เกษตรกรเลี้ยงหมูขอบคุณ รมว.เกษตรฯ ดันแผนเตรียมความพร้อมรับมือ ASF เป็นวาระแห่งชาติ สำเร็จ

พฤหัส ๑๑ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๑:๓๓
เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศขอบคุณ รมว.เกษตรและสหกรณ์ หลังครม.อนุมัติแผนใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) วงเงิน 148,542,900 บาท ในปีงบฯ 2562-2564 เชื่อว่าจะทำให้การป้องกันโรคที่รัดกุมอยู่แล้วสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศทั้งเกษตรกรรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ ต่างยินดีและขอขอบคุณ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ผลักดันแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรค ASF ให้แป็นวาระแห่งชาติได้เป็นผลสำเร็จ และถือว่ามติครม. ดังกล่าวนี้ ออกมาได้ทันสถานการณ์ เนื่องจากขณะนี้ใกล้เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ขณะที่แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะกลับสู่ประเทศของตนเอง และเมื่อหลังสงกรานต์ ต้องกลับเข้ามาทำงานยังประเทศไทยใหม่ ก็อาจจะมีโอกาสนำเชื้อก่อโรคนี้เข้ามาได้ ซึ่งการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโดยอาศัยกำลังเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการยกระดับเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ จึงช่วยให้รัฐบาลสามารถบูรณาการกับหน่วยงานทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และอื่นๆ ช่วยกันดูแลตามแผนที่กำหนดไว้ได้ดียิ่งขึ้น

"การที่ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณเพื่อรับมือโรค ASF เป็นการช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคดังกล่าวแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงทั้งประเทศและอุตสาหกรรมสุกรของไทย ที่จะสามารถป้องกันโรคร้ายแรงในสุกรนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยสร้างความมั่นใจให้ทุกฝ่ายทั้งผู้เลี้ยงสุกรและผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่อุตสาหกรรมแปรรูปสุกร อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ และเกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ ซึ่งถือเป็นความใส่ใจของกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องการปกป้องเกษตรกรอย่างถึงที่สุด และเกษตรกรหวังอย่างยิ่งที่จะทำให้ไทยเป็นประเทศที่หลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ของโรคนี้" นายสิทธิพันธ์ กล่าว

แม้ว่า ASF ไม่ได้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่เป็นโรคระบาดร้ายแรงในสุกร ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและควบคุมโรค เชื้อโรคทนทานในผลิตภัณฑ์จากสุกรและสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต และสุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100% ซึ่งตามแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรค ASF ได้กำหนดมาตรการชดเชยหากต้องทำลายสุกรที่เป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากจะทำให้เกษตรกรรายย่อยให้ความร่วมมือในการแจ้งเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดโรคในฟาร์ม เพราะมั่นใจได้ว่าจะไม่ขาดทุน ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีแผนแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคดังกล่าวในระดับชาติแล้ว กรณีเลวร้ายที่สุดอาจเกิดโรคในฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ใกล้ชายแดน แต่เมื่อทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ เชื่อว่าจะไม่เกิดการระบาดเป็นวงกว้างอย่างแน่นอน.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4