็นศิษย์ปรมาจารย์ชื่อดัง การันตีเรื่องการเรียนการสอนที่เข้มข้นสมเป็นเด็กธรรมศาสตร์แน่นอน

9. มีวิชาสุดว้าว ที่มากกว่าสายสังคมศาสตร์ นอกจากการเรียนที่อัดแน่นด้านสังคมศาสตร์ของ PBIC แล้ว ที่นี่ยังมีวิชาเลือกอื่นๆ ตามความสนใจของนักศึกษา อย่างคนที่สนใจทำธุรกิจระหว่างประเทศก็มีวิชาการเจรจาธุรกิจ การบริหารการตลาดของจีนและอินเดีย ศิลปะในการนำเสนอและพูดในที่สาธารณะ หรือคนที่สนใจด้านภาษาเป็นพิเศษก็สามารถเลือกเรียนวิชาด้านภาษาอย่าง การอ่าน การแปล หรือการเขียน ในขั้นสูงเพิ่มขึ้นได้

10. โอกาสประกอบอาชีพที่หลากหลาย อย่างที่ได้กล่าวมาว่าถึงแม้ PBIC จะเป็นวิทยาลัยด้านสังคมศาสตร์ แต่ก็มีวิชาที่เปิดสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของนักศึกษาอย่างรอบด้านตามความสนใจ คนที่เรียนจบจากที่นี่จึงมีโอกาสประกอบอาชีพหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการและบุคคลากรในภาคเศรษฐกิจต่างๆ นักธุรกิจระหว่างประเทศ สื่อสารมวลชน นักแปล ล่าม นักเขียน เป็นต้น โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างรอบด้านในบริบท จีน อินเดีย และอาเซียน ถือว่าคนที่จบ PBICมาจะมีโอกาสอย่างมาก

สำหรับน้องๆ มัธยมปลายที่สนใจรายละเอียดหลักสูตรของ PBIC สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.pbic.tu.ac.th สอบถามโทร. 0-2613-3720 หรือ facebook.com/PBIC.TU

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4