ก.แรงงาน ขับเคลื่อน 3A เพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ Super Worker

อังคาร ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๒๗
ก.แรงงาน ขับเคลื่อนนโยบาย 3A เพิ่มผลิตภาพแรงงานแก่ผู้ประกอบกิจการ SMEs กลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชน เพิ่มกำไร ลดต้นทุนในวงจรการผลิต

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลภาพรวม SMEs ในประเทศไทย ปี 2560 มี SMEs กว่า 3 ล้านราย (ครอบคลุมการจ้างงาน มากกว่า 11 ล้านคน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมมากกว่า 5 ล้านล้านบาท/ปี ดังนั้น การช่วยเหลือ SME เป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วน เพื่อเป็นการวางรากฐาน สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี กระทรวงแรงงาน จึงจัดทำโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่ SMEs 4.0 ขึ้น เพื่อช่วยเหลือกลุ่ม SMEs ดังกล่าว

กระทรวงแรงงานได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบกิจการ SME ผ่านกระบวนการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ขยายการให้บริการภาครัฐ ให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบกิจการ SMEs กลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชน จำนวน 228 แห่ง พัฒนากำลังแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ (Super. Worker) จำนวน 15,000 คน โดยกลุ่มเป้าหมายจะประกอบด้วย ผู้ประกอบกิจการ SME/OTOP/วิสาหกิจชุมชน ที่มีลูกจ้างหรือสมาชิก ไม่เกิน 200 คน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์จากการให้คำปรึกษาเชิงลึกจากที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดการสูญเสีย ลดต้นทุน ลดกระบวนการในวงจรการผลิต โดยจะให้คำแนะนำตลอดระยะเวลา 210 วัน พร้อมทำหน้าที่ร่วมกับบุคลากรของสถานประกอบกิจการวิเคราะห์งาน เพื่อแก้ไขปัญหาในกระบวนงานต่างๆ ร่วมกันจัดทำหลักสูตรและจัดฝึกอบรมให้ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบกิจการ

ผลการดำเนินการโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานที่ผ่านมา 6 ปี (2556 – 2561 พัฒนาทักษะแรงงานกว่า 85,400 คน มูลค่าเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดการสูญเสียในวงจรการผลิต จำนวน 5,400 ล้านบาท/ปี ให้กับสถานประกอบกิจการ จำนวน 1,103 แห่ง

นายมูฮัมหมัด เมฆรอย เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนม เล่าว่า เมื่อ 20 กว่าปีก่อนประกอบอาชีพทำการเกษตรปลูกผัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงหันมาเลี้ยงแพะนม ก่อนเข้าร่วมโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานพบปัญหามีปริมาณน้ำนมแพะเกินความต้องการของตลาด จึงสมัครเข้าร่วมโครงการในปี 2561 หลังจากนั้นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 4 ราชบุรี จัดส่งเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญ ให้คำแนะนะในการนำน้ำนมแพะที่เกินความต้องการไปแปรรูป เพื่อจำหน่ายต่อ ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ชีสนมแพะ เนยนมแพะ นมข้นหวานจากนมแพะ เป็นต้น ปริมาณนมแพะที่ได้แต่วันถูกนำไปจำหน่ายและแปรรูปทั้งหมด ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 15%

ผู้ประกอบกิจการที่สนใจ อยากเข้าร่วมโครงการนี้ สามารถติดต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ในสังกัดของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั่วประเทศ หรือเว็ปไซต์ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th หรือสายด่วน 1506 กด 4

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ