น้ำเพชร’ มหาบัณฑิตนิติศาสตร์สุดเจ๋ง จบป.ตรี อายุ 18 คว้าป.โท อายุ 21

จันทร์ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๐๐
มหาบัณฑิตนิติศาสตร์ คว้าปริญญาโทอายุ 21 ปี เริ่มต้นเส้นทางกฎหมายตั้งแต่ ม.4 ในระบบ Pre-degree คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เตรียมเดินหน้าเรียนต่อเนติฯทันที มุ่งเป้าหมายสู่การเป็นผู้พิพากษา

นางสาวประวีณ์ธิดา จารุนิล หรือน้ำเพชร เริ่มเรียนปริญญาโทคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามรำแหง หลังเรียนจบปริญญาตรีตอนอายุ 18 ปีทันที โดยมีความชื่นชอบด้านกฎหมายมาตั้งแต่เด็ก วางเป้าหมายชีวิตของตัวเองอย่างชัดเจนในการสอบเป็นผู้พิพากษา

"เพชรเข้าเรียนระบบ Pre-degree คณะนิติศาสตร์ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รับคำแนะนำจากคุณพ่อ ซึ่งกฎหมายมีความสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน มีความกว้างขวางและมั่นคงในหน้าที่การงาน การเริ่มต้นเก็บสะสมหน่วยกิตปริญญาตรีล่วงหน้าตั้งแต่ชั้นมัธยม ช่วยย่นระยะเวลาให้เรียนจบเร็ว มีเวลาอ่านเพิ่มเติม และมีเวลาศึกษามากยิ่งขึ้น"

การเรียนปริญญาตรีและการเรียนปริญญาโท ความยากง่ายแตกต่างกันตรงที่เรียน ป.โทนั้นยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ต้องอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีเวลาว่างก็ท่องตัวบทกฎหมายและประมวลกฎหมายเป็นประจำ ศึกษาเพิ่มเติม ทุ่มเทให้กับการเรียนมากขึ้น เพชรเข้าเรียนทุกคาบ ทุกวิชา ไม่เคยขาด อ่านเพิ่มเติมทุกครั้งหลังจบคลาส ทบทวนทันที หากมีข้อสงสัยก็จะถามอาจารย์ให้เข้าใจ

"สิ่งสำคัญที่สุดของการเรียนให้ประสบความสำเร็จสำหรับเพชรคือ การแบ่งเวลา เพชรอ่านหนังสือเยอะ แต่ไม่ได้อ่านตลอดเวลา มีช่วงเวลาที่เรียนและช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย หลักในการเรียนกฎหมายให้เก่งคือ จำได้ เข้าใจ ใช้เป็น จำได้ คือ จำตัวบทกฎหมายให้ได้ เข้าใจ คือ สามารถเข้าใจและตีความตัวบทกฎหมายได้ และใช้เป็น คือ การนำมาปรับกับข้อเท็จจริงได้"

มหาบัณฑิตน้ำเพชร บอกอีกว่าการได้เรียนในห้องเรียนปริญญาโทที่มีแต่คนอายุมากกว่า ทำให้เรามีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นผ่านการแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน หลังจากนี้ตั้งใจจะเรียนเนติบัณฑิตยสภา หลังจบเนติฯแล้วค่อยคิดเรื่องการทำงาน และรอสอบเป็นผู้พิพากษาตอนอายุ 25 ปี ซึ่งเป็นอาชีพที่ใฝ่ฝันเพราะเห็นว่าเป็นอาชีพอันทรงเกียรติ และเป็นอาชีพที่มอบความยุติธรรมให้กับสังคม

"การเรียนระบบ Pre-degree เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาที่ได้ค้นหาความชอบและความต้องการของตัวเอง ช่วยย่นระยะเวลาในการเรียนระดับปริญญาตรี สามารถนำเวลาที่เหลือไปต่อยอดหรือทำสิ่งอื่นๆ ที่สนใจได้มากขึ้น นอกจากนี้การมีเป้าหมายชัดเจนว่าอยากทำอะไร อยากเป็นอะไร จะทำให้เราวางแผนชีวิตตัวเองได้ชัดเจนขึ้น ยิ่งหากเรามีความมุ่งมั่นกับเส้นทางที่วางไว้ จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน"

ทั้งนี้ นางสาวประวีณ์ธิดา จารุนิล จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 18 มีนาคม 2562 (คาบเช้า) ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

สำหรับการเรียนระบบ Pre-degree ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้ที่มีวุฒิ ม.3 สามารถสมัครเรียนปริญญาตรีเพื่อสะสมหน่วยกิตล่วงหน้าพร้อมๆ กับการเรียนสายสามัญ สายอาชีวะ หรือ กศน. เมื่อเรียนจบ ม.6 หรือเทียบเท่าแล้ว เพียงสมัครเรียนเป็นนักศึกษาปกติพร้อมเทียบโอน เรียนต่ออย่างน้อย 1 เทอม เมื่อสะสมหน่วยกิตครบหลักสูตรแล้ว ก็สามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ก่อนใคร และยังเป็นการค้นหาตัวตนและความชอบของตัวเองผ่านการเรียนปริญญาตรีล่วงหน้าอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ