ธรรมศาสตร์ เปิดโมเดลนวัตกรรมทางสังคม ด้วยฝีมือเยาวชนไทย ชู 5 ไอเดียนวัตกรรมสุดล้ำ แปลงบทบาทเยาวชนในชุมชน สู่ผู้นำการเปลี่ยนของชาติในอนาคต

จันทร์ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๓:๑๐
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชู 5 โมเดล นวัตกรรมทางสังคมจากไอเดียเยาวชน ภายใต้ "โครงการพัฒนารูปแบบตำบลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน" ได้แก่ โมเดลตำบลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน โมเดลหลักสูตรท้องถิ่นห้องเรียนชุมชน โมเดลศูนย์บ่มเพาะนวัตกรท้องถิ่น โมเดลศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชน และโมเดลกองทุนคนรุ่นใหม่พัฒนาท้องถิ่น โดยโมเดลดังกล่าวจะนำไปใช้ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ "SIY" กว่า 30 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นกลไกการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างยั่งยืนจากพลังของเยาวชน

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ โครงการ Social Innovation & Youth คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีเมล [email protected] หรือเข้าไปที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/SIYPROJECT/

รองศาสตราจารย์ ชานนท์ โกมลมาลย์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนารูปแบบตำบลส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของสภาเด็กและเยาวชน และอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมสงเคราะห์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ได้พัฒนายุทธศาสตร์เยาวชนกับนวัตกรรมทางสังคม ภายใต้ "โครงการพัฒนารูปแบบตำบลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน" (Social innovation and youth) หรือ "SIY" เพื่อพัฒนาเยาวชนผ่านการเปลี่ยนมุมมองการพัฒนา โดยเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแสดงออกสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาต่างๆ

ทั้งนี้ตั้งแต่ดำเนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบนวัตกรรมทางสังคมที่ผ่านการระดมความคิดเห็นจากตัวแทนเยาวชนทั่วประเทศ ที่ร่วมกันคัดเลือกจนเหลือ 5 โมเดล เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง 5 โมเดล ดังนี้

- โมเดลตำบลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน จึงได้กำหนดบทบาทของ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ จัดสรรงบประมาณ เฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงในชุมชน ที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดกลไกการพัฒนาร่วมกันอย่างแท้จริง

- โมเดลหลักสูตรท้องถิ่นห้องเรียนชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน นอกห้องเรียนและเพื่อเปิดโอกาสให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์การสร้าง "หลักสูตรท้องถิ่นห้องเรียนชุนชน" จึงควรได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับ "ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21" คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การปรับใช้และการยืดหยุ่น เข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและโลก รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร มีความเป็นผู้นำ การเป็นพลเมืองที่ดี มีทักษะการสื่อสารอย่างเข้าใจทั้งการพูดและการเขียน มีความรับผิดชอบต่อสังคม รู้เท่าทันเทคโนโลยี และมีทักษะการคิดริเริ่ม

- โมเดลศูนย์บ่มเพาะนวัตกรท้องถิ่น จัดตั้งพื้นที่แห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน สร้างโอกาส ลดปัจจัยเสี่ยง มีส่วนในการรับผิดชอบคุณภาพชีวิตของชุมชน ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักวางแผน มีความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาในชุมชน ตลอดจนการลงมือทำจริงตามแผน

ที่วางไว้ โดยมีผู้ใหญ่คอยสนับสนุน ช่วยเติมเต็มในระหว่างการทำงาน จนสามารถขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ถือเป็นจุดแข็งของการพัฒนางานท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง

- โมเดลศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชน เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างเด็กและเยาวชนในพื้นที่ กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเสนอแนะปัญหา รวบรวมเครือข่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม สร้างกลไกการพัมนาเด็กและเยาวชนอย่างมีส่วนร่วม โดย อปท. ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น แนะนำ รับฟังข้อเสนอแนะ เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและผู้อื่น ตลอดจนเป็นกระบอกเสียง สะท้อนปัญหา และส่งต่อไปยังคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนต่อไป

- โมเดลกองทุนคนรุ่นใหม่พัฒนาท้องถิ่น กองทุนดังกล่าวจะเป็นกองทุนน้องใหม่ที่น่าจับตา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนากองทุนเพื่อให้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนผู้ทำงานด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่ในรูปแบบ "กองทุนคนรุ่นใหม่พัฒนาท้องถิ่น" จึงถือเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการส่งเสริมผลักดัน เปิดพื้นที่ให้แก่เด็กและเยาวชนตลอดจนสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล เพื่อแสดงศักยภาพของตนให้เป็นที่ประจักษ์จนเกิดการยอมรับ และความภาคภูมิใจของบุคคลต่างๆ ในท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม โมเดลดังกล่าวจะนำไปใช้ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ "SIY" กว่า 30 แห่งทั่วประเทศ ได้เลือกโมเดลนวัตกรรมทางตามสูตร 1+4 คือ โมเดลที่ 1 ซึ่งจะเป็นโมเดลแกนกลางที่จะนำไปใช้ในทุกชุมชน และโมเดล ที่ 2 - 5 จะได้รับการเลือกนำไปทดลองใช้ตามความต้องการชุมชนนั้นๆ โดยจะมีการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานเป็นระยะ เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางสังคม รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ตั้งเป้าให้ท้องถิ่นที่ร่วมโครงการฯ บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนงานที่วางไว้ ภายในเดือนกันยายน 2562

โครงการ SIY จะเปลี่ยนชีวิตเด็กๆ ในชุมชนให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เด็กนอกระบบ

เด็กหลังห้อง ที่หลายคนไม่อยากร่วมงานด้วยแล้ว ได้แสดงศักยภาพของตนเอง พลิกบทบาทสู่การทำประโยชน์ในชุมชนมากขึ้น

ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานของไทยกำลังมุ่งผลักดันนวัตกรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ โครงการดังกล่าว จะเข้ามาช่วยเติมเต็ม สร้างนวัตกรทางสังคม ที่เริ่มจากการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไปจนถึงการการสร้างกลไกการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ทักษะนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดสร้างนวัตกรรมด้านอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ในท้องถิ่นช่วยสนับสนุนเติมเต็มจนสำเร็จได้ตามเป้าหมาย รองศาสตราจารย์ ชานนท์ กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ โครงการ Social Innovation & Youth คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีเมล [email protected] หรือเข้าไปที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/SIYPROJECT/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4