มรภ.สงขลา จดอนุสิทธิบัตร 'ขนมกลีบลำดวนจากแป้งข้าวสังข์หยด’

จันทร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๖:๔๐
กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกอนุสิทธิบัตรขนมกลีบลำดวนจากแป้งข้าวสังข์หยด ผลงาน 2 อาจารย์คหกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา เผยช่วยเพิ่มมูลค่าพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จ.พัทลุง ชี้คุณค่าทางสารอาหารสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคความจำเสื่อม

อาจารย์ฐิติมาพร หนูเนียม ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกอนุสิทธิบัตรให้กับผลงานการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ขนมกลีบลำดวนจากแป้งข้าวสังข์หยด จัดทำโดยตนและ ผศ.วิภาวรรณ วงศ์สุดาลักษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ขนมกลีบลำดวนที่มีกลิ่นและรสชาติของแป้งข้าวของไทย เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทย และเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่ข้าวสังข์หยด ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมใน จ.พัทลุง อีกทั้งยังมีคุณค่าทางสารอาหารสูง โดยเฉพาะใยอาหาร โปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัส ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการขับถ่าย บำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและป้องกันโรคความจำเสื่อม และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ

อาจารย์ฐิติมาพร กล่าวว่า พวกตนจึงมีแนวคิดในการนำข้าวสังข์หยด ซึ่งจัดเป็นพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของทางภาคใต้ นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวพื้นเมืองของท้องถิ่น เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับชุมชน การประยุกต์ใช้แป้งข้าวสังข์หยดในผลิตภัณฑ์ขนมกลีบลำดวนเป็นการส่งเสริมการบริโภคขนมไทยโบราณให้แพร่หลายมากขึ้น สร้างช่องทางของอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้บริโภค ช่วยส่งเสริมพืชเศรษฐกิจ และอนุรักษ์ขนมไทยโบราณให้ คงอยู่ เป็นที่รู้จักของคนรุ่นหลัง

ด้าน ผศ.วิภาวรรณ วงศ์สุดาลักษณ์ กล่าวว่า ขนมกลีบลำดวนเป็นขนมไทยที่มีมาแต่โบราณ นิยมใช้ในงานพิธีมงคล และเป็นของฝากในเทศกาลต่างๆ ขั้นตอนการผลิตต้องใช้ความละเอียดอ่อนประณีต ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบและวิธีการทำ จึงทำให้มีการผลิตจำหน่ายไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก ส่วนผสมหลักในการทำขนมกลีบลำดวนคือแป้งสาลี โดยข้าวสาลีนั้นจะปลูกได้ดีเฉพาะในประเทศแถบหนาว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส่วนสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยปลูกข้าวสาลีได้บ้าง แต่คุณภาพยังไม่สม่ำเสมอ และปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศในปริมาณและมูลค่าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

ผศ.วิภาวรรณ กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์ขนมกลีบลำดวนจากแป้งข้าวสังข์หยด มีส่วนประกอบหลักคือ แป้งข้าวสังข์หยด น้ำตาลทรายป่น เกลือป่น และน้ำมันพืช ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตหลัก 4 ขั้นตอน ตั้งแต่การนำแป้งข้าวสังข์หยด น้ำตาลทรายป่น และเกลือป่น ร่อนด้วยตะแกรงร่อนแป้งให้เข้ากัน การนำน้ำมันพืชค่อย ๆ ใส่ในส่วนผสมที่ร่อนไว้ นวดจนเข้ากัน ปั้นก้อนได้ การนำแป้งที่นวดเข้ากันแล้ว มาแบ่งเป็นก้อนทรงกลม เพื่อขึ้นรูปเป็นขนมกลีบลำดวน และการนำแป้งที่ขึ้นรูปแล้ว เข้าอบด้วยเตาอบขนมไฟฟ้า โดยมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนมาก สามารถผลิตได้ทั้งในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ทั้งนี้ นอกเหนือจากผลงานการประดิษฐ์ขนมกลีบลำดวนจากแป้งข้าวสังข์หยดแล้ว ทางหลักสูตรฯ ยังได้จัดส่งผลงานอื่นๆ อีกกว่า 10 เรื่อง เข้ารับการจดทะเบียนคุ้มครองผลงานวิจัยจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ 1. ซอสบูดูสำหรับข้าวยำในรูปแบบขนมครกญี่ปุ่น 2. ข้าวยำในรูปแบบขนมครกญี่ปุ่น 3. แยมจากจำปาดะ 4. ขนมทองพับจำปาดะ 5. ขนมหม้อแกงจากเมล็ดจำปาดะ 6. เค้กชิฟฟ่อนจำปาดะ 7. ข้าวเกรียบถั่วขาว 8. ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบรสข้าวยำเครื่องแกง 9. ขนมจำปาดะ 10. กรอบเค็มจากแป้งข้าวสังข์หยด 11. ลูกชิ้นไก่รสไก่ตุ๋น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital