โซเซียลมีเดียมหันตภัยใกล้

พฤหัส ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๒๑
สังคมไทยต้องเผชิญความเสี่ยงกับภาวะซึมเศร้าจากการใช้สื่อโซเชียลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป

ปัจจุบันสื่อโซเชียลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกรวดเร็ว สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา และสื่อสารได้เสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่หากใช้โซเชียลมีเดีย หรือหมกมุ่นมากเกินไป อาจส่งผลกระทบให้ผู้ใช้เกิดพฤติกรรมเก็บตัว ไม่สุงสิงกับโลกภายนอก เกิดความรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวัง ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้

จากข้อมูลการวิจัย "ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โซเซียลมีเดียกับภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา" โดยทีมนักวิจัยได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามประชาชนชาวอเมริกัน ในปี 2014 จำนวน 1,787 ราย อายุระหว่าง 12-32 ปี พบว่า คนที่ติดการใช้งานโซเชียลมีเดียเกิน 58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีโอกาสที่จะเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวมากถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และถ้าใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสที่จะรู้สึกเหงามากกว่าปกติถึงสองเท่า นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยของ Edinburgh Napier University พบว่า เฟซบุ๊กเป็นสิ่งที่ทำให้คนเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้น จากการสำรวจนักศึกษา 200 คน เกี่ยวกับการเล่นเฟซบุ๊ก พบว่า กลุ่มคนที่มีเพื่อนในเฟซบุ๊กมากเสี่ยงต่อความเครียดและความรู้สึกหดหู่สูงกว่าคนที่มีเพื่อนในเฟซบุ๊กน้อยกว่า โดยผู้เล่นจะได้รับผลเชิงลบมากกว่าการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และครอบครัวในโลกของความจริง และยังพบว่าผู้ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตในปริมาณมากจะมีแนวโน้มอาการหดหู่ เหงา และโดดเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น สภาพจิตใจย่ำแย่ลง

นอกจากนี้ ผลงานวิจัย "ผลกระทบทางสุขภาพจิตของผู้ที่ติดสมาร์ทโฟนหรือเทคโนโลยีอย่างหนักนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลและโรคซึมเศร้า" จาก มหาวิทยาลัย Northwestern ใน ชิคาโก พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าและระยะเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟน ผลงานวิจัยพบว่า ระดับของอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณของเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟน ยิ่งการใช้ระยะเวลามากขึ้น ระดับของอาการซึมเศร้าก็จะมากขึ้นไปด้วย ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาของผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟน และมีอาการซึมเศร้าคือ 68 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่ไม่ได้มีอาการซึมเศร้า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาเพียงแต่ 17 นาทีต่อวันเท่านั้น

สำหรับประเทศไทย มีผลงานวิจัย"พฤติกรรมการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีกับภาวะสุขภาพใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี" เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการสื่อสารเทคโนโลยีกับภาวะซึมเศร้าของนักเรียน พบว่า การเสพติดการสื่อสารทั้งโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต มีผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นเดียวกับงานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของอินเตอร์เน็ตต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทยพบว่า ในกลุ่มเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ หากใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตมากเกินไปจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายและจิตใจตามมาได้

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารมีผลต่อสุขภาวะจิตใจของคนเราทั้งในทางบวกและลบ ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการปลูกฝังความมีวินัยในการใช้สื่อโซเชียล นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการประยุกต์ใช้สื่อโซเชียลให้กว้างมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมสุขภาวะทางจิตเมื่อเกิดการเสพติดสื่อโซเชียลมากเกินไป?

(ข้อมูลอ้างอิง: "ภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเซียล" โดย อังคณา ศิริอำพันธ์กุล วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ เดือนกรกฎาคม 2561)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ