ป.ป.ช. และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หาแนวทางในการร่วมมือทำงานต่อต้านการทุจริต

ศุกร์ ๐๑ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๑๐
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้บริหารองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT เข้าร่วมหารือข้อราชการกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับแนวทางในการร่วมมือทำงานต่อต้านการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ในประเด็นที่สำคัญดังนี้

1. การเสริมพลังทุกภาคส่วนในการต่อสู้กับปัญหาการทุจริต ผ่านกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และสนับสนุนภาคเอกชนในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์/รณรงค์ในการป้องกันการทุจริต รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีมาตรการคุ้มครองช่วยเหลือและค่าทดแทน ผู้กล่าวหา ฯลฯ และค่าใช้จ่ายอื่นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

2. การสนับสนุนข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอย่างเพียงพอเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น สถิติคดี รูปแบบและกลวิธีการทุจริตรูปแบบต่างๆ ข้อมูลของผลกระทบหรือความเสียหาย การชี้มูลความผิด และโทษที่ผู้กระทำผิดต้องได้รับ รวมทั้งความรู้ที่จำเป็นต่าง ๆ ต่อการป้องกันการทุจริต

3. ภายใต้กฎหมายใหม่ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงบริบทการทำงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. มีความรวดเร็ว เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะการพิจารณาคดีต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อกฎหมายและพยานหลักฐานเป็นสำคัญ อันเป็นการสร้างศรัทธา และความน่าเชื่อถือต่อประชาชน

4. การขับเคลื่อนงานปราบปรามการทุจริตคู่ขนานไปกับงานป้องกันการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตผ่านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา การออกมาตรการป้องกันการทุจริต เช่น ค่าแป๊ะเจี๊ยะ การติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะ เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ฯลฯ หากงานป้องกันการทุจริตได้ผลดีจะส่งผลให้งานปราบปรามการทุจริตลดลงและมีการทำงานเชิงคุณภาพมากขึ้น

5. ภาคเอกชนมีความตื่นตัวและความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ ได้แก่ กระบวนการสัญญาคุณธรรม (Integrity Pact) กรณีการจัดซื้อจัดจ้างมูลค่าสูง

6. ควรมีการเปิดเผยข้อมูลและการสื่อสารผลงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ให้สาธารณชนได้รับทราบ ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริต เพื่อให้มีคนดีและเข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ