วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ ผุดไอเดียล้ำรับมืออนาคต เปิดตัวคอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ น้ำหนักเบา กันความร้อนได้ดี ลดการระเบิดหิน ลดปัญหาฝุ่นละออง

อังคาร ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๑:๒๘
TSE แนะทางออกรับมือปัญหาขยะเล็กทรอนิกส์ พลิกโฉมสู่วัสดุก่อสร้าง รับเทรนด์การออกแบบบ้านยุคใหม่ ดีไชน์ได้หลากหลายฟังก์ชั่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasart School of Engineering : TSE) เปิดตัวคอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดีไชน์รูปทรงได้หลากหลายฟังก์ชั่น น้ำหนักเบา กันความร้อนได้ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การออกแบบที่อยู่อาศัยยุคใหม่ ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาขยะจากเครื่องใช้ไฟฟ้าล้นเมืองกว่า 400,000 ตันต่อปี

โดยนวัตกรรมดังกล่าวยังช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองการผลิตจากแบบเดิม ที่ต้องระเบิดภูเขาหินปูน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ Facebook fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

รองศาสตราจารย์ ดร.บุรฉัตร ฉัตรวีระ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า คณะฯได้พัฒนา นวัตกรรม "คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์" เกิดจากการนำ องค์ประกอบของขยะเหลือใช้ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีองค์ประกอบของ ทองแดง เงิน ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก ไฟเบอร์กลาส และพลาสติก มาเข้าสู่กระบวนการบดย่อยซากเป็นผงลามิเนต ซึ่งสามารถนำมาผสมกับปูนซีเมนต์ในสัดส่วน 1:1 แล้วขึ้นรูปเป็นคอนกรีตตามขนาดที่ต้องการ ทำให้ได้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี โดยคอนกรีตดังกล่าวสามารถนำมาออกแบบรูปทรงได้หลากหลาย ตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง เช่น บล็อกผนัง บล็อกทางเดิน เซรามิก แผ่นพื้น ไปจนถึงวัสดุตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ แจกัน เป็นต้น

ปัจจุบัน TSE เตรียมต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ สู่การนำไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่า หรือใกล้เคียงกับราคาอิฐมวลเบาที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภค โดยคาดหวังให้นวัตกรรมนี้ช่วยพลิกโฉมขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยที่มีปริมาณมากถึง 400,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งานจำกัด เมื่อพังแล้วต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการนำวัสดุดังกล่าวไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และยังใช้วิธีการกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ หรือถูกนำไปทิ้งกองไว้ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในรอบบริเวณโดยรอบ

ทั้งนี้ จากปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปัจจุบัน ทำให้หลายประเทศมุ่งคิดค้นวัสดุที่ช่วยลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยนวัตกรรม "คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์" สามารถพลิกโฉมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เหลือทิ้งจำนวนมากจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม มาใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตรูปแบบใหม่ ที่จะสามารถช่วยลดสัดส่วนของปูนซีเมนต์ที่ได้จากการระเบิดภูเขาหินปูน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาฝุ่นละออง ทำลายระบบนิเวศ นวัตกรรมนี้สามารถตอบโจทย์เทรนด์การออกแบบที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.บุรฉัตร กล่าว

ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ Facebook fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4