มจธ. จับมือ สวทช. ร่วมพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปั้นหลักสูตรนำร่อง ตอบยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมมุ่งยกระดับความรู้ความสามารถและทักษะในระดับนานาชาติ

พุธ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๔๖
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง นำร่องพัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนานักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ มจธ. ในสาขาที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการทำงานวิจัยเป็นหลักร่วมกับ สวทช. พร้อมยกระดับทักษะ ความรู้ ความสามารถ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในระดับนานาชาติ

การลงนามความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการร่วมกันในการพัฒนานักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยให้เป็นบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง ในสาขาที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ ภายใต้ขอบเขตของความร่วมมือ อาทิ การสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการ หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง เช่น การจัดเวทีหรือการประชุมระดับนานาชาติร่วมกัน การสนับสนุนให้นักศึกษาในโครงการได้เปิดโลกทัศน์ในระดับนานาชาติในระหว่างศึกษา การร่วมสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรปริญญาเอก โดยมุ่งเน้นการทำงานวิจัยเป็นหลักร่วมกับ สวทช. เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการวิจัยที่มีคุณภาพสูงในระดับนานาชาติ แลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ตลอดจนสนับสนุนเครือข่ายการวิจัยทั้งภาครัฐและ/หรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ให้เข้าร่วมในการพัฒนาและผลิตบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง

รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า "สวทช. และ มจธ. เป็นพันธมิตรที่ทำงานวิจัยและวิชาการร่วมกันอย่างใกล้ชิดมาอย่างยาวนาน โดยตั้งแต่ปี 2529 มจธ. และ สวทช. ได้ร่วมมือกันพัฒนาการวิจัยในสาขาต่างๆ เช่น สาขา Biochemical & Biofuel, Transportation, Automation และ Biopharmaceutical จึงนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มหาวิทยาลัย และ สวทช. จะขยายขอบเขตความร่วมมือออกไป โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดที่สำคัญของการที่อาจารย์ นักวิจัย ของทั้งมหาวิทยาลัย และ สวทช. จะร่วมมือกันพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพสูง ซึ่งมีผลกระทบสะท้อนไปสู่การเสริมความเข้มแข็งให้กับประเทศ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในเวทีโลก"

ด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า "สวทช. หน่วยงานวิจัยและพัฒนา และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาอย่างใกล้ชิดมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่ง สวทช. มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ และใช้จุดแข็งของ สวทช. ในด้านองค์ความรู้จากงานวิจัย ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมทั้งสนับสนุนบุคลากร ของ สวทช. ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความเชี่ยวชาญสูงในสาขาต่างๆ และงานวิจัยที่เป็นความสนใจร่วมกันทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้กับนักศึกษา ที่จะคอยดูแล เป็นพี่เลี้ยงช่วยบ่มเพาะศักยภาพด้านการวิจัยให้กับนักศึกษา นอกจากนี้ยังให้ความร่วมมือในด้านห้องปฏิบัติการวิจัย เครื่องมือ และอุปกรณ์การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และหน่วยวิจัยเครือข่าย เพื่อดำเนินงานวิจัยของนักศึกษาในโครงการ โดยเล็งเห็นว่าบุคลากรวิจัยคุณภาพมีส่วนสำคัญในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อประเทศชาติ ที่จะเสริมแกร่งด้าน วทน. ต่อไป"

มจธ. และ สวทช. จะขยายขอบเขตความร่วมมือภายใต้โครงการโครงการพัฒนาวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศทางด้านวิชาการเป็นเวลา 5 ปี ระหว่างวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภายใต้การดูแลและบ่มเพาะจากผู้เชี่ยวชาญของทั้ง 2 สถาบัน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและผลิตผลงานวิจัย หรือปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้และทักษะขั้นสูงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านความร่วมมือกันทั้งการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัย ตลอดจนร่วมกันจัดหาทรัพยากรวิจัย โดยโครงการพัฒนาวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง มจธ. และ สวทช. นั้น เป็นการสนับสนุนทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอกเป็นระยะเวลา 3 ปี และภายใต้เงื่อนไขที่ มจธ. กำหนด การลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ในครั้งนี้จึงนับเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง ถือเป็นการรองรับการดำเนินการภายใต้นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ ที่เรียกว่า "ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก" (Eastern Economic Corridor : EEC) และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation : EECi) ซึ่งจะมีส่วนในการพัฒนาเมืองและแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งเตรียมความพร้อมทางการแข่งขันเวทีโลกให้กับประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้